ขอนแก่น – ” บิ๊กยง ” ลุยแก้ คนหลอนยา ภัยสังคม ชูโครงการนาคาพิทักษ์รักษ์ประชา

ขอนแก่น – ” บิ๊กยง ” ลุยแก้ คนหลอนยา ภัยสังคม ชูโครงการนาคาพิทักษ์รักษ์ประชา

ข่าว / ภาพ:พฤตินัย มั่งสวัสดิ์ ผู้สื่อข่าวภูมิภาคประจำจังหวัดอุดรธานี พร้อมทีมตระเวนข่าวภาค 4 ขอนแก่น  

              “ตำรวจ ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้” พล.ต.ท.ยรรยง เวชโอสถ ลุยแก้ทั้งภาค 4 ปัญหา คนบ้า คนหลอน คลุ้มคลั่งจากยาเสพติด กลายเป็นผู้ป่วยจิตเวช ก่อความไม่สงบในชุมชน ไล่ทำร้ายชาวบ้าน

              วันที่ 5 มี.ค.64 ที่ห้องประชุม ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 4 มีการเปิดการฝึกอบรม โครงการ ” นาคาพิทักษ์รักษ์ประชา ” ตามนโยบาย ของ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.มนู เมฆหมอก รอง ผบ.ตร. ในการป้องกันเหตุอาชญากรรมอันเกิดจากผู้ป่วยจิตเวช ที่มีสาเหตุจากการใช้สารเสพติด ตำรวจภูธรภาค 4 ภายใต้การนำของ พล.ต.ท.ยรรยง เวชโอสถ ผบช.ภ.4 พล.ต.ต.วรัตม์ชัย ศรีรัตนวุฑฒิรอง ผบช.ภ. 4 ,พล.ต.ต.สุภากร คำสิงห์นอก รอง ผบช.ภ.4 , พล.ต.ต.สหภูมิ สง่าเมือง รอง ผบช.ภ.4 ,พล.ต.ต.พฤทธิพงษ์ ประยูรศิริ รอง ผบช.ภ 4 ,พล.ต.ต.อรรคพงศ์ พิมลศิริรอง ผบช.ภ.4 ,พล.ต.ต.ณัฐนนท์ ประชุม ผบก.สส.ภ.4              พล.ต.ท.ยรรยง เวชโอสถ ผบช.ภ.4 เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด ที่มีแนวโน้มรุนแรง และมีผู้หลงผิดติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่มีอาการป่วยจากการใช้ยาเสพติดมาเป็นเวลานานหรือจำนวนที่มาก ทำให้เกิดประสาทหลอนถึงขั้นกลายเป็นผู้ป่วยจิตเวช หลอนทำร้ายร่างกายคนใกล้ชิดและคนทั่วไป จึงมีแนวคิดในการบริหารจัดการแบบบูรณาการ กรณีผู้มีอาการทางจิตก่อเหตุ ของตำรวจภูธรภาค 4 ในชื่อ “โครงการนาคาพิทักษ์รักษ์ประชา” ในพื้นที่รับผิดชอบ ตำรวจภูธรภาค 4 ทั้ง 12 จังหวัด ในปัจจุบัน ปัญหาการก่อเหตุของบุคคลผู้ป่วยจิตเวช โดยเฉพาะที่มีสาเหตุจากการใช้สารเสพติด มีความรุนแรง และบ่อยครั้ง ที่เกิดความสูญเสียต่อสุจริตชน และสร้างความหวาดกลัวให้กับสังคมเป็นอย่างมาก              ผบช.ภ.4 กล่าวอีกว่า โครงการนาคาพิทักษ์รักษ์ประชา มีวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บข้อมูลสถานภาพจำนวนผู้ป่วยจิตเวช สำหรับประเมินความเสี่ยงต่อการก่อเหตุนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนแก้ไขปัญหาการก่อเหตุ รวมทั้งบูรณาการ การปฏิบัติกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายท้องถิ่นเมื่อเกิดเหตุ ผู้ป่วยจิตเวชก่อเหตุรุนแรง ฝ่าย เจ้าหน้าที่ มีทักษะและแนวทางการปฏิบัติสามารถระงับเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความปลอดภัย มีขั้นตอนการปฏิบัติทั้งระดับ ตำรวจภูธรภาค 4 ,ตำรวจภูธรจังหวัด และสถานีตำรวจ โดย ตำรวจภูธรภาค 4 วางแผนโครงการ รูปแบบการปฏิบัติส่วนในระดับ ตำรวจภูธรจังหวัด ร่วมหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แสวงหาความร่วมมือเพื่อบรรจุในแผนการพัฒนาท้องถิ่น และในระดับ หัวหน้าสถานีตำรวจ ร่วมหารือแนวทางกับนายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานสาธารณสุข และภาคีเครือข่าย            ผบช.ภ.4 กล่าวต่ออีกว่า หลังจากนั้นจึงทำการแบ่งมอบหน้าที่ แสวงหาความร่วมมือ ประเมินกลุ่มเสี่ยงผู้มีอาการทางจิตแบ่งระดับการเฝ้าระวัง เป็น 3 ระดับ (เฝ้าระวังสูงสุด เฝ้าระวังสูง และเฝ้าระวัง) เมื่อได้ข้อมูลสถานภาพแล้ว จัดทำแผนงาน 1 ทีมผู้พิทักษ์ 1 ผู้ป่วยจิตเวช ทีมผู้พิทักษ์ฯ จะได้ออกพบปะเยี่ยมเยียน และจัดทำ ทำบันทึกความเข้าใจ ( MOU )ระหว่างครอบครัว ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช กับคณะ / ผู้พิทักษ์ เพื่อควบคุม ดูแล ให้การรักษาพยาบาล นอกจากนี้ ยังได้สร้างระบบการเฝ้าตรวจ ติดตาม สถานภาพผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการรุนแรง ป้องกันเพื่อไม่ให้ไปก่อเหตุการความรุนแรงอันจะทำให้ประชาชนทั่วไปไม่ได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งนี้ เมื่อเกิดกรณี ผู้ป่วยจิตเวชฯ ก่อเหตุ ทีมเผชิญเหตุฯ จะมีข้อมูลผู้ก่อเหตุ และมีความพร้อมสามารถใช้ยุทธวิธีเข้าระงับเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความปลอดภัย นำตัวส่งโรงพยาบาลในพื้นที่เพื่อรักษาอาการเบื้องต้น หรือนำตัวส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวช ตามกระบวนการแนวทางของโครงการฯ .พล.ต.ท.ยรรยง ฯ กล่าว

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

 

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!