อุบลราชธานี-เลือกตั้งอุบลฯ ม้ามืด ! ล้มช้าง 2 เขต พท.ไม่แลนด์สไลด์ ภท.ปักธงสำเร็จ

อุบลราชธานี-เลือกตั้งอุบลฯ ม้ามืด ! ล้มช้าง 2 เขต พท.ไม่แลนด์สไลด์ ภท.ปักธงสำเร็จ

อุบลราชธานี-เลือกตั้งอุบลฯ ม้ามืด ! ล้มช้าง 2 เขต พท.ไม่แลนด์สไลด์ ภท.ปักธงสำเร็จ

ภาพ/ข่าว:ศูนย์ข่าวเฉพาะกิจจังหวัดอุบลราชธานี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่จังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ 14 พ.ค.66 ปรากฏว่า เหตุการณ์ต่างๆผ่านไปด้วยดี และหลังจากมีการนับคะแนนและประกาศผลอย่างไม่เป็นทางการ ได้มีปรากฏการณ์ ม้ามืดล้มช้างขึ้นใน 2 เขตเลือกตั้ง ได้แก่เขตเลือกตั้งที่ 3 และ เขตเลือกตั้งที่ 10 โดยในเขตเลือกตั้งที่ 3 อ.ม่วงสามสิบ อ.เหล่าเสือโก้ก อ.ดอนมดแดง อ.ตาลสุม นางพิมพกาญจน์ พลสมัคร อดีตประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ผู้สมัครหน้าใหม่ป้ายแดง พรรคเพื่อไทรวมพลัง สามารถล้มช้างเอาชนะ นายชูวิทย์ (กุ่ย) พิทักษ์พรพัลลภ อดีตส.ส.9สมัย พรรคเพื่อไทย ไปได้ และที่เขตเลือกตั้งที่ 10 ม้านอกสายตาอย่าง นายสมศักดิ์ บุญประชุม ผู้สมัครหน้าใหม่ป้ายแดง นักธุรกิจชาวอำเภอน้ำยืน พรรคเพื่อไทรวมพลัง สามารถล้มช้างเอาชนะส.ส.หลายสมัย อย่างนายสมคิด เชื้อคง พรรคเพื่อไทย ไปด้วยคะแนนแบบขาดลอย
           จากชัยชนะของผู้สมัครที่ถูกมองว่าเป็นม้ามืดม้านอกสายตาในครั้งนี้ เป็นที่ฮือฮายิ่งนัก เมื่อทั้งประเทศพรรคเพื่อไทรวมพลังได้รับเลือกตั้งเพียง2คนและเป็นชาวอุบลฯ ด้วยกันทั้งคู่ อีกทั้งยังเป็นพรรคการเมืองน้องใหม่และเป็นพรรคขนาดเล็กอีกด้วย หลายฝ่ายเชื่อกันว่า สาเหตุที่ทั้งสองคนชนะการเลือกตั้ง ล้มช้างในครั้งนี้ เนื่องจากได้ช่วยเหลือประชาชนในช่วงโควิด-19 ระบาดหนัก และช่วยเหลือในโอกาสอื่นๆทำให้ประชาชนต่างนึกถึงความดี จึงพากันเทคะแนนให้ จนทั้งคู่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในครั้งนี้
          สำหรับการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ จ.อุบลราชธานี แบบแบ่งเขต ทั้ง 11 เขต มี ผลการนับคะแนนและจำนวนส.ส.อย่างไม่เป็นทางการ ดังนี้ พรรคเพื่อไทย ได้ 4 ที่นั่ง ภูมิใจไทย ได้ 3 ที่นั่ง เพื่อไทยรวมพลัง ได้ 2 ที่นั่ง ส่วนประชาธิปัตย์และไทยสร้างไทย ได้ พรรคละ 1 ที่นั่ง โดยผู้ที่มีคะแนนนำเป็นอันดับ 1 ของแต่ละเขต มีดังนี้ เขตเลือกตั้งที่ 1 นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ พรรคเพื่อไทย เขตเลือกตั้งที่ 2 นายวุฒิพงษ์ นามบุตร พรรคประชาธิปัตย์ เขตเลือกตั้งที่ 3 นางพิมพกาญจน์ พลสมัคร พรรคเพื่อไทรวมพลัง เขตเลือกตั้งที่ 4 นางสาวกิตติ์ธัญญา วาจาดี พรรคเพื่อไทย เขตเลือกตั้งที่ 5 นายสุทธิชัย จรูญเนตร พรรคภูมิใจไทย  เขตเลือกตั้งที่ 6 นายสาวธัญญารีย์ สันตพันธ์ พรรคเพื่อไทย เขตเลือกตั้งที่ 7 นางสาวสุดารัตน์ พิทักษ์พรพัลลภ พรรคเพื่อไทย เขตเลือกตั้งที่ 8 นางสาวแนน บุญย์ธิดา สมชัย พรรคภูมิใจไทย เขตเลือกตั้งที่ 9 นางรำพูล ตันติวณิชชานนท์ พรรคไทยสร้างไทย เขตเลือกตั้งที่ 10 นายสมศักดิ์ บุญประชุม พรรคเพื่อไทรวมพลัง เขตเลือกตั้งที่ 11 นางสาวตวงทิพย์ จินตะเวช เพื่อภูมิใจไทย
          ส่วนการนับคะแนน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคที่มีคะแนนเป็นอันดับ 1 ทั้ง 11 เขตเลือกตั้ง ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 1 พรรค เพื่อไทย เขตเลือกตั้งที่ 2 พรรค ประชาธิปัตย์ เขตเลือกตั้งที่ 3 พรรค เพื่อไทยรวมพลัง เขตเลือกตั้งที่ 4 พรรค เพื่อไทย เขตเลือกตั้งที่ 5 พรรค ภูมิใจไทย เขตเลือกตั้งที่ 6 พรรค เพื่อไทย เขตเลือกตั้งที่ 7 พรรค เพื่อไทย เขตเลือกตั้งที่ 8 พรรค ภูมิใจไทยเขตเลือกตั้งที่ 9 พรรค ไทยสร้างไทย เขตเลือกตั้งที่ 10 พรรค เพื่อไทรวมพลัง เขตเลือกตั้งที่ 11 พรรค ภูมิใจไทย

CATEGORIES
TAGS
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!