ปทุมธานี-วิกฤตจนหมอต้องเลือกยื้อชีวิต รพ.ธรรมศาสตร์เลือกไม่ใส่ท่อช่วยหายใจผู้ป่วยโควิด

ปทุมธานี-วิกฤตจนหมอต้องเลือกยื้อชีวิต รพ.ธรรมศาสตร์เลือกไม่ใส่ท่อช่วยหายใจผู้ป่วยโควิด

ภาพ/ข่าว:อนันต์  วิจิตรประชา

วิกฤตจนหมอต้องเลือกยื้อชีวิต รพ.ธรรมศาสตร์เลือกไม่ใส่ท่อช่วยหายใจผู้ป่วยโควิด

                     เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 23 กรกฎาคม 2564 ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคอลงหลวง จังหวัดปทุมธานี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้ชี้แจงกรณี โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ออกประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาไม่ใส่ “ท่อช่วยหายใจ” (Withholding Intubation) สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยระบุว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เข้าขั้นวิกฤต อย่างรุนแรง ส่งผลให้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่มีจำนวนมากขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ (Withholding Intubation) ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 สำหรับการให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เข้าให้สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานการให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติในสภาวการณ์ปัจจุบันนี้
                    ในสถานการณ์ที่มีทรัพยากรในการรักษาจำกัด แพทย์ผู้รักษาพิจารณาไม่ใส่ “ท่อช่วยหายใจ” หรือให้คำปรึกษาเพื่อการไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ และมุ่งเน้นการรักษาแบบประคับประคอง (palliative care) ให้แก่ “ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19” โดยแบ่ง 2 กรณี ดังนี้ กรณีที่ 1 ผู้ป่วยมีการแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้า ผู้ป่วยมีการแสดงเจตนาโดยวาจาหรือโดยลายลักษณ์อักษร (advance directive หรือlivi will) ไม่ประสงค์ให้ใส่ “ท่อช่วยหายใจ” หรือมีการประชุมครอบครัวร่วมกับผู้ตัดสินใจแทน (surrogate decision maker) แล้วมีข้อสรุปไม่ประสงค์ใส่ท่อช่วยหายใจ
                    กรณีที่ 2 ผู้ป่วยไม่ได้มีการแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้า แพทย์ผู้ดูแลพิจารณาไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ เมื่อมีผู้ป่วยมีลักษณะอย่างน้อย 2 ข้อจาก 4 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1.อายุมากกว่า 75 ปี 2.Charlson Comorbidity Index (CCI) > 4 โดยมีการให้คะแนนโดยแพทย์ผู้ดูแลพิจารณา 3. Clinical Frailty Scale (CFS) ซึ่งมีความหมาย แพทย์ผู้ดูแลพิจารณาภาวะเปราะบางระดับรุนแรง และ 4. เป็นผู้ป่วยระยะท้าย (end-of life)

                   ด้าน รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผอ.รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อที่ล้นเกิน ทรัพยากรภายในโรงพยาบาล โดยเฉพาะห้อง ICU มีความจำกัดเป็นอย่างมาก เราไม่สามารถรับผู้ป่วยได้หากห้อง ICU ยังคงมีผู้ป่วยนอนอยู่ ทุกท่านจะเห็นตรมสื่อว่ามีโรงพยาบาลบางแห่งที่มีผู้ป่วยนอนอยู่บริเวณหน้าโรงพยาบาลมากกว่า 10 เตียง ทำให้ทางการแพทย์หรือว่าทางโรงพยาบาลมีความยากลำบากในการจัดการผู้ป่วยที่มีความต้องการการดูแลรักษาอย่างมาก ถือว่าเป็นวิกฤตทางการแพทย์ หากเราสามารถบริหารจัดการตรงนี้ได้ เราจะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยที่ต้องการเตียงหรือผู้ที่สามารถดูแลรักษาต่อไปได้ ถือว่าเป็นบริบทหนึ่งในเรื่องการดูแลแบบประคับประคองไม่ใช่แค่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเท่านั้นที่เผชิญวิกฤตจำนวนผู้ป่วยที่ล้นเต็มไปแล้ว โรงพยาบาลต่าง ๆ ได้ประสบปัญหาแบบเดียวกัน การที่เราให้ผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลได้โดยที่ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยได้เป็นปัญหาที่หนักขึ้น หากเรามีผู้ป่วยที่จะรอเข้าโรงพยาบาล จำนวน 20 คน โดยที่เรามีเตียง ICU จำนวน 8 เตียง ไม่มีทางที่เราจะไม่ตัดสินใจใด ๆ เช่น หากเราบอกว่าใครมาก่อนได้ก่อน คงเป็นปัญหาในเรื่องของการจัดการ ในระหว่างที่รอแล้วใส่เครื่องช่วยหายใจอยู่นอกห้อง ICU รองรับ ก็ไม่มีทางที่จะทำให้การดูแลรักษานั้นดีขึ้นแน่นอน ในแนวทางทั้งหมดคงไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องเตียงเต็มและเตียงล้นได้ในปัจจุบัน
แต่จะสามารถแก้ไขสิ่งที่เป็นวาระสุดท้ายของชีวิต ผู้ป่วยยังจะมีศักดิ์ศรีมีการได้รับการดูแลบางอย่างจากทางโรงพยาบาล ไม่อย่างนั้นเราก็คงต้องปฏิเสธคนไข้ และจะมีคนไข้นอนอยู่นอกโรงพยาบาล หรือปฏิเสธง่ายที่สุดคือไม่รับเข้ามาภายในโรงพยาบาล ให้ผู้ป่วยอยู่บ้านแล้วเสียชีวิต ถือว่าเป็นศักดิ์ศรีของทุกท่าน หากมีผู้เสียชีวิตอยู่ข้างถนน มีผู้เดินทางมาร้องขอกับทางโรงพยาบาล นั่งหลังรถกระบะมา ที่ผ่านมาเราบอกได้แต่เพียงว่าเตียงเต็ม ท่านก็ต้องไปหาโรงพยาบาลอื่น ๆ เอง ตรงนี้ถือว่าเป็นความเจ็บปวดของวงการแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ในการที่ไม่สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยเหล่านี้ได้เลย

                    ถึงแม้ทางโรงพยาบาลธรรมศาสตร์จะขยายจำนวนเตียง ICU ขึ้นมาแล้วก็ตามแต่ข้อจำกัดที่ไม่สามารถขยายเตียง ICU ได้อีกก็คือเรื่องของบุคลากร เราไม่สามารถนำบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถอย่างเพียงพอมาดูแลผู้ป่วย ICU ที่จะขยายอย่างไม่มีที่สิ้นสุดได้ ในปัจจุบันบุคลากรทางการแพทย์ที่เรามีอยู่เดิมกับจำนวนที่เราขยายเตียงผู้ป่วยโควิด-19 ก็ถือว่าตึงแน่นแล้ว รวมถึงปัญหาที่บุคลากรทางการแพทย์ที่มีการติดเชื้อโควิด-19 รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องกักตัวจำนวนมาก เป็นปัญหาที่เกินขึ้นทุกโรงพยาบาลและทุกท่านก็ได้ทราบอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าพยาบาล 1 คน จะสามารถดูแลผู้ป่วยICU ได้ พยาบาลที่ดูแลICU ต้องมีความสามารถพิเศษ มีการฝึกฝนมาอย่างน้อย 2-3 ปี ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่ทดแทนไม่ได้




สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
TAGS
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!