ร้อยเอ็ด-วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด ลงนาม MOU การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรทวิศึกษา

ร้อยเอ็ด-วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด ลงนาม MOU การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรทวิศึกษา

ร้อยเอ็ด-วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด ลงนาม MOU การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรทวิศึกษา

ภาพ/ข่าว:คมกฤช พวงศรีเคน
วันที่ 19 มิถุนายน 2566 เวลา 09.30 น. นายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานในพิธีเปิดและร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกความร่วมมือ โครงการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) แนวใหม่ ระหว่าง วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด กับโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี และโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ณ ห้องประชุมสาเกต วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด โดยมี ผู้อำนวยการสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด คณะผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู และตัวแทนนักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมกิจกรรม

          นายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นรูปแบบใหม่ที่สามารถเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้ผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในการศึกษาทางด้านวิชาชีพ เพิ่มทักษะและความรู้ความสามารถต่างๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการประกอบอาชีพ รวมถึงเพิ่มโอกาสในการมีงานทำมากกว่าการมีวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) เพียงอย่างเดียว ดังนั้นโครงการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ที่จัดขึ้นในครั้งนี้จึงมีความสำคัญในด้านของการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนในสถานศึกษาสายสามัญได้เข้าสู่ระบบการศึกษาอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานเพื่อการประกอบอาชีพในสาขาอาชีพต่างๆ และจะสามารถขยายการศึกษาวิชาชีพสู่กลุ่มเป้าหมายเข้าสู่ระบบได้อย่างชัดเจน ทั่วถึงและรวดเร็วขึ้น รวมถึงสามารถศึกษาควบคู่กันไปทั้งประเภทสามัญศึกษาและประเภทอาชีวศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาผู้เรียนจะได้รับวุฒิการศึกษาทั้งหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทำให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญมีโอกาสได้เลือกแนวทางการศึกษาด้านวิชาชีพ เพื่อประกอบอาชีพของตนเองตามความถนัด ตามความสนใจ เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว สร้างเศรษฐกิจของประเทศชาติให้มีเจริญก้าวหน้าในอนาคต นับว่าเป็นความร่วมมือที่ดีที่จะทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน และกำลังคนของประเทศให้มีพื้นฐานความรู้ ความสามารถในวิชาชีพด้วยกลไกความร่วมมือส่งเสริมและสนับสนุนซึ่งกันและกันของทั้งสามหน่วยงาน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างมีคุณภาพ เป็นวิธีการสร้างความเข้มแข็งในด้านความร่วมมืออย่างยั่งยืน ซึ่งมีรูปแบบสอดคล้องกับสถานการณ์การเรียนรู้ในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

CATEGORIES
TAGS
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!