สุพรรณบุรี-คู่รักชายหญิงแห่ร่วมประเพณีเดินเจว็ดคึกคัก
ภาพ/ข่าว:มงคล สว่าวศรี สุพรรณบุรี
คู่รักชายหญิงกว่า 100 คู่รัก สวมสไบเฉียง แห่ร่วมสืบสวนประเพณีเดินเจว็ด (จะเหฺว็ด) ศาลพ่อปู่ต้นแค ศาลแม่ย่านาง (แม่พระนาง) คึกคัก ซึ่งได้จัดติดต่อสืบทอดกันมายาวนานกว่า 300 ปี
นายไพฑูรย์ วงศ์วีรกูล นายอำเภอสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี นายวรสิทธิ์ วรกิจธำรงค์ชัย นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งคอก อ.สองพี่น้อง นางสาวนิษฐกานต์ คุณวัชระกิจ วัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมกันจัดงานสืบสานประเพณีเดินเจว็ด (จะเหฺว็ด) ที่ศาลพ่อปู่ต้นแค ศาลแม่ย่านาง (แม่พระนาง) หมู่ 10 ต.ทุ่งคอก อ.สองพี่น้อง จัดขึ้นโดยเทศบาลตำบลทุ่งคอก ร่วมกับวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรีและชาวบ้านตำบลทุ่งคอก โดยมีหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและชาวบ้านในชุมชนร่วมพิธีจำนวนมาก พิธีเดินเจว็ดจะจัดขึ้นเป็นประจำ ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ซึ่งเป็นประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นเก่าแก่ มากว่า 300 ปี เป็นความเชื่อของคนถ้องถิ่น ประเพณีเดินเจว็ดมีเพียง 2 แห่งในประเทศไทย คือจังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดสมุทรสาคร ประเพณีเดินเจว็ด ได้งดจัดมา 2 ปี เนื่องจากสถานการณ์โควิด19แพร่ระบาด โดยในช่วงเช้ามีพิธีทำบุญตักบาตร เลี้ยงภัตรหารเช้าแด่พระสงฆ์ หลังเสร็จทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ ชาวบ้านจะนำขนม ต้มแดง ต้มขาว ข้าวสวย เหล้า ไก่ หัวหมู่ ผลไม้ และเครื่องสักการะมาขึ้นศาลและอัญเชิญพ่อปู่ พ่อปูต้นแค พระแม่ประทับร่างทรง เพื่อกราบไหว้ขอพร และแก้บนที่ได้บอกกล่าวไว้ เพื่อความเป็นสิริมงคล ในปีนี้มีคู่รักจากทั่วสารทิศและคู่รักในพื้นที่ ที่ได้สืบเชื้อสายเป็นลูกหลานของพ่อปู่ พ่อปู่ต้นแค แม่ย่านาง มาร่วมพิธีเดินเจว็ดกันอย่างคึกคัด โดยหนุ่มสาวทุกคู่ในหมู่บ้าน คู่รักทั้งที่ไปทำมาหากินที่ต่างจังหวัด ทั้งคู่รักที่เพิ่งแต่งงานอยู่กินกันได้ไม่ถึง 1 ปี หรืออยู่กินกันมาหลายปีแล้วก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นคู่รัก คู่เพื่อนรัก คู่พี่น้อง ที่เป็นลูกหลานพ่อปู่ต้นแค ศาลแม่ย่านาง (แม่พระนาง) จะมาร่วมพิธีเดินเจว็ด และคนเฒ่าคนแก่ที่แต่งงานกันมานานแล้ว แต่ชีวิตไม่มีความสุข หากไม่มาขึ้นเจว็ดจะอยู่อย่างไม่มีความสุข จะป่วยไข้บ้าง ก็จะมาร่วมพิธีเดินเจว็ดจำนวนมาก คู่รักที่มาร่วมพิธีเดินเจว็ดเป็นประจำ จะทำให้ชีวิตคู่มีความสุข สมหวัง หน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า การค้าขายเจริญรุ่งเรือง มีโชคลาภ
โดยทุกคู่จะแต่งกายชุดไทย หรือชุดสภาพเรียบร้อย มีผ้าขาวม้าห่มเป็นสไบเฉียง ซึ่งในปีนี้มีคู่ชายหญิงมาร่วมสืบสานประเพณีเดินเจว็ดกว่า 100 คู่ สำหรับเจว็ด (จะเหฺว็ด) จะเป็นลักษณะแผ่นไม้รูปคล้ายใบเสมา เขียนหรือแกะเป็นรูปเทพารักษ์ เทวดา ประดิษฐานในศาลพระภูมิหรือศาลเจ้า มักทำเป็นรูปเทวดาถือพระขรรค์ สัปตเคราะห์ สำหรับพิธีบูชาพระเคราะห์ โดยปริยายหมายความว่า ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นประธานหรือเป็นใหญ่ การนำเจว็ดที่ทำจากไม้รูปพระขันธ์ เชื่อกันว่าไม้เจว็ดคือเทวดา การเดินเจว็ดคู่รักทุกคู่จะนำไม้เจว็ดผูกผ้าสามสี จำนวน 1 คู่ ที่มีลักษณะเป็นรูปพระขรรค์ยาวและสั้น ยาวหมายถึงตัวแทนผู้ชาย สั้นหมายถึงตัวแทนผู้หญิง พร้อมด้วยดอกไม้ธูปเทียนหมากพลู พวงมาลัย ใส่พาน โดยมีขบวนกลองยาวแห่นำหน้า ตามด้วยขบวนนางรำสาวงามสวมชุดไทยรำอย่างสวยงาม จากนั้นคู่รักทุกคู่ที่ร่วมขบวนเดินเจว็ด เดินถือพานวนรอบศาล จำนวน 3 รอบ แล้วนำพานเจว็ดมามอบให้ร่างทรงพ่อปู่ ให้ร่างทรงพ่อปู่เป่าศีรษะ และร่างทรงพ่อปู่จะให้เงินกับคู่รักคนละ 1 บาท ไว้เป็นขวัญถุงและให้พรให้ประสบความสำเร็จในชีวิตคู่ สุขภาพแข็งแรง ทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ชีวิตคู่มีความสุข สมหวัง มีโชคลาภ และเพื่อความเป็นสิริมงคลในการใช้ชีวิตคู่ ประเพณีเดินเจว็ดได้มีการจัดติดต่อสืบทอดกันมายาวนานกว่า 300 ปี เพื่อเป็นการเสริมบารมีในชีวิตรักชีวิตคู่และเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามไว้ให้เยาวชนรุ่นหลังได้สืบสานต่อไป นางนุชรี ทองคำใส เปิดเผยว่าได้แต่งงานอยู่กันกับนายพัทรพล ทองคำใส ได้มาร่วมพิธีเดินเจว็ดเป็นครั้งแรก เนื่องจากพ่อแม่ปู้ย่าตายายจะมาร่วมพิธีเดินเจว็ดติดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน หลังจากได้แต่งงานจึงได้มาร่วมพิธีเดินเจว็ด เชื่อว่าครอบครัวจะทำมาหากินเจริญก้าวหน้า หน้าที่การงานเจริญรุ่งเรือง มีโชคลาภ และเพื่อความสบายใจ เป็นการสืบทอดประเพณีกันมาอย่างยาวนานด้วย มีเจ้าหน้าที่ อสม.มาตั้งจุดคัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิ ให้ทุกคนล้างมือด้วยแจลแอลกอฮอล์ สวมแมสหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันโควิด19แพร่ระบาด ตามมารตราการของสาธารสุขอย่างเคร่งครัด