สมาคมสมาคมการค้าผู้ผลิตหลังคาเหล็กไทยยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ภาพ/ข่าว:อนันต์ วิจิตรประชา
สมาคมสมาคมการค้าผู้ผลิตหลังคาเหล็กไทยยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
สมาคมการค้าผู้ผลิตหลังคาเหล็กไทย มีวัตถุประสงค์ ในการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการผลิตหลังคาเหล็กไทย สนับสนุนและช่วยเหลือสมาชิก ตลอดจนแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจผลิตหลังคาเหล็ก มีสมาชิกเป็นผู้นำเข้าและผู้ประกอบกิจการโรงงานรีดหลังคาขนาดกลางและขนาดย่อย (SMEs) ประมาณ 1,500 ราย สมาคมฯ ได้รับความเดือดร้อนไม่เป็นธรรมจากการบังคับใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดในลักษณะที่เป็นเครื่องมือทำให้อุตสาหกรรมภายในซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ทำการผูกขาดการขายสินค้าและขัดขวางการแข่งขันด้านราคาอย่างไม่เป็นธรรม สมาชิกของสมาคมฯเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME) ที่ต้องพึ่งการนำเข้าวัตถุดิบราคาถูกจากต่างประเทศ อย่างเช่น เหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อนแล้วทาสี (PPGL) และเหล็กแผ่นรีดเย็นชุบหรือเคลือบด้วยโลหะเจือของอะลูมิเนียมและสังกะสีแบบจุ่มร้อน (GL) ที่มีแหล่งกำเนิดจาก สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลี และสาธารณะรัฐสังคมเวียดนาม
กรมการค้าต่างประเทศได้บังคับใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ตามคำขอของบริษัทต่างชาติที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่เป็นบริษัทเหล็กข้ามชาติยักษ์ใหญ่สัญชาติออสเตรเลีย ถือหุ้นร้อยละ 100 และเป็นผู้ผลิตสินค้าเกินกว่าครึ่งของกำลังการผลิตทั้งหมดในประเทศไทย มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ปี 2554 ต่อเนื่องถึงปี 2569 เป็นระยะเวลากว่า 15 ปี อันก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม ดังนี้
1. ซ้ำเติมความเดือดร้อนเสียหายของ SME และผู้บริโภค จากผลกระทบของวิกฤติโควิด-19 และสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ทำให้สินค้าอุปโภคบริโภคทุกอย่าง รวมทั้งราคาน้ำมันแพงขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ ส่งครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ยังทำให้อุปทานเหล็กตึงตัวและมีราคาแพงขึ้น ผู้ประกอบการ SME และ ผู้บริโภค ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่าย และต้นทุนการบริหารจัดการที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่แล้ว แต่กรมการค้าต่างประเทศยังคงเพิกเฉยต่อคำร้องขอของสมาคมฯที่ขอขยายระยะเวลาการจัดเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้า PPGL ที่มีแหล่งกำเนิดจากสาธารณะรัฐประชาชนจีน ในอัตราร้อยละ 0 ต่อไป และได้บังคับให้จัดเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดในอัตราร้อยละ 40.77 ของราคาCIF อันเป็นการซ้ำเติมผู้ประกอบการ SME และผู้บริโภค
2. ก่อให้เกิดการผูกขาดทางการค้า
บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง เป็นบริษัทต่างชาติที่จดทะเบียนในประเทศไทย ไม่ใช่ผู้ประกอบกิจการไทยที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจไทยอย่างแท้จริง ได้ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดปิดกั้นการนำเข้าและลดการแข่งขันภายในประเทศ ก่อให้เกิดการผูกขาดทางการค้า นอกจากนี้ วัตถุดิบ ที่นำมาใช้ผลิตเป็นแผ่นเหล็กรีดเย็นอย่างเช่น HRC ที่ บริษัทรายใหญ่ นำเข้ามาก็ไม่ถูกจัดเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด ทั้งที่ สินค้าดังกล่าว ถูกจัดเก็บ
อากรตอบโต้การทุ่มตลาดในหลายๆประเทศ เนื่องจากรายใหญ่นี้เป็นรายเกียวที่สามารถนำเข้าได้ ซึ่งบริษัมดังกล่างนี้มีบริษัทแม่อยู่ในต่างประเทศ จึงอาศัยช่องว่างดังกล่าวในการนำเข้าวัตถุดิบโดยไม่ถูกจัดเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด ซึ่งได้เปรียบผู้ประกอบการอื่นอยู่แล้ว
อุตสาหกรรมภายในของไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้า PPGL ก็มีเพียง บริษัทเดียวเท่านั้น ที่ผูกขาดทางการค้า นอกจากนี้ ผู้ประกอบการ SME หรือผู้บริโภค ไม่สามารถสั่งซื้อสินค้าจาก บริษัท ดังกล่าว ได้โดยตรง จะต้องซื้อสินค้าผ่านตัวแทนของตนเองเท่านั้น อันเป็นการกระทำที่เข้าข่ายการผูกขาดทางการค้าอย่างแท้จริง
3. สินค้า PPGL ขาดตลาด และมีราคาแพงขึ้น
4. กรมการค้าต่างประเทศเพิกเฉยต่อคำขอข้อมูลข่าวสารของสมาคมฯมาโดยตลอด
ทางสมาคมฯ ได้ร้องขอให้กรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริงที่ใช้ในการพิจารณาไต่สวนการทุ่มตลาดมาโดยตลอด แต่กรมการค้าต่างประเทศไม่เคยให้ข้อมูลตามที่สมาคมร้องขอ ทั้งนี้ ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวที่สมาคมร้องขอนั้น จะเป็นข้อโต้งแย้งที่สำคัญว่าการพิจารณามาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดนั้นเป็นไปอย่างถูกต้อง ยุติธรรม โปร่งใส และมาตรฐานของสินค้าที่ถูกพิจารณากับสินค้าชนิดเดียวกันของอุตสาหกรรมภายในและสินค้าที่ถูกนำเข้านั้นเป็นสินค้า ชนิด ประเภท และมาตรฐานเดียวกันหรือไม่ เพื่อบ่งบอกว่าแล้วให้เกิดความโปร่งใสในการพิจารณามูลค่าปกติของสินค้า แต่กรมการค้าต่างประเทศอ้างว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลความลับไม่สามารถเปิดเผยได้ สุดท้ายแล้วผู้บริโภค คือประชาชนทั่วไปจะต้องเป็นผู้แบกรับภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าว และก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจตามมาอีกมากมาย ทางสมาคมการค้าผู้ผลิตหลังคาเหล็กไทย จึง ขอร้องเรียนต่อ ฯพณฯ ท่าน จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ โดยมีนายบุณยธีร์ พานิชประไพ มารับหนังสือร้องเรียนแทน ฯพณฯ ท่าน จุรินทร์ฯ ดังนี้
– ขอให้ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดจะต้องเป็นบริษัทสัญชาติไทยหรือเป็นอุตสาหกรรมภายในของไทยอย่างแท้จริง
– พิจารณาไต่สวนการทุ่มตลาดต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและประโยชน์ของผู้บริโภค อย่างเป็นรูปธรรม
– ทวบทวนการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้า PPGL จากจีน เกาหลี และทบทวนการไต่สวนการต่ออายุมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้า GL GI PPGL PPGI จากเวียดนาม
– ประกาศให้เก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้า PPGL จากจีน เกาหลี ในอัตราร้อยละ 0 ของราคาซีไอเอฟ ในระหว่างการทบทวนมาตรการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่เกิดขึ้น
– ยกเลิกไม่ให้บริษัทต่างชาติที่จดทะเบียนในไทยอ้างว่าเป็นอุตสาหกรรมภายในยื่นคำร้องขอให้ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด
– ยกเลิกมาตรการตอบโต้การตอบโต้การทุ่มตลาดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภคและระบบเศรษฐกิจ