เพชรบุรี-สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค2 เตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝนปี64 เชื่อมั่นเอาอยู่
ภาพ/ข่าว:สุรพล นาคนคร
สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค2 เตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝนปี64 เชื่อมั่นเอาอยู่
วันที่ 7 กันยายน 2564 เวลา 13.30 น. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 2 จัดประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาค ในพื้นที่ภาคกลาง และรายงานการเตรียมความพร้อมการบริหารจัดการน้ำ ตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2564 ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี โดยมีนางสาวเอกรัตน์ นาคาคง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี เป็นประธาน นายธันยา จรูญสมาธิศักดิ์ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการกลุ่มประสานงานลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ สทนช.2 เป็นเลขานุการฯ พร้อมด้วยดร.ชิตชนก สมประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 14 นายสมเกียรติ แจ่มจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเพชรบุรี, นายสันต์ จรเจริญ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี, นายมีชัย ปฏิยุทธ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแก่งกระจาน, นายวิรัช เพ็ญจันทร์ หัวหน้า สนง.ปภ.จ.เพชรบุรี , นางสาวศิริวรรณ เครือเล็ก เกษตรและสหกรณ์ จ.เพชรบุรี , นายสุพจน์ จุลธุระ ผอ.สถานีอุตุนิยมวิทยาเพชรบุรี , นายสมพงษ์ เพชรนาค ผอ.เจ้าท่าภูมิภาคสาขาเพชรบุรี , พ.อ.สำราญ ขวงพร ผู้แทน รอง กอรมน.จ.เพชรบุรี ผู้แทนท้องถิ่นจังหวัด ผู้แทน หน.สนง.จังหวัด ผู้แทนโยธาธิการและผังเมือง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาค ในพื้นที่ภาคกลาง และรายงานการเตรียมความพร้อมการบริหารจัดการน้ำ ตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2564 ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ในรูปแบบการประชุมทางไกล ผ่านระบบเครือข่าย (Video Conference) จากทำเนียบรัฐบาล โดยมี พลเอก สุชาติ ผ่องพุฒิ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุม ณ ห้องประชุมโครงการชลประทานเพชรบุรี (เขาหลวง) อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
ในการนี้ภายหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมทางไกลแล้วเสร็จ ได้มีการประชุมต่อในวาระรายงานการเตรียมความพร้อมการบริหารจัดการน้ำ ตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2564 ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี โดยกรมชลประทานได้ชี้แจงแนวทางการบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน อ่างฯห้วยแม่ประจันต์ และอ่างฯห้วยผาก ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และการบริหารจัดการน้ำเหนือเขื่อนเพชร สามารถบริหารจัดการน้ำ โดยกำหนดเกณฑ์การระบายน้ำผ่านเขื่อนเพชรไม่เกิน 344 ลบ.ม./วินาที โดยระบายลงแม่น้ำเพชรบุรีไม่เกิน 150 ลบ.ม. คลองระบายน้ำ D9 100 ลบ.ม. และที่เหลือระบายลงคลองส่งน้ำต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเสนอแนวทางบริหารจัดการน้ำ เพื่อพิจารณาจัดทำเป็นแผนการบริหารจัดการน้ำ เสนอคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดเพชรบุรี พิจารณาเห็นชอบ ให้หน่วยงานต่าง ๆ นำไปเตรียมความพร้อมต่อไป
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/