อุตรดิตถ์-ประชุมรับฟังความคิดเห็นพัฒนาโครงการ (ประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 1)

อุตรดิตถ์-ประชุมรับฟังความคิดเห็นพัฒนาโครงการ (ประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 1)

ภาพ/ข่าว:พูลชัย ราชประสิทธิ์ น.ส.พัทธนันท์ ราชประสิทธิ์ นายจักรพรรณ จันทร์แฉ่ง ทีมข่าว นสพ.อินทรีสยามออนไลน์ จ.อุตรดิตถ์

          ประชุมรับฟังความคิดเห็นพัฒนาโครงการ (ประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 1)โครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ สายทางเลี่ยงเมืองอุตรดิตถ์ จ.อุตรดิตถ์

             เมื่อวันอังคารที่ 7 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ อ.ดร.อภิชน วัชเรนทร์วงศ์ ผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม ผู้แทนกรมทางหลวงพร้อมคณะฯได้กล่าวรายงานให้ นายชวลิต คำเพ็ง รองนายกเทศมนตรีตำบลทุ่งยั้ง ประธานในการประชุมฯทราบถึงวัตถุประสงค์ของการจัดการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 1 จังหวัดอุตรดิตถ์มีเส้นทางคมนาคมทั้งทางถนนและทางรถไฟตัดผ่านทางหลวงสายสำคัญคือ หมายเลข 11, 117, 102 และ 1045 ซึ่งเป็นโครงข่ายทางหลวงที่รองรับการคมนาคมขนส่งทั้งภายในพื้นที่ แถมเป็นเส้นทางเชื่อมไปยังจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ ติดต่อกับ สปป.ลาว ปัจจุบันมีปริมาณการจราจรสูงและมีรถบรรทุกจำนวนมาก ประกอบกับไม่มีถนนเลี่ยงเมืองส่งผลให้เกิดปัญหาความล่าข้าในการเดินทาง การจราจรติดขัด เสี่ยงต่ออุบัติเหตุและความไม่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน

             จึงจำเป็นต้องมีทางเสี่ยงเมืองในลักษณะเป็นถนนวงแหวนรอบเมืองอุตรดิตถ์เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ ดังนั้น กรมทางหลวงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาประกอบด้วย บริษัท ที่ม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์จำกัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจวิศวกรรม ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น โครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ สายทางเลี่ยงเมืองอุตรดิตถ์
การพัฒนาโครงการอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่โครงการโดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการพัฒนาโครงการ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการชี้แจงและร่วมหารือเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาโครงการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินโครงการกรมทางหลวงได้เล็งเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่โครงการ จึงได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อรูปแบบการพัฒนาโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดรูปแบบพัฒนา เช่น แนวทางเลือกเส้นทาง เกณฑ์การประเมินทางเลือกที่เหมาะสมต่อไป

 

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!