ปทุมธานี-เกษตรกรโวยราคาปุ๋ยขึ้นทะลุเพดาน ขอตั้งกองทุนควบคุมราคาปุ๋ย และเปิดเสรีนำเข้า

ปทุมธานี-เกษตรกรโวยราคาปุ๋ยขึ้นทะลุเพดาน ขอตั้งกองทุนควบคุมราคาปุ๋ย และเปิดเสรีนำเข้า

ภาพ/ข่าว:อนันต์  วิจิตรประชา

เกษตรกรโวยราคาปุ๋ยขึ้นทะลุเพดาน ขอตั้งกองทุนควบคุมราคาปุ๋ย และเปิดเสรีนำเข้า

                  วันนี้ 6 ส.ค. 64 นายธีรวงศ์ สรรค์พิพัฒน์ ประธานเครือข่ายเอสเอ็มอีรุ่นใหม่ ได้รับการร้องเรียนจากกลุ่มเกษตรกรว่าราคาปุ๋ยขึ้นสูงอย่างมากซึ่งสวนกับภาวะเศรษฐกิจที่กำลังซื้อลดน้อยลง โดยเฉพาะในช่วงเกิดการระบาดของโควิดรอบใหม่นี้ เกษตรกรสวนปาล์มรายหนึ่งได้กล่าวว่าราคาปุ๋ยยังขึ้นอย่างต่อเนื่อง และของขาดตลาดเป็นอย่างมากยิ่งกลุ่มแม่ปุ๋ยราคาสูงจนไม่สามารถมีกำไรจากการปลูกปาล์มได้ จะหยุดก็ไม่ได้ เพราะปาล์มเมื่อปลุกแล้วต้องดูแลใส่ปุ๋ยตลอด ราคาปุ๋ยขึ้นมา 7 เดือนติดต่อกันตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เช่น ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ราคาจากกระสอบละไม่ถึง 500 บาท ขึ้นเป็นกระสอบละเกือบ 1000 บาท, 18-46-0 DAP ต้นปีราคา 570 ปัจจุบันเป็น 1100 บาท, 0-0-60 MOP จากต้นปี 475 บาท ราคาขึ้นเป็น 775 บาท ขนาดซื้อในปริมาณมากยังไม่สามารถขอต่อรองราคาได้ และของยังขาดตลาดอย่างมาก เฉลี่ยราคาสูงถึงตันละ 17,000 บาท เกษตรกรรายย่อยราคาก็ยิ่งแพง บางเดือนราคาปุ๋ยขึ้นถึง 4-5 ครั้ง เช่นเดือย มิ.ย.ที่ผ่านมาราคาปรับขึ้น 2 ครั้ง ส.ค.ก็ปรับขึ้น เกษตรกรจะอยู่ได้อย่างไร
                 นายธีรวงศ์ จึงเสนอไปยังภาครัฐว่าควรแก้ปัญหาด้วยการ 1. เปิดเสรีการนำเข้ากลุ่มแม่ปุ๋ยทั้งหมด และใช้ใบรับรองมาตรฐานของประเทศผู้ผลิตให้สามารถใช้ในการยื่นขอใบอนุญาตนำเข้าปุ๋ยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายทันที เพราะในปัจจุบันใบอนุญาตนำเข้าปุ๋ยตกอยู่ในมือของบริษัทยักษ์ใหญ่ หรือในวงการเรียกว่า 5 เสือเท่านั้น บางรายก็เป็นกลุ่มของเจ้าสัวใหญ่เจ้าเดิม ทำให้เกษตรกรรายย่อยไม่มีอำนาจต่อรองใดๆได้ นายทุนใหญ่สามารถเป็นผู้กำหนดราคาปุ๋ยในประเทศว่าขึ้นหรือลง เช่น ในช่วงที่ตลาดโลกราคาปุ๋ยตกลง นายทุนก็สามารถยืนราคาเดิมจนปุ๋ยหมดสต็อกก่อนค่อยลงราคา หรือถ้าราคาปุ๋ยตลาดโลกขึ้นนายทุนก็สามารถขึ้นราคาปุ๋ยของสต็อคในประเทศได้ทันที สร้างความเหลื่อมหล้ำ และความได้เปรียบในผลกำไรจากเกษตรกรผู้ไม่มีทางเลือก
2. เป็นตัวกลางในการเจรจาควบคุมเพดานราคากับผู้นำเข้ารายใหญ่ให้ช่วยลด หรือคงราคาเท่าที่สามารถกระทำเพื่อช่วยเหลือประคองเกษตรกรให้สามารถอยู่รอดได้ในช่วงวิกฤตินี้  ปัจจุบันราคาปุ๋ยขึ้นมา 100% ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรไม่สามารถขึ้นได้มากขนาดนั้น และเกษตรกรรมมีต้นทุนหลักเป็นปุ๋ยที่ใช้ในการผลิตพืชเศรษฐกิจ จึงขอให้ภาครัฐเข้ามากำกับดูแลโดยเร่งด่วน ในราคาปุ๋ยทุกประเภทโดยเฉพาะกลุ่มแม่ปุ๋ย
3. รัฐบาลพิจารณาตั้งกองทุนควบคุมราคาปุ๋ย เพื่อเป็นตัวแทนนำเข้าเองทำให้สามารถนำเข้าได้ในปริมาณมากในช่วงที่ปุ๋ยราคาสูงขึ้นเอย่างต่อเนื่อง จะทำให้รัฐบาลสามารถคงราคาปุ๋ยได้ในช่วงระยะเวลา 3-12 เดือน โดยปริมาณการนำเข้าผ่านกองทุนให้พิจารณาจากแนวโน้มของราคาปุ๋ยในตลาดโลกไม่ใช่ในประเทศ และเมื่อรัฐบาลมีกองทุนควบคุมราคาปุ๋ยนอกจากจะทำให้เกษตรกรสามารถรู้ต้นทุนล่วงหน้าได้แล้วแล้ว ยังทำให้ผู้นำเข้าปุ๋ยรายใหญ่ 5 เสือถูกทอนอำนาจการควบคุมราคาตลาดในประเทศลง ทำให้ราคามีความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

                      ปุ๋ยปาล์ม 18-46-0 เดิมราคาลูกละ 570 บาทช่วงนี้ขึ้นราคาไปถึง 1200 บาท และยังไม่มีของให้ซื้ออีก ปุ๋ยสูตร 0-0-60 ปรับราคาขึ้นไปถึงลูกละ800-900 บาท แต่ไม่มีของ ซึ่งถูกปู้นำเข้าปุ๋ยกักตุนไว้ไม่ปล่อยออกสู่ท่องตลาดและยังอ้างว่าช่วงนี้ไม่มีเรือขนส่งสินค้านำเข้ามาทำให้ปุ๋ยทุกสูตรขึ้นราคากว่าเท่าตัวในช่วงนี้ทำให้ชาวนา ชาวสวนผัก สวนปาล์มและสวนผลไม้ได้รับผลกระทบจากการขึ้นราคาซ้ำเติมในช่วงโควิด-19อีกด้วย
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
TAGS
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!