เชียงใหม่-รอบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกว่าสองแสนไร่ หลังระยะห้ามเผา

เชียงใหม่-รอบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกว่าสองแสนไร่ หลังระยะห้ามเผา

ภาพ/ข่าว:ธนวันต์ ชุมแสง

     จังหวัดเชียงใหม่วางมาตรการควบคุมการเผาพื้นที่เกษตรที่รอบริหารจัดการเกือบสองแสนไร่ หลังระยะห้ามเผา เริ่ม 1 พฤษภาคม 2563 ขณะที่แนวโน้มสภาพอากาศดีขึ้น

ในการประชุมกองบัญชาการควบคุมไฟป่าหมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า ถ้าระบบเทเลคอนเฟอเรนซ์ในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ จัดขึ้นที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มีนายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นหัวหน้าคณะ ทั้งนี้ข้อมูลจาก Jisda 5 วันย้อนหลัง 9 จังหวัดภาคเหนือ จุด Hotspot ลดลงอย่างต่อเนื่อง หมอกควันลดลง ท้องฟ้าเริ่มโปร่งขึ้น Hotspot สะสมน้อยกว่าปีที่แล้วทุกจังหวัด ยกเว้น จังหวัด เชียงใหม่และตาก ซึ่งมากกว่าปีที่แล้ว ขณะที่ยอดสะสมรวมน้อยกว่าปีที่แล้ว
       ศูนย์อุตุนิมวิทยาภาคเหนือ รายงานสภาพอากาศระหว่างวันที่ 24-26 เมษายน 2563 มีลมปานกลางถึงแรง อากาศดีต่อเนื่องทั้งสัปดาห์ กรมควบคุมมลพิษรายงาน ปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 เทียบระยะ 2 ปี มากกว่าปีที่ผ่านมาถ้ามีได้มีการดำเนินมาตรการ 4 มาตรการ เชิงพื้นที่ 5 มาตรการ บริหารจัดการแบบ Single Command โดย ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งดีขึ้นต่อเนื่อง โดยมีข้อห่วงใยเมื่อพ้นระยะเวลาห้ามเผา 30 เมษายน 2563 จะเกิดการระดมเผาดังนั้นจึงต้องกำหนดช่วงเวลาเผาโดยควบคุมพื้นที่ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดควบคุมพื้นที่ป่าพื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะพื้นที่ป่าสงวนห้ามเผาโดยเด็ดขาด ส่วนพื้นที่อื่นต้องประสานฝ่ายปกครอง ก่อนเผาขณะที่การฟื้นฟูพื้นที่เสียหายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักดูแล สำรวจพื้นที่และฟื้นฟูพื้นที่เสียหาย เสริมแหล่งน้ำ และฟื้นฟูตามศาสตร์พระราชา
        ในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่นั้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเกิดจุด Hotspot กว่า 2 หมื่นจุด ร้อยละ 95 เกิดในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ พื้นที่ที่เกิดมากที่สุด 3 อำเภอคืออำเภอเชียงดาว แม่แจ่มและฮอด โดยปีนี้มีการดำเนินคดีผู้บุกรุกเผาป่ากว่าพันรายและจับกุมได้ 48 ราย จังหวัดเชียงใหม่วางมาตรการป้องกันการเผา โดยเน้นไม่ให้เผาเพียงอย่างเดียวและเน้นการทำปุ๋ยหมักมีการวางแผนจัดการการเผา 3 ระยะคือ 1-15 พฤษภาคมในพื้นที่ 9 ประกอบด้วยอำเภอแม่แจ่ม อำเภอกัลยาณิวัฒนา อำเภอสะเมิง อำเภอแม่ริม อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอดอยหล่อ อำเภอแม่วาง อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด อำเภออมก๋อย อำเภอแม่อาย อำเภอฝาง อ.เชียงดาว อ.เวียงแหง หลังจากนั้น 15 ถึง 30 พฤษภาคม 5 อำเภอ ประกอบด้วยอำเภอหางดงอำเภอสันป่าตองอำเภอดอยเต่าอำเภอไชยปราการอำเภอแม่แตงอำเภอพร้าว โดยมี 5 อำเภอที่ไม่เผาประกอบด้วยอำเภอเมือง อำเภอสันทราย อำเภอสารภี อำเภอสันกำแพงและอำเภอแม่ออนซึ่งทั้ง 5 อำเภอนี้จะใช้วิธีทำปุ๋ยหมักแทน ระหว่าง 1 มกราคมถึง 23 เมษายน 2563 พบ 5 อำเภอ ที่มีจุด Hotspot มากที่สุดประกอบด้วยอำเภอเชียงดาว อ.อมก๋อย อ.แม่แจ่ม อ.ฮอด และ อ.พร้าว ตามลำดับ โดย เกิดขึ้นในพื้นที่ป่ามากที่สุดรองลงมาคือพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่จะออกมาตรการควบคุมพื้นที่เผา โดยกำนัน ผู้ใหญ่บ้านต้องประสานไปยังฝ่ายปกครอง โดยมีนายอำเภอเป็นผู้กำหนดพื้นที่เผา
        สถิติ ออก 1 มกราคมถึง เมษายน 2563 จังหวัดเชียงใหม่มีจุด Hot Spot 21,035 จุด เป็นพื้นที่ป่าสงวน 8,804 จุด ป่าอนุรักษ์ 11,201 จุด ขณะที่มีพื้นที่รอการเผาต้องบริหารจัดการ 174,946 ไร่ ปฏิบัติการที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ 4 คนเสียชีวิต 3 คน

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!