อุดรธานี-องคมนตรี – รมว.พม.เปิดโครงการสัมมนาวิชาการ ระดับชาติด้านคนพิการ

อุดรธานี-องคมนตรี – รมว.พม.เปิดโครงการสัมมนาวิชาการ ระดับชาติด้านคนพิการ

ภาพ/ข่าว:พฤตินัย มั่งสวัสดิ์ / ณัยน์ปพร มั่งสวัสดิ์
Cr.ม.ราชภัฏอุดรฯ

          วันที่ 13 ก.ค.67 ที่หอประชุมใหญ่ ศูนย์การศึกษาสามพร้าว มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดโครงการสัมมนาวิชาการ ระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2567 โดยมี นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) พร้อมด้วย นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ พัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ , นายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ , นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ , นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี, ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, นายกันตพงศ์ รังษีสว่าง อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ร่วมในพิธีเปิดงานสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2567 (The 16th National Conference on Persons with Disabilities – NCPD 2024) หัวข้อ “นวัตกรรมขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตคนพิการสู่สังคมไทยอย่างยั่งยืน เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 6 รอบ 72 พรรษา” “Innovation Driving for Quality of Life of Persons with Disabilities Towards the Sustainable Thai Society on the Auspicious Occasion of His Majesty the King’s 72nd Birthday” จัดภายใต้ความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป้าหมายคือ การส่งเสริมการพัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้ ผลงานวิจัย วิชาการ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านวิชาการ นำไปสู่การต่อยอดและขยายผลสู่ และการสนับสนุนการสร้างและพัฒนากำลังคน บุคลากร นักวิจัย และนักวิชาการด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และผู้ดูแลคนพิการให้มีความพร้อมในการประกอบอาชีพและมีส่วนร่วมในสังคม
          มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ได้สร้างการมีส่วนร่วม ระหว่างคณาจารย์ นักศึกษา และชุมชน ตลอดจนสถานศึกษา และหน่วยงานราชการในจังหวัดอุดรธานี โดยการใช้กระบวนการวิศวกรสังคม อันเป็นเครื่องมืออัตลักษณ์ ของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ในการสร้างกรอบความคิดเติบโต และนวัตกรรมเพื่อสังคม ตามความถนัดในด้านองค์ความรู้วิชาการ อย่างประสานประโยชน์ร่วมกัน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการให้สามารถช่วยตนเองและสร้างประโชน์ให้แก่สังคมได้อย่างภาคภูมิใจ อันเป็นไปตามเป้าหมายของ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นอกจากนี้ยังมี นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “คุณภาพชีวิตคนพิการสู่สังคมไทยอย่างยั่งยืน” โดย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ,พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ระหว่างกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน รวม 64 หน่วยงาน (ผสมผสานระบบออนไลน์) เพื่อสร้างเครือข่ายและส่งเสริมความร่วมมือในการทำงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ, การนำเสนอผลงานวิชาการ บทความวิจัย และบทความทางวิชาการ, การประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์, การประกวด Soft Power คนพิการ, การแสดงผลงานนิทรรศการ ผลิตภัณฑ์ของคนพิการ 50 บูท, การเสวนาวิชาการด้านคนพิการ ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ สถาบันการศึกษา, หน่วยงานภาครัฐ, องค์กรเอกชน, องค์กรด้านคนพิการ, สถานประกอบการ, หน่วยงานภาคประชาสังคม ที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ กว่า 1,600 คน

          กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้กำหนดให้มีการขับเคลื่อนความร่วมมือทางวิชาการ โดยการจัดสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ มาอย่างต่อเนื่อง มีความมุ่งหมายเพื่อขับเคลื่อนการบูรณาการงานด้านคนพิการ ผ่านกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำไปเผยแพร่ต่อสาธารณะให้เป็นรูปธรรม และถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยในปีนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี รับเป็นเจ้าภาพในการจัดโครงการสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2567 ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏ นับเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ที่เล็งเห็นความสำคัญในด้านการเสริมสร้างศักยภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ สำหรับในการจัดงานครั้งต่อไป ครั้งที่ 17 ประจำปี 2568 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!