ปราจีนบุรี-ฝนชุกชาวบ้านหาเก็บเห็ดผึ้งยูคาหรือเห็ดตับเต่าขายแก้จนขายในราคากิโลกรัมละ 100 บาท ได้วันละ500บาท

ปราจีนบุรี-ฝนชุกชาวบ้านหาเก็บเห็ดผึ้งยูคาหรือเห็ดตับเต่าขายแก้จนขายในราคากิโลกรัมละ 100 บาท ได้วันละ500บาท

ภาพ-ข่าว:มานิตย์ สนับบุญ /ทองสุข สิงห์พิมพ์

           เมื่อเวลา 14.35 น.วันนี้ 18 เม.ย.68 ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.ปราจีนบุรี ได้รับแจ้งจากชาวบ้าน ต.กรอกสมบูรณ์ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี และ สาวฉันทนา พาหลังที่มีฝนฤดูร้อนตกติดติดกันและสภาพอากาศอบอ้าว ชาวบ้านได้กันออกหาเก็บเห็ดยูคาหรือเห็ดผึ้งขมหรือ เห็ดตับเต่าขาย ทัเงนำไปประกอบยอาหารและสร้างรายได้ในครัวเรือน โดยออกจากบ้านมาเก็บเห็ดยูคาในป่ายูคาลิปตัสข้างหมู่บ้านตั้งแต่ตีห้า (05.00น.)
            โดยใช้ไฟฉายส่องหาดอกเห็ดที่ขึ้นเองโดยธรรมชาติหลังจากฝนตก การที่ออกมาหาเก็บเห็ดก่อนสว่างจะได้เห็ดเยอะกว่าเพื่อนบ้าน เพราะชาวบ้านทั่วไปจะออกมาหาเก็บเห็ดเวลา 2 โมงเช้า(08.00น.) เวลานี้จะมีเพื่อนบ้านออกมาหากันเยอะ ซึ่งแต่ละคนออกมาหาเก็บเห็ดในระยะแรกๆแบบนี้เฉลี่ยจะได้เห็ดคนละ 1-2 กิโลกรัม แต่บางคนออกมาก่อนรุ่งสางจะเก็บเห็ดได้เยอะกว่าใครเพื่อน หลายคนได้คนละ 10-40 กิโลกรัม จะแบ่งประกอบอาหารในครัวเรือน ส่วนหนึ่ง ที่เหลือจะขายให้กับพ่อค้าทั่วไปหรือเพื่อนบ้านที่อยากกินแกงเห็ด
            นายวสันต์ ศรีทอง ชาวบ้านหมู่ที่ 3 ต.กรอกสมบูรณ์ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี เป็นอีกคนหนึ่งที่ออกมาหาเก็บเห็ดตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้วโดยจะออกมาหาเก็บเห็ดทุกวัน เห็ดที่ได้จากแบ่งไว้ประกอบอาหารในครัวเรือนเล็กน้อย ที่เหลือจะขายสร้างรายได้ดีทุกวัน โดยจะนำเห็ดที่เก็บได้ไปทำความสะอาดแล้วบรรจุใส่ถุงขายให้กับพ่อค้าทั่วไปและเพื่อนบ้าน ซึ่งขายในราคากิโลกรัมละ 100 บาท แต่ถ้ามีเพื่อนบ้านซื้อที่ป่ายูคาฯจะแบ่งขายให้กิโลกรัมละ 50 บาท ในแต่ละวันจะเก็บเห็ดได้วันละ12-14กิโลกรัม 5 วันที่ผ่านมาจะได้เห็นไม่ต่ำกว่า 10 กิโลครับ วันนี้ได้เห็ดประมาณ 8 กิโลกรัมซึ่งจะเอาไปบรรจุใส่ถุงขายให้คนที่นิยมกินเห็ดขม ซึ่งในระยะนี้มีรายได้จากการขายเห็ดไม่ต่ำกว่าวันละ 500 บาท ซึ่งจะออกหาเก็บเห็ดขายได้อีกประมาณเดือนครึ่ง เห็ดยูคาก็จะลดน้อยลง
             ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติม ข้อมูลจากศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร ระบุว่า เห็ดผึ้งยูคาชื่อสามัญ เห็ดตับเต่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Tylopilus plumbeoviolaceus ชื่อวงศ์ BOLETACEAE ลักษณะทั่วไป นำมารับประทานได้ ลักษณะทางกายภาพพบในบริเวณที่ชื้น อุณหภูมิ 31 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 92% มีค่าพีเอช 7ความเข้มแสง 1,862 Lux หลังฝนตกหนัก 2-3 วัน และอากาศร้อนอบอ้าว พบตลอดในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
            ลักษณะการเกิด ขึ้นเป็นดอกเดี่ยวหรือกลุ่มบนพื้นดินในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ลักษณะสัณฐานวิทยา หมวกเห็ด โค้งนูนรูปกระทะคว่ำ สีเทาอมม่วงอ่อน เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร ดอกอ่อนมีขนคล้ายกำมะหยี่ เนื้อสีขาวสานกันแน่น เมื่อฉีกขาดหรือช้ำไม่เปลี่ยนสี ด้านล่างของหมวกมีรูเล็กๆ สีขาวนวลขอบหนา ปากรูเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกันและชิดติดกับก้าน เมื่อดอกบานเต็มที่รูเปลี่ยนไปเป็นสีชมพูอ่อนอมน้ำตาล ก้านสีเดียวกับหมวกยาว 5 เซนติเมตรเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร โคนโป่งเป็นกระเปราะ เมื่อเป็นดอกอ่อนบนก้านมีลายสีน้ำตาลอ่อนสานกันแบบตาข่ายห่างๆลักษณะสปอร์มีสีชมพูน้ำตาลอ่อน

CATEGORIES
Share This
error: Content is protected !!