เพชรบุรี-นายชัยวัฒน์ฟ้องนายกรัฐมนตรี กรณีให้กลุ่มชาติพันธุ์กลับไปทำไร่หมุนเวียน ในป่ามรดกโลก
เพชรบุรี-นายชัยวัฒน์ฟ้องนายกรัฐมนตรี กรณีให้กลุ่มชาติพันธุ์กลับไปทำไร่หมุนเวียน ในป่ามรดกโลก
ภาพ/ข่าว:สุรพล นาคนคร
จากกรณี นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 26/2565 แต่งตั้งคณะกรรมการให้แก้ไขดำเนินการให้ชาวกะเหรี่ยงบางกลอย หมู่ 1 ต.ห้วยแม่เพรียง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี จำนวน 150 คนกลับไปในพื้นที่กลางป่าลึกในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มรดกโลกได้ ทำให้เกิดเสียงวิพาก์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ส่วนใหญ่ไม่พอใจในคำสั่งดังกล่าว
ล่าสุดวันนี้ 9 พฤษภาคม 2566 นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนัก สำนักอุทยานแห่งชาติ เดินทางไปยื่นหนังสือ ร้องเรียน นายกรัฐมนตรี (ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ที่ได้ลงนามเห็นชอบให้คณะกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง และแก้ไขปัญหาชุมชนกระเหรี่ยงบางกลอย จ เพชรบุรี ร่วม2ประเด็นคือ 1.ให้เยียวยากลุ่มราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการโยกย้ายชุมชน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ 2.ให้กลุ่มชาติพันธุ์ 150 คน ที่เรียกร้องที่ทำกิน กลับไปดำรงชีวิตด้วยระบบเกษตรไร่หมุนเวียนในพื้นที่บางกลอยบน โดยดำเนินการผ่านการจัดทำโครงการศึกษาเชิงทดลองแบบมีส่วนร่วม
การกระทำดังกล่าวนี้ ถือว่า มิชอบด้วยกฎหมาย และ รัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง ปี 2560 – ม 45 “ ห้ามมิให้พรรคการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองกระทำการหรือสงเสริม สนับสนุนให้ผู้ใดกระทำการเป็นการก่อกวน หรือ คุกคามความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ กระทำการอันเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ “ -ขัดต่อ ยุทธศาสตร์ชาติ / แผนปฏิรูปประเทศ / แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 13 / นโยบายป่าไม้แห่งชาติ ให้ประเทศไทย ต้องมีพื้นที่ป่า อย่างน้อย ร้อยละ 40 -ขัดคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ว่า “ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นที่ยุติว่า ผู้ฟ้องทั้งหก(ปูคออี้ กับพวก ฟ้องขอกลับไปอยู่/ทำกินที่ใจแผ่นดินและบางกลอยบน) ขอกลับไปทำกินซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ปี 2524 โดยผู้ฟ้องทั้งหก ไม่มีหนังสืออนุญาตจากทางราชการให้ครอบครองมำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการยึดถือครอบครองที่ดินภายในอุทยานแห่งชาติ ฝ่าฝืนบทบัญญัติ ม 16(1) พรบ. อุทยานแห่งชาติ 2504 ผู้ฟ้องคดีทั้งหก จึงไม่อาจอ้างความชอบธรรมหรือสิทธิเรียกร้องใดๆ ในอันที่จะเข้ายึดถือ ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดจนแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติได้แต่อย่างใด “ “ คำอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งหก ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น “ (จากคำพิพากษา คดีดำที่ อส.77/ 2559 คดีแดงที่ อส.4/2561 ศาลปกครองสูงสุด ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 ผู้ฟ้องคดี ทั้งหกผู้ถูกฟ้องคดี กรมอุทยานแห่งชาติฯ และ กระทรวงทรัพย์ฯ เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของ จนท ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย(อุทธรณ์คำพิพากษา) ) – เข้าประเด็นเรื่องการหาเสียง ผิดกฏหมาย กกต.อย่างชัดเจน
ดังนั้น ในกรณีที่ นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ได้ร้องเรียน ไปยัง – ปปช. –กกต. เพื่อเป็นบรรทัดฐานที่หน่วยงานของรัฐ หรือ ข้าราชการการเมือง ได้พิจารณาโครงการต่างๆ ที่ทำให้ขัดต่อ รัฐธรรมนูญ กฏหมายอื่นๆ และขัดต่อคำพิพากษาศาล ควรพิจารณาให้รอบคอบ ในการนี้ ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณา ให้แก้ไขโดยเร็ว ถ้าไม่มีการแก้ไข หรือละเลยละเว้น ปล่อยให้ผ่านไป โดยไม่สนใจในข้อร้องเรียน จะถือได้ว่า นายกรัฐมนตรีตั้งใจที่จะเป็นไปตามข้อกล่าวหา ดังกล่าว ในนามผู้พิทักษ์ป่าไม่อยากยุ่งเกี่ยวข้องกับการเมือง หรือ เป็นเหยื่อการเมืองในช่วงหาเสียงในขณะนี้ แต่จำเป็นต่อป่าไม้ สัตว์ป่า จากความเห็นชอบ ของท่านนายกรัฐมนตรี และ ส่งผลให้กลุ่มชาติพันธุ์ ทางภาคเหนือ กำลังเรียกร้องในลักษณะเดียวกันอีก และ เกิดขึ้นต่อจากคำสั่งนี้ อีกมากมาย ที่สำคัญ ! การที่มีความเข้าใจในทางที่ผิด กลุ่มคนต่างๆ ขึ้นไป บุกรุกยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ ทำให้เกิดความเสียหาย และกระจายเป็นวงกว้าง วันนั้น ใครจะรับผิดชอบ ? และ ต้องใช้เวลา ฟื้นฟู ใครจะมาฟื้นฟูป่าให้กลับมาสู่สภาพเดิมได้ “ เพราะป่าปลูกไม่ได้ในวันเดียว “