ปทุมธานี-แพทย์ มธ.เปิดกลุ่มไลน์ให้คำปรึกษาช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหืดที่ติดโควิด

ปทุมธานี-แพทย์ มธ.เปิดกลุ่มไลน์ให้คำปรึกษาช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหืดที่ติดโควิด

ภาพ/ข่าว:อนันต์  วิจิตรประชา

แพทย์ มธ.เปิดกลุ่มไลน์ให้คำปรึกษาช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหืดที่ติดโควิด

                      วันที่ 18 กรกฎาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาสตราจารย์แพทย์หญิงอรพรรณ โพชนุกูล นายกสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย และผอ.ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคระบบหายใจ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้โพสประชาสัมพันธ์ผ่านเฟสบุคส่วนตัวชื่อ “Asthma Talks by Dr.Ann” เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหืดที่ติดโควิด
                    จากสถานการณ์ปัจจุบันที่มี จำนวนผู้ป่วยโควิดเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก ยังไม่มีทีท่าที่จะดีขึ้นในเร็ววันนี้ และเริ่มจะมีมาตรการในการทำ Home Isolation มากขึ้น ทาง ศาสตราจารย์แพทย์หญิงอรพรรณ โพชนุกูล หรืออาจารย์แอน พร้อมด้วยทีมงานจาก TU-CAAP และสถาบันพลาสติก ได้จัดตั้งโครงการ “สู้โควิด พิชิตโรคหืด” เพื่อเป็นการช่วยเหลือ ผู้ป่วยโรคหืดและภูมิแพ้ ที่เป็นโควิด เพื่อให้เข้าถึงการรักษาในเบื้องต้น และสามารถ ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรง ผ่านทาง line official โดยพิมพ์ Line ID @843sswop ที่จัดทำขั้นมาโดยเฉพาะเพื่อให้กับผู้ป่วยโรคหืดและภูมิแพ้ที่เป็นโควิดทั่วประเทศ ได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญได้ตลอด 24 ชั่วโมง
                   นอกจากนี้ ศาสตราจารย์แพทย์หญิงอรพรรณ โพชนุกูล ได้โพสคำแนะนำการดูแลคนไข้โรคหืด และโรคภูมิแพ้ในช่วงโควิด-19 ระบาดรุนแรงในขณะนี้ สิ่งที่ผู้ป่วยควรปฏิบัติประกอบด้วย 1.สำหรับโรคหืด แนะนำดังนี้ งดการเป่าทุกชนิด เช่น spirometry, peak flow meter, exhaled nitric oxide เพราะทำให้เชื้อแพร่กระจายได้ แนะนำให้คนไข้ซื้อ peak flow ส่วนตัวแล้วเป่าที่บ้านทุกวัน การรักษาหืดกำเริบใน รพ. ให้งดพ่นยาชนิด nebulization ให้ใช้ MDI with spacer หากต้องให้ออกซิเจน มีชนิดที่มีท่อต่อให้ออกซิเจน (Thai kit spacer) แต่ให้เปิด low flow ไม่เกิน 3 ลิตรต่อนาที หรือ พ่น nebulization ในห้อง negative pressure คนไข้โรคหืดแนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เหมือนเดิม แต่ห่างจากวัคซีนโควิดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ช่วงนี้ให้ใช้ยาเหมือนเดิมไปก่อนนะคะ ไม่ควรลดหรือหยุดยา และถ้าคนไข้ไม่มีอาการกำเริบแนะนำให้นัดห่างเป็นทุก 6 เดือนได้คะ และส่งยาไปที่บ้าน นอกจากนี้ควรสอน asthma action plan คนไข้ทุกคน สามารถดูในแอปพลิเคชั่น asthma care application สามารถดาวน์โหลดได้ทั้ง ios และ android หรือ Line@AsthmaTalk
2.สำหรับโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) ให้คัดกรองโรคด้วยอาการ “จมูกไม่ได้กลิ่นหรือได้กลิ่นลดลง” เพราะว่าอาการจมูกไม่ได้กลิ่นพบได้บ่อยในคนที่ติดเชื้อโควิดมากกว่าคนปกติถึง 27 เท่า เมื่อเทียบกับคนไม่ได้ติดเชื้อ ซึ่งต่างจากไข้ที่เราตรวจคัดกรองทุกวันพบได้มากกว่าเพียง 2.5 เท่า แต่อาการจมูกไม่ได้กลิ่นจากติดเชื้อจะเกิดขึ้นเฉียบพลัน ซึ่งต่างจากภูมิแพ้จมูกที่อาจทำให้จมูกไม่ได้กลิ่นได้ แต่อาการจะค่อยเป็นค่อยไป และมักพบในคนที่เป็นไซนัสอักเสบที่มีริดสีดวงจมูกมากกว่า  ช่วงนี้ให้คงการรักษาเดิม ไม่ลดหรือหยุดยาโดยไม่จำเป็น เพราะอาจทำให้โรคภูมิแพ้กำเริบ ซึ่งอาการหลายอย่างก็คล้ายโควิด เช่น คัดจมูก เจ็บคอ หากจมูกไม่ได้กลิ่นจากโควิดการพ่นจมูกสเตียรอยด์จะไม่ช่วย อาการจะหายเองใน 7-10 วัน แต่จมูกไม่ได้กลิ่นจากภูมิแพ้หายด้วยยาสเตียรอยด์พ่นจมูก คนไข้ที่ได้รับการรักษาด้วยวัคซีนภูมิแพ้ชนิดฉีด (immunotherapy) แนะนำให้ฉีดยาห่างไป 1-2 สัปดาห์ของตารางนัดเดิม เช่น ในช่วง maintenance ที่ฉีดทุก 4 สัปดาห์ ให้เลื่อนเป็นทุก 6 สัปดาห์ กรณีเพิ่งเริ่มฉีดทุก 1 สัปดาห์ให้เลื่อนเป็นทุก 2 สัปดาห์ และช่วงรับวัคซีนภูมิแพ้ สามารถรับวัคซีนโควิดได้ แต่ให้ห่างกันอย่างน้อยสองวัน ลดการทำหัตถการที่ไม่จำเป็น เช่น ถ้าจะทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง ให้เปลี่ยนเป็นเจาะเลือดจะดีกว่า ยกเว้นไม่สามรถเจาะได้ งดทำ nasal provocation test และใช้วิธีรักษาแบบทางไกล โดยคุยกันแล้วส่งยาที่บ้าน
3.สำหรับโรคลมพิษเรื้อรัง (Chronic urticaria) ในคนที่เป็นลมพิษเรื้อรังมักคันง่าย แนะนำให้ทานยาแก้แพ้ทุกวันไปก่อนนะคะ และควรทานในวันที่ไปรับวัคซีนด้วยคะ หรืออาจเพิ่มยาอีกเม็ดในวันรับวัคซีนโควิดก็ได้
ข้อมูลการศึกษาทั่วโลกรวมถึงในไทยพบว่า คนไข้ที่เป็นโควิดรุนแรง อาจทำให้ลมพิษกำเริบได้ง่าย ถ้ามีอาการก็ปรับยาเพิ่มได้ตามปกติ โดยให้ยาต้านฮีสตามีนเพิ่มขนาดเป็น 4 เท่าได้

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
TAGS
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!