ปทุมธานี-รพ.ธรรมศาสตร์รังสิตชี้แจงแถลงการณ์ขาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ป้องกันเชื้อโควิด 19

ปทุมธานี-รพ.ธรรมศาสตร์รังสิตชี้แจงแถลงการณ์ขาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ป้องกันเชื้อโควิด 19

ภาพ/ข่าว:อนันต์ วิจิตรประชา

        รพ.ธรรมศาสตร์รังสิตชี้แจงแถลงการณ์ขาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ป้องกันเชื้อโควิด 19

         เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 4 มีนาคม 2563 ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ศูนย์รังสิต ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้ชี้แจงการเผยแพร่แถลงการณ์ขาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ป้องกันเชื้อไวรัสโคโลน่าสายพันธุ์ใหม่2019 หรือโควิด-19
ทางโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ศูนย์รังสิต มีการเตรียมความพร้อมทีมแพทย์และพยาบาลตอบโต้ภาวะฉุกเฉินอุบัติภัยโรคระบาดและเชื้อไวรัสโคโลน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 รวมถึงตั้งจุดคัดกรอง และศูนย์ตรวจเฉพาะโรค พร้อมทีมเจ้าหน้าที่เมื่อมีเหตุผู้เข้าข่ายติดเชื้อไวรัสโควิด-19

         รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า เนื่องจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ศูนย์รังสิต มีหน้าที่รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลทั้ง 8 จังหวัด ในเขตสุขภาพที่ 4 กระทรวงสาธารณสุข ทั้งโรคสลับซับซ้อน โรคเรื้อรัง โรคที่มีความยากในการดูแลรักษา เราจึงมีข้อเรียกร้องตามที่มีการเผยแพร่แถลงการณ์ไปก่อนหน้านี้ ทั้งนี้เรามีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญในการรองรับการดูแลผู้ป่วยรวมถึงผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อเราจะดูและเราจึงต้องขออุปกรณ์ในการป้องกัน เราจึงต้องมีการสำรองเพื่อรองรับในการดำเนินการให้ได้ใน 1 เดือน เป็นที่มาว่าหากอุปกรณ์ที่เราสำรองไว้หมดลงจนเหลือใช้ได้เพียง 2 อาทิตย์ แล้วเรายังคงได้รับคำตอบจากซัพพลายเออร์ว่าไม่มีของให้ จึงเป็นสิ่งที่เรากังวล ในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมถึงรัฐบาล หรือแม้แต่ผู้ที่มีจิตที่อยากจะช่วยเหลือเราสามารถดำเนินการตรงนี้ต่อไปได้

         ทั้งนี้ภายในที่ประชุมทางการแพทย์ ที่มีอาจารย์ทางด้านโรคติดเชื้อและด้านระบาดวิทยาได้พูดคุยกันว่าระยะที่ 3 การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มาแน่ หากเรามีการบริหารจัดการดี มาแล้วคนไข้อาจจะไม่เยอะมาก จะทำให้โรงพยาบาลต่าง ๆ ที่แบ่งปันทรัพยากรกันแล้ว เช่น 2-3 เคสในแต่ละโรงพยาบาลก็จะมีการบริหารจัดการได้อย่างไม่มีความโกลาหล แต่หากระยะที่ 3 มาแล้ว เรามีการบริหารจัดการไม่ดี โดยที่ไม่มีการเตรียมความพร้อมไว้ เมื่อคนไข้มีจำนวนที่มากขึ้น ประมาณ 10 กว่าเคส ต่อโรงพยาบาลก็จะเริ่มมีปัญหาแล้ว ซึ่งแต่ละเคสต้องมีการใช้อุปกรณ์ หน้ากาก ชุดป้องกัน มีความจพเป็นอย่างยิ่ง เรามีความจำเป็นต้องกังวลไว้ก่อน และมีการคาดการณ์ไว้ว่าระยะที่ 3 จะมา เพื่อที่จะจัดเตรียมอุปกรณ์ เตรียมบุคคลากรได้อย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ หากเราไม่ได้วางแผนไว้เลยและเกิดเหตุการณ์ขึ้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็จะยากลำบากกว่านี้ เมื่อเราคาดการณ์ความเสี่ยงที่สูงสุดและเตรียมความพร้อมรับมือ แต่ไม่เกิดขึ้นถึงขนาดที่เราคาดไว้เราก็จะผ่านเหตุการณ์นี้ไปได้.

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!