อยุธยา-ปิดการฝึกโครงการพระราชทานโคกหนองนาแห่งน้ำใจ
ภาพ/ข่าว:นราเอก ตันศิริ , นพดล บำเพ็ญสัตย์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีปิดการฝึกโครงการพระราชทานโคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวังทัณฑสถานบำบัดพิเศษพระนครศรีอยุธยา กรมราชทัณฑ์
เมื่อเวลา 09:00 น.วันที่ 24 มกราคม 2564 ที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษพระนครศรีอยุธยา กรมราชทัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายสมศักดิ์ เจริญไพฑูรย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เป็นผู้แทนพระองค์ฯในพิธีปิดการฝึกโครการพระราชทานโคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง โดยมี นายวีระ ทวีชน ผู้อำนวยการทัณฑสถานบำบัดพิเศษพระนครศรีอยุรยา เป็นผู้กล่าวถวายรายงาน
ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทาน ให้มีการฝึกโครงการพระราชทานโคกหนองนาแห่งน้ำใจ และความหวัง ทัณฑสถานบำบัดพิศษพระนครศรีอยุธยา กรมราชทัณฑ์ ซึ่งเป็นการประยุคใช้ทฤษฎีใหม่แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ขุดหนองทำนา เพื่อสร้างต้นแบบเกษตรทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ขนาดเล็ก โดยสามารถดำเนินการได้ในทุกเรื่อง และมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพื้นฐานความคิด การฝึกวินัย การลงมือปฏิบัติ ตลอดจนการแก้ปัญหใน สถานการณ์จริง เพื่อให้ผู้ต้องขังสามารถพึ่งพาตนเอง และช่วยเหลือผู้อื่นที่ได้รับความเดือดร้อนได้ เมื่อพ้นโทษออกไปภายนอก ปัจจุบันการฝึกโครงการพระราชทานโคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง ทัณฑสถานบำบัดพิเศษพระนครศรีอยุธยา กรมราชทัณฑ์นี้ มีผู้เข้ารับการฝึกเป็นผู้ต้องขัง รวมทั้งสิ้น 96คน โดยปฏิบัติการฝึกอบรม เป็นเวลา 14 วัน ระหว่างวันที่ 10 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 24 มกราคม 2564 แบ่งการฝึกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ การอบรมพึ่งตนเองด้วยทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง การแปลงทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติประกอบด้วย การออกแบบแนวความคิด การบริหารจัดการพื้นที่ขนาดเล็ก การประยุกต์ทฤษฎีใหม่แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ขุดหนอง ทำนา ตามภูมิสังคมลงบนกระดาษ การสร้างพื้นที่จำลอง (Table Exercise)และวางแผนการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อพออยู่ พอกิน พอใช้และพอร่มเย็น การปฏิบัติในพื้นที่จริง มีขนาด 50 ตารางเมตร ตามทฤษฎีใหม่แบบชาวบ้าน ปั้นโคก ขุดหนอง ทำนา ตามภูมิสังคม และการสรุปและประเมินผล
จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทัณฑสถานบำบัดพิเศษพระนครศรีอยุธยา สามารถพึ่งพาตนเอง ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ ทั้งสามารถช่วยเหลือประชาชน และทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมได้ หลังจากนี้ผู้ต้องขังเมื่อพ้นโทษออกไป จะต้องไปดำเนินการ ในพื้นที่ ตามภูมิลำเนาของตนเอง อันเป็นการสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนการิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหรช บรมนาถบพิตร โดยการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจแก่ประชาช เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และช่วยกันพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/