พระนครศรีอยุธยา-วัดตะโกจัดพิธีกวนข้าวทิพย์ สืบสานมรดกภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย

พระนครศรีอยุธยา-วัดตะโกจัดพิธีกวนข้าวทิพย์ สืบสานมรดกภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย

พระนครศรีอยุธยา-วัดตะโกจัดพิธีกวนข้าวทิพย์ สืบสานมรดกภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย

ภาพ /ข่าว: นราเอก ตันศิริ : นพดล บำเพ็ญสัตย์

เมื่อเวลา 12.09 น.วันที่ 2 มิถุนายน 2566 ที่วัดตะโก ต.ดอนหญ้านาง อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา พระครูปลัดสุวัฒนเถรคุณ รองเจ้าคณะอำเภอภาชี เจ้าอาวาสวัดตะโก เป็นองค์ประธานสงฆ์ ในพิธีพิธีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาส เนื่องในวันวิสาขบูชา ปี 2566 โดยมี นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมด้วย นางวัชราภรณ์ รุ่งสาคร นายกเหล่ากาชาดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายบุญเชิด กิตติธรางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นางสาวอภิสรา เกษอินทร์ นายอำเภอภาชี หัวหน้าส่วนราชการอำเภอภาชี ครู นักเรียน และประชาชน เข้าร่วมพิธี
            ประเพณีการกวนข้าวทิพย์ เป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ที่ปะปนกับพิธีกรรมของศาสนาพุทธ โดยอ้างถึงเหตุการณ์ในสมัยพุทธกาลที่นางสุชาดาได้ปรุงข้าวมธุปายาสถวายพระโคตมพุทธเจ้าก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้ ถือกันว่าข้าวมธุปายาสเป็นของทิพย์ เมื่อได้จัดทำขึ้นจึงเรียกว่า ข้าวทิพย์ โดยนางสุชาดาได้กวนข้าวทิพย์ในวันขึ้น 14 ค่ำ แล้วนำไปถวายพระโคตมพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้ 1 วัน ในประเทศไทย ประเพณีกวนข้าวทิพย์เป็นพระราชพิธีที่กระทำกันในเดือนสิบ มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา และได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ถูกยกเลิกไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา ปัจจุบันนิยมทำกันในทุกภาคของประเทศไทย โดยในภาคกลางนิยมจัดทำกันในวันวิสาขบูชาถือเป็นมรดกภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
           พิธีกวนข้าวทิพย์จะมีการจัดเตรียมวัสดุต่างๆ ได้แก่ พืชตระกูลถั่วทุกชนิด ข้าวฟ่าง ลูกเดือย เม็ดบัว งาขาว งาดํา ข้าวตอก ข้าวเม่า นมสด นมข้น น้ำตาล น้ำอ้อย น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลปีบ น้ำผึ้ง และผล ไม้ต่าง ๆ ใส่รวมกันลงไป แล้วกวนให้สุกจนเหนียว การกวนข้าวทิพย์ จะต้องใช้ สาวพรหมจารี แต่งกาย คล้ายนางฟ้า จํานวน 9 คน ช่วยกันกวนกระทะละ 3 คน กวนไปเรื่อย ๆ เป็นพิธีสักพักหนึ่ง ก็เป็น เหล่าทายก ทายิกา ก็ช่วยกันกวนข้าวทิพย์จนได้ที่ตามเหมาะสม แล้วนําข้าวทิพย์ที่ได้จากการกวนตักใส่ไว้ ในถาดเพื่อเตรียมไว้สําหรับถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ภายในวัด และจัดแบ่งไปถวายตามวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ที่เหลือจะแจกจ่ายให้ประชาชนที่มาทําบุญด้วย

CATEGORIES
TAGS
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!