นครสวรรค์-นายก อบจ.ให้สัมภาษณ์ นิสิต ป.โท การบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านปางสัก-เน้นย้ำ ป่าไม้ดีสังคมดี

นครสวรรค์-นายก อบจ.ให้สัมภาษณ์ นิสิต ป.โท การบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านปางสัก-เน้นย้ำ ป่าไม้ดีสังคมดี

นครสวรรค์-นายก อบจ.ให้สัมภาษณ์ นิสิต ป.โท การบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านปางสัก-เน้นย้ำ ป่าไม้ดีสังคมดี

ภาพ/ข่าว:ชาติชาย  เกียรติพิริยะ

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 2 พฤษภาคม 2566 ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ ให้สัมภาษณ์ นางสาวสามินี สุขสุเมฆ นิสิตระดับปริญญาโท สาขาการบริหารทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ในโอกาสเข้าสัมภาษณ์ในหัวข้อศึกษา เรื่อง “การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านปางสัก” ตำบลแม่เปีน อำเภอแม่เปืน จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำวิทยานิพนธ์
               การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านปางสัก ต.แม่เปิน อ.แม่เปิน จ.นครสวรรค์ รวมทั้ง สภาพทางด้านประชากร เศรษฐกิจ สังคม และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านปางสัก ที่ส่งผลต่อระดับการมีส่วนร่วม รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการป่าชุมชน และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาศักยภาพป่าชุมชนบ้านปางสัก หมู่ที่ 12 ต.แม่เปิน อ.แม่เปิน จ.นครสวรรค์
               โดยป่าชุมชนดังกล่าว เป็นป่าชุมชนที่ได้รับรางวัลคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน รางวัลรองชนะเลิศระดับประเทศ ปี พ.ศ.2563 และยังเป็นป่าในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่วงก์-แม่เปิน และมีพื้นที่ติดต่อกับเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ต้องมีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสามารถนำผลการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการกำหนดนโยบายด้านการจัดการป่าชุมชนในอนาคต และพัฒนาศักยภาพของป่าชุมชนอื่นๆ ต่อไป
              ซึ่ง นายก อบจ.นครสวรรค์ ได้ให้สัมภาษณ์ในหลายประเด็น ตั้งแต่ประวัติความเป็นมาของ อ.ลาดยาว ก่อนจะแบ่งออกเป็น อ.ชุมตาบง อ.แม่วงก์ อ.แม่เปิน สภาพทางด้านภูมิประเทศ ประชากร เศรษฐกิจ สังคม และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านปางสัก (ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรสัตว์ป่าและพันธุ์พืช) การจัดการไฟป่า สัตว์ป่าข้ามพรมแดน วิธีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านป่าชุมชนในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ ให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน รวมถึงการบูรณาการ แผนงานและความเกี่ยวข้องกับพื้นที่ป่าชุมชนทุกพื้นที่ของ จ.นครสวรรค์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป

CATEGORIES
TAGS
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!