สุพรรณบุรี-เปิดศูนย์เรียนรู้โรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School
ภาพ/ข่าว:มงคล / รัตนา / พงศกร สว่างศรี
กรมลดโลกร้อน ยกระดับโรงเรียนเทศบาล 2 วัดปราสาททอง เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ สร้างสังคมคาร์บอนต่ำให้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และโรงเรียนปลอดขยะรางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2566 เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) และเปิดศูนย์เรียนรู้โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) หลุยส์ เฮสดาร์ซัน ดารานักแสดง ช่อง 7 HD และแบรนด์แอมบาสเดอร์ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม มาร่วมงานและสร้างสีสันในงานด้วย
นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดศูนย์เรียนรู้โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ณ โรงเรียนเทศบาล 2 วัดปราสาททอง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางให้แก่ ประชาชน ชุมชน สถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำไปสู่การต่อยอดเป็นสังคมคาร์บอนต่ำได้อย่างยั่งยืน โดยมี นายสรชัด สุจิตต์ สส.สุพรรณบุรี ดร.เอกพันธุ์ อินทร์ใจเอื้อ นายกเทศนตรีเมืองสุพรรณบุรี นายจิตรติ ทรงมัจฉา ปลัดอาวุโสอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ดร.พรรณมาส พรมพิลา ผู้อำนวยโรงเรียนเทศบาล 2 วัดปราสาททอง พร้อมเครือข่ายสถานศึกษา คณะครูและนักเรียน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี เข้าร่วมกิจกรรม กว่า 200 คน ร่วมงาน ซึ่งมี หลุยส์ เฮสดาร์ซัน ดารานักแสดง ช่อง 7 HD และแบรนด์แอมบาสเดอร์ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม มาร่วมงานและสร้างสีสันในงานด้วย ชมการแสดงของนักเรียน ในชุด medley 3ป ปลูก เปลี่ยน ประชาสัมพันธ์ พร้อมกับถวายภัตตาหาร พร้อมจตุปัจจัย พระครูศรีรัตนาภิวัฒน์ ดร.เจ้าอาวาสวัดพระลอย รองเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี พระปลัดพุทธิกร ธมฺมธโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปราสาททอง พระพิสิฐพัฒน์ ฐานวโร ผู้แทนเจ้าอาวาสวัดไทร
นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ปัจจุบันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก ซึ่งประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศเป็นที่จะได้รับผลกระทบในอันดับต้น ๆ ทั้งนี้ ในการแก้ไขปัญหาทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง พร้อมสร้างความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนสู่สังคมคาร์บอนต่ำตามบริบทพื้นที่ ขยายสู่ระดับสังคม และระดับประเทศ โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (สส.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ได้ดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะและชุมชนปลอดขยะ ส่งเสริมและเผยแพร่แนวคิด Zero Waste การจัดการขยะเหลือศูนย์ โดยใช้หลัก 3Rs สร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน โรงเรียน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการขยะมูลฝ่อยแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางมาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันมีศูนย์เรียนรู้ชุมชนปลอดขยะและศูนย์เรียนรู้โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) รวมกว่า จำนวน 62 ศูนย์ และสำหรับปี 2567 นี้ ได้ดำเนินการพัฒนาต่อยอดชุมชนปลอดขยะรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และโรงเรียนปลอดขยะรางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2566 เป็น ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) และศูนย์เรียนรู้โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) จำนวนทั้งหมด 5 แห่ง โดยโรงเรียนเทศบาล 2 วัดปราสาททอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็น 1 ใน 5 แห่ง ที่ได้รับยกระดับให้เป็น ศูนย์เรียนรู้โรงเรียนปลอดขยะ มีฐานเรียนรู้ที่น่าสนใจถึง 16 ฐานเรียนรู้ อาทิ ฐานเรียนรู้ Zero Waste Massage ฐานศูนย์เรียนรู้นางฟ้าเสกสรร ฐานเรียรู้ใสใจอีกนิด พิษร้ายแรง ฐานเรียนรู้สวนผักรักษ์เธอ ฐานเรียนรู้รู้จริงยิ่งดี ชีวิสุขสันต์ฐานเรียนรู้ No Trash In Class เป็นต้น ซึ่งจะเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการจัดการขยะต้นทางให้แก่ประชาชน ชุมชน สถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีและพื้นที่ไกล้เคียง สร้างแรงบันดาลใจและผลักดันให้เป็นสังคมที่สะอาดควบคู่กับสังคมคาร์บอนต่ำได้อย่างยั่งยืนต่อไป
ด้าน ดร.เอกพันธุ์ อินทร์ใจเอื้อ นายกเทศนตรีเมืองสุพรรณบุรี กล่าวว่า เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี ได้ให้ ความสำคัญกับปัญหาการจัดการขยะมาโดยตลอด โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ได้มีนโยบายส่งเสริมการลด แยกขยะที่ต้นทาง (Zero waste) มุ่งเน้นส่งเสริมชุมชน องค์กร สถานประกอบการ ลด และคัดแยกขยะ มุ่งผลสำเร็จ มหลักการของเสียเหลือศูนย์ (Zero waste) จึงส่งผลให้โรงเรียนเทศบาล 2 วัดปราสาททอง ได้รับรางวัลนี้ ซึ่งทาง จังหวัดสุพรรณบุรี จะผลักดัน ให้ทุกชุมชนและทุกโรงเรียนมีการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง และจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วม แรงร่วมใจกันช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในลำดับถัดไป