ประชุมกลุ่มนักธุรกิจ ไทย-ต่างชาติ ร่วมลงทุนธุรกิจเชื่อมต่อ EEC ในภูมิภาคเอเชีย

ประชุมกลุ่มนักธุรกิจ ไทย-ต่างชาติ ร่วมลงทุนธุรกิจเชื่อมต่อ EEC ในภูมิภาคเอเชีย

ภาพ/ข่าว:นิราช/นันทพล ทิพย์ศรี 

            สสปน.รับหอการค้าร่วมต่างประเทศในไทยจัดเวที EEC ต้อนรับนักลงทุนต่างประเทศ แจงศักยภาพเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล-และสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา

             วันที่ 15 ต.ค.64 ที่โรงแรมเรเนซองส์ พัทยา รีสอร์ทแอนด์สปา จ.ชลบุรี นายวุฒิศักดิ์ เริ่มกิจการ รองนายกเมืองพัทยา นายรัตนชัย สุทธิเดชานัย ผู้แทนภาคกลาง-ตะวันออก สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. พร้อมกลุ่มนักธุรกิจจังหวัดชลบุรี ร่วมให้การต้อนรับคณะกลุ่มธุรกิจชาวต่างชาติ โดย นายสแตนลีน์ คัง ประธานหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. ดร.ลักษณ อรรถาพิช รองเลขาธิการโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EECo) นายฮานส์ วานเดนบอร์น ผู้อำนวยการหอการค้าเนเธอแลนด์-ไทย (NTCC) ได้นำคณะเดินทางเข้าร่วมงาน EEC Business Forum – “Reconnecting International Business with Thai Eastern Economic Corridor” สำหรับงาน EEC Business Forum – “Reconnecting International Business with Thai Eastern Economic Corridor” จัดขึ้นโดย หอการค้าเนเธอร์แลนด์-ไทย (NTCC) ในนามของหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (JFCCT) ด้วยความร่วมมือจากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.), สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.), สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa), จังหวัดชลบุรี ร่วมกันจัดงานสัมมนาขึ้นเป็นระยะเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 14-16 ต.ค.64 ในรูปแบบผสมผสาน ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM

                โดยมีจุดประสงค์ เพื่อสร้างโอกาสในการต่อยอดความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มธุรกิจต่างชาติ และกลุ่มธุรกิจท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี เพื่อสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ ในการทำธุรกิจของทั้งสองกลุ่ม รวมทั้งเพื่อนำเสนอข้อมูลล่าสุดของโครงการสาธารณูปโภคในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ( EEC) แก่นักลงทุนต่างชาติ เช่น เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลประเทศไทย ท่าเรือแหลมฉบัง และสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา
โดยข้อมูลเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลประเทศไทย ตั้งอยู่ในตำบลแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เนื้อที่โดยประมาณ 30 ไร่ ประกอบด้วยอาคารทั้งหมด 5 อาคาร ได้แก่ อาคาร depa Digital One Stop Service, อาคาร Digital Startups and Co-Working Center, อาคาร Digital Innovation and Co-Creation Center, อาคาร Digital Edutainment Complex, และอาคาร Digital Global Connect ตามลำดับ โดยอาคารแรก จะเป็นเป็นพื้นที่ให้บริการอำนวยความสะดวกกับนักลงทุน (One Stop Service : OSS)ในขณะที่อีก 4 อาคารที่เหลือจัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการด้านสาธารณูปโภคทางเทดโนโลยีและด้านนวัตกรรมดิจิตัล เพื่อพัฒนาเครื่องมือไอโอทีและระบบอัจฉริยะสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก เพื่อส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้ด้านดิจิทัลเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการในด้านไอโอที เพื่อพัฒนาทักษะและความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีไอโอที ในธุรกิจและเพื่อให้คำปรึกษารวมทั้งการจับคู่ทางธุรกิจระหว่างภาคเอกชนและสตาร์ทอัพ โดยพื้นที่กว่า 60% ของพื้นที่ทั้งหมด ออกแบบมาเพื่อเป็นพื้นที่ทดสอบเทคโนโลยี 5G, ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมคลาวด์, ห้องปฏิบัติการระบบปัญญาประดิษฐ์ และศูนย์วิเคราะห์ข้อมูล ในส่วนข้อมูลของสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา จะถูกปรับปรุงและขยายเพิ่มเติม เพื่อสร้างรันเวย์แห่งที่ 2, อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 (Terminal 3), ศูนย์ธุรกิจการค้า (Commercial Gateway), ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ (Air Cargo), ธุรกิจซ่อมเครื่องบิน (Maintenance Repair and Overhaul, MRO), กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมอากาศยาน (Free Trade Zone), และศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบิน สนามบิน นานาชาติอู่ตะเภาใหม่นี้ จะเป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 3 ที่จะให้บริการในฐานะศูนย์กลางทางอากาศยานในภูมิภาค เชื่อมต่อ อีอีซีและพื้นที่หลักต่างๆ ในเอเชีย โดยโครงการณ์ คาดว่จะเปิดให้บริการในปี 2567 และจะสามารถรองรับผู้โดยสารสูงสุดได้ถึง 60 ล้านคนต่อปี

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

 

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!