อุทัยธานี-ทำบุญตักบาตรทางน้ำรับรุ่งอรุณวันเข้าพรรษา
อุทัยธานี-ทำบุญตักบาตรทางน้ำรับรุ่งอรุณวันเข้าพรรษา
ภาพ/ข่าว:วราภรณ์ จันทรังษ์
บรรยากาศนักท่องเที่ยวและพุทธศาสนิกชนชาวอุทัยธานี ร่วมกันทำบุญตักบาตรทางน้ำในแม่น้ำสะแกกรัง รับรุ่งอรุณวันเขาพรรษากันอย่างอิ่มบุญและชื่นมื่น ก่อนที่นักท่องเที่ยวจะได้เที่ยวเดินชมมนต์เสน่ห์ตลาดเช้าริมน้ำ พร้อมล่องเรือสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนชาวแพอย่างประทับใจ
ที่จังหวัดอุทัยธานี วันนี้ (2 ส.ค. ) ยังคงเป็นวันหยุดยาวต่อเนื่องมาตั้งแต่วันเฉลิมพระชนพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจนถึงในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนจังหวัดอุทัยธานีและพักค้างคืนในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี จนโรงแรม รีสอร์ท และโฮมสเตย์ ถูกจองเต็มไปหมดเกือบทุกแห่ง และมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากตื่นกันมาตั้งแต่เช้าตรู่มาที่ริมแม่น้ำสะแกกรัง ( ลานสะแกกรัง ) บริเวณตลาดสดเทศบาลเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี บรรยากาศในเช้าวันนี้ซึ่งตรงกับเข้าพรรษา มีนักท่องเที่ยวดังกล่าวที่เดินทางมาท่องเที่ยวได้ใช้โอกาสวันเข้าพรรษา ในเช้าวันนี้ไปที่บริเวณที่บริเวณแพท่าน้ำ ริมแม่น้ำสะแกกรัง ฝั่งตรงข้ามวัดอุโปสถาราม หรือวัดโบสถ์ โบราณสถานและสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดอุทัยธานี เพื่อทำบุญตักบาตรอาหารคราวหวานแด่พระภิกษุสงฆ์ที่พายเรือจากวัดอุโปสถารามข้ามฝั่งมาที่แพท่าน้ำ เพื่อรับบินทบาตรจากพุทธศาสนิกชน และนักท่องเที่ยว ได้ทำบุญตักบาตรอาหารคราวหวาน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเพื่อความเป็นสิริมงคลในวันเข้าพรรษากันอย่างอิ่มบุญและชื่นมื่น
โดยแพท่าน้ำริมแม่น้ำสะแกกรังแห่งนี้ เทศบาลเมืองอุทัยธานี ได้จัดให้เป็นสถานที่ทำบุญตักบาตรทางน้ำ รองรับนักท่องเที่ยวและประชาชน พุทธศาสนิกชนชาวอุทัยธานี โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนเมืองอุทัยธานี แล้วได้มีโอกาสทำบุญตักบาตรเพื่อความเป็นสิริมงคลร่วมกับชาวอุทัยธานี โดยจะสามารถทำบุญตักบาตรทางน้ำได้ในเช้ารับรุ่งอรุณ ในเวลา 07.00 น. ของทุกวัน หลังทำบุญตักบาตรทางน้ำกันแล้ว นักท่องเที่ยวจะเดินท่องเที่ยวชมมนต์เสน่ห์ตลาดเช้าริมแม่น้ำสะแกกรัง ที่พ่อค้า แม่ค้า นำพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษหลากหลายชนิด และปลาชนิดต่าง ๆ ที่หาจับมาได้จากแม่น้ำสะแกกรังที่ชาวบ้านมาวางนั่งขายกับพื้นตามวิถีดั้งเดิม พร้อมร่องเรือสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนชาวเรือนแพในแม่น้ำสะแกกรังกันอย่างประทับใจ ซึ่งจะเห็นได้ว่าวิถีชีวิตของชาวชุมชนชาวแพยังคงอัตลักษณ์กันเช่นเดิมและมีชาวชุมชาวแพที่พักอาศัยในเรือนแพกว่า 200 หลัง และเป็นแห่งสุดท้ายของประเทศไทย อีกด้วย