จันทบุรี-กระแสทุเรียนเมืองจันท์ฟีเวอร์เกษตรกรเร่งเพิ่มพื้นที่ปลูกจาก 400 ต้น เพื่อเป็น 1,500 ต้น
ภาพ/ข่าว ดนุชเดช ทองเปรม
กระแสทุเรียนเมืองจันท์ฟีเวอร์เกษตรกรเร่งเพิ่มพื้นที่ปลูกจาก 400 ต้น เพื่อเป็น 1,500 ต้น เน้นผลผลิตที่มีคุณภาพทันขายปีหน้า
ผู้สื่อข่าวได้เดินทางมายังสวนของนายโอภาส สุขยืนนานยิ่ง อายุ 59 ปี หมู่ที่ 10 ตำบลแสลง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี จากการพูดคุยได้ทราบว่าที่ผ่านมากระแสทุเรียนจันทบุรีมีการส่งออกไปยังต่างปนะเทศและขายในประเทศเป็นอันดับต้นๆของไทย ทำให้เกษตรกรชาวสวนได้มีการตัดโค่นต้นมังคุดออกแล้วหันมาปลูกทุเรียนแทน โดยทุเรียนที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์หมอนทอง เพราะที่ที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก ซึ่งจากข้อมูลของกองทุนพัฒนาทุเรียนไทยได้บันทึกความสำเร็จของการส่งออกทุเรียนภาคตะวันออกไปจีนฤดูกาลผลิตปี 2565 ฝ่าด่านโควิด-19 และปัญหาอุปสรรคหลายด้าน แต่ก็ทะลุกว่า 500,000 ตันแล้ว นับว่าสูงที่สุดที่เคยส่งออกมา และยังไม่ได้รวมตัวเลขส่งออกไปตลาดอื่นเช่นมาเลเซีย ฮ่องกง ใต้หวัน เกาหลี อินเดียฯลฯ จนทุเรียนกลายเป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับหนึ่งของไทยแซงหน้าข้าว ยางพารา ไปแล้ว ทำให้เกษตรกรชาวสวนได้มีการเพิ่มพื้นที่ในการปลูกจากเดิมปลูกทุเรียนหมอนทองไว้จำนวน 400 ต้น เพิ่มมาเป็น 1,500 ต้น ในเนื้อที่ 60 ไร่ ซึ่งคาดว่าจะได้ผลผลิตในปีหน้าถึง 140 ตัน แต่สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือน้ำ ซึ่งได้มีการปรับนำน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ การขุดสระน้ำให้ลึกกว่าเดิมเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้ และมีการปรับใช้เทคโนโลยีจากเครื่องจักรกลอย่างรถพ่นสารเคมีมาทดแทนแรงงาน ซึ่งได้ผลดี สะดวกรวดเร็ว ทันต่อสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ลดค่าจ้างแรงงาน ซึ่งที่ผ่านมาจะต้องใช้เงินในการจ้างแรงงานวันละ 500-600 บาทและจะต้องใช้คนงานถึง 10 คนในการให้น้ำ พ้นยาในสวน ถ้าพอนำเทคโนโลยีมาปรับใช้จะเหลือคนงานเพียง 3-4 คนเท่านั้น ทำให้ลดต้นทุนการผลิตในด้านแรงงานไปได้เกินครึ่ง ทั้งนี้ขอฝากถึงเกษตรกรมือใหม่ จะต้องศึกษาให้ดี แหล่งน้ำต้องพร้อม ไม่ว่าจะเป็นแกล่งน้ำจากธรรมชาติหรือแหล่งน้ำใต้ดิน ส่วนของแปลงปลูกจะต้องจัดเตรียมแปลงให้รองรับเครื่องจักรเครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะนำมาใช้เพื่อประหยัดแรงงานเพราะหากวันข้างหน้าจะหาแรงงานยากขึ้น