หนองคาย-เปิดตำนาน ดินแดนศักด์สิทธิ์ เมือง พญานาค

หนองคาย-เปิดตำนาน ดินแดนศักด์สิทธิ์ เมือง พญานาค

ภาพ/ข่าว:พฤตินัย มั่งสวัสดิ์ ผู้สื่อข่าวภูมิภาคประจำจังหวัดอุดรธานี,ทีมตระเวนข่าว หนองคาย
ขอบคุณข้อมูล:น.พ.สรร สุนทรธนากุล อดีต นายกเทศมนตรีเทศบาลโพนพิสัย พร้อมทีมงาน

                      ตำนานเมืองพญานาคราช ลุ่มน้ำโขง ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ มาแต่โบราณกาล เชื่อกันว่า โพนพิสัย ในปัจจุบัน คือ ปากถ้ำพญานาคา นาคี

                    เรื่องเล่าในอดีตกาล เล่าขานสืบต่อกันมาว่า เมืองปากห้วยหลวง 3 กษัตริย์ บริเวณที่ตั้งอำเภอโพนพิสัยปัจจุบัน เป็นเมืองเก่าตามพงศาวดารล้านช้างเรียกว่า “เมืองปากห้วยหลวง” พ.ศ.1901 พระเจ้าฟ้างุ้มมหาราช เริ่มก่อตั้งอาณาจักรล้านช้าง และตีเมืองนี้ได้ และมีฐานะเป็น “เมืองหลวง” ซึ่งส่งเจ้าชายในราชวงศ์ล้านช้างมาครองเป็น “พญาปากห้วยหลวง” บางพระองค์ได้มีโอกาสไปครองราชย์ที่ “เชียงทอง” ถึง 2 พระองค์ด้วยกัน คือ หลังจากพระเจ้าสามแสนไทสวรรคต พ.ศ.1958 แล้ว พระเจ้าคำแดงโอรสได้ครองราชย์ต่อถึง พ.ศ.1970 จึงสวรรคตโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่โบราณราชประเพณีไทย-ลาว สตรีจะครองราชย์ไม่ได้ “เจ้าคำเต็มพญาปากห้วยหลวง” พระสวามีเจ้าหญิงจึงครองแทนพักหนึ่ง แล้วหนีกลับเมืองปากห้วยหลวงดังเดิม
                     เจ้าหญิงแก้วพิมพาซึ่งมีอำนาจมากในราชสำนักได้เชิญเจ้านายในราชวงศ์ครองราชย์ต่อหลายพระองค์ ระหว่าง พ.ศ.1971-1980 ครั้นจะบรรลุพระราชนิติภาวะก็มีเหตุสวรรคตติด ๆ กันถึง 5-6 พระองค์ จนมาเชิญ “เจ้าคำเกิด” โอรสพญาปากห้วยหลวง (คาดว่าเป็นโอรสพระเจ้าคำเต็มจากชายาอื่น) ไปครองราชย์อีกและสวรรคต พ.ศ.1983 อีก คราวนี้พระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดีทนไม่ไหว จับพระนางแก้วพิมพาถ่วงแม่น้ำคาน ทางเหนือนครหลวงพระบางเสียและเชิญเจ้าไชยครองราชย์ “พระเจ้าไชยจักรพรรดิ์แผ่นแผ้ว” สืบมา
                     ต่อมา เมืองปากห้วยหลวง เกิดช้างเผือกอีกเชือกหนึ่ง เมื่อหลังสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 1 มหาราช พ.ศ.2114 พระเจ้าบุเรงนองผู้ชนะสิบทิศพิชิตเวียงจันทน์ ได้นำพระหน่อแก้ว ราชโอรสไปเมืองหงสาวดีเป็นตัวประกัน พระชันษาเพียง 5 ปี แล้วให้ตาสำเร็จราชการล้านช้างแทน จารึกว่า “พระยาแสนสุรินทร์ขว้างฟ้าสุมังโดอัยโกโพธิสัตว์” อดีตพระยาปากห้วยหลวง พงศาวดารว่าท่านเป็นบุตรกวานบ้านฝั่งขวา (ผู้ใหญ่บ้าน) รับราชการทหาร รบเก่งและคงถวายบุตรสาวเป็นสนมด้วย
                   ดังนั้นที่ชาวหนองคายเชื่อกันมาจึงมิใช่เรื่องเหลวไหล โดยนางสนม (ไม่ทราบ) อาจมีพระราชธิดาโอรส 4 พระองค์ คือ “พระสุก พระเสริม พระใส” ซึ่งสร้างฉลองพระองค์ ส่วนองค์สุดท้ายคือพระราชโอรสชันษา 5 ปี “พระหน่อแก้ว” พม่าจึงต้องให้ตาสำเร็จราชการให้หลานจึงมี “อัยโก” (ตา) ต่อท้าย นับว่าพญาปากห้วยหลวงเป็นกษัตริย์ล้านช้าง (หลวงพระบาง) 2 พระองค์ และผู้สำเร็จราชการ (เวียงจันทน์) อีก 1 ท่าน รวม 3 กษัตริย์
                     นักประวัติศาสตร์จำเป็นต้องรู้อักษรโบราณต่าง ๆ ประกอบด้วย โดยเฉพาะศิลาจารึกซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญเถียงไม่ได้ คือ จารึก “วัดแดนเมือง 1” ตำบลวัดหลวงใบเสมาหินทรายยอดเหลี่ยมสูง 0.98 เมตร กว้าง 0.49 เมตร มีดวงฤกษ์ด้านบน เป็นอักษรไทยน้อย (ล้านช้าง) รุ่นแรก ด้านหนึ่ง 22 บรรทัด (ชำรุดบ้าง) ระบุว่าพระยาปากเจ้า (ปากห้วยหลวง ซึ่งต่อมาคือพระยาแสนสุรินทร์ฯ ผู้สำเร็จราชการฯ) เป็นผู้สร้างวัดนี้ พ.ศ.2073 ธรรมเนียมโบราณจะมีวัดประจำตระกูลที่เกิด นั่นคือ ท่านเกิดที่นี่นั่นเอง (เสียดายที่วัดได้โบกปูนใต้ฐานพระประธานแล้ว)
(โปรดติดตาม ตอนที่ 2 )

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
TAGS
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!