อุดรธานี-“อำเภอประจักษ์ฯ” น้อมนำแนวพระราชดำริ มาประยุกต์ใช้กับโครงการ อำเภออารยเกษตร
ภาพ/ข่าว:พฤตินัย มั่งสวัสดิ์
วันที่ 17 ก.ค.67 เจ้าหน้าที่จากสำนักบริหารการปกครองท้องที่ กรมการปกครอง ได้ลงพื้นที่ ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต้นแบบ ระดับจังหวัด (ฟาร์มผักบ้านดอนม่วง) บ้านดอนม่วง หมู่ที่ 3 ต.นาม่วง อ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ ฝึกอบรม ศึกษาดูงาน เป็นต้นแบบการนำไปเป็นตัวอย่างให้กับผู้เข้ารับการอบรม เป็นจุดสาธิตการดำเนินการอบรมตามโครงการ เป็นสถานที่แปรูปผลผลิตผักจิงจูฉ่ายกับผักเคล เป็น “ผักผง” ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินโครงการ และยังเป็นศูนย์บ่มเพาะพันธ์พืชผักที่สำคัญทีาจะส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นทึ่ ให้มีรายได้ มีความมั่นคง
ที่ ฟาร์มผักบ้านดอนม่วง ม.3 ต.นาม่วง อ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานีนายสุรเชษฐ์ ไขโพธิ์ นายอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำโครงการอำเภออารยเกษตร เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และได้พิจารณาคัดเลือกให้อำเภอประจักษ์ศิลปาคม เป็นอำเภอเป้าหมาย เพื่อน้อมนำและประยุกต์แนวพระราชดำริ เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด สู่การขับเคลื่อนโครงการ ในการน้อมนำแนวพระราชดำริมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน พัฒนาคุณภาพชีวิต และสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน ภายใต้ “โครงการส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร”ผักปลอดภัยมูลค่าสูง” อำเภอประจักษ์ศิลปาคม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา และสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาของอำเภอ “อำเภอประจักษ์ฯ ผักปลอดภัย” และ “อำเภอประจักษ์ศิลปาคม โมเดล”
นายสุรเชษฐ์ ไขโพธิ์ นายอำเภอประจักษ์ศิลปาคม กล่าวอีกว่า การบริหารงบประมาณให้เกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประประชาชนในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้ การปลูกผักจิงจูฉ่าย การปลูกผักเคล เพื่อนำผลผลิตผักทั้ง2 ประเภท เเป็นวัตถุดิบส่งจำหน่ายให้สหกรณ์การเกษตรรุ่นใหม่ (YSF)จังหวัดอุดรธานี เพื่อแปรรูปผลิตเป็น” ผักผง” เป็นการเพิ่มมูลค่า โดยโครงการมีกำหนดการอบรมให้ความรู้การปลูกผักปลอดภัย การักษา การบำรุงดิน วิธีการปลูก การดูแลรักษา การขยายพันธุ์ การเก็บผลผลิตจำหน่าย การออม การจัดทำบัญชี เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร การสร้างรายได้ ลดรายจ่ายการออม และสร้างครัวเรือนต้นแบบในหมู่บ้าน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแบ่งปันขยายผลสู่ชุมชน ตลอดจนเป็นการสร้างความสามัคคีของชุมชนในการดูแลพื้นที่และประชาชนในหมู่บ้าน ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนตามหลัก “อารยเกษตรสู่ การพัฒนา อย่างยั่งยืน” (Sustainable Agronomy to Sustainable Development)