อุดรธานี – ห้วยคล้าย ห้วยขี้เกีย ห้วยอ่าง ห้วยคำเข สู่การพัฒนา วาล์วปิด-เปิดน้ำอัจฉริยะ

อุดรธานี – ห้วยคล้าย ห้วยขี้เกีย ห้วยอ่าง ห้วยคำเข สู่การพัฒนา วาล์วปิด-เปิดน้ำอัจฉริยะ

ข่าว / ภาพ:พฤตินัย มั่งสวัสดิ์ ผู้สื่อข่าวภูมิภาคประจำจังหวัดอุดรธานี 

           เร่งดำเนินการโครงการนำร่องเกษตรดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี 5 G สำหรับการบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะ ที่ห้วยคล้าย ห้วยคำเข ห้วยอ่าง และห้วยขี้เกีย อุดรธานี

             วันที่ 13 มี.ค.64 ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจากนายฤทธิเดช โคตรสาร ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุดรธานี ว่า จังหวัดอุดรธานี ได้เร่งดำเนินการโครงการนำร่องเกษตรดิจิตัล บริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน อ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุดรธานี กล่าวอีกว่า นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดดรธานี ได้มอบหมายให้ นายจำรัส กังน้อย รอง ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานการการประชุมการเตรียมความพร้อมโครงการนำร่องเกษตรดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี 5G สำหรับการบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะ โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน อ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดอุดรธานี โดยมีนางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, นายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ, คณะผู้บริหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมเตรียมความพร้อม ณ ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) ชั้น 3 อาคาร 1 ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี

             ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุดรธานี กล่าวต่อไปอีกว่า ในการปประชุมครั้งนี้ก็เพื่อนำเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการการใช้น้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรอย่างต่อเนื่องในทุกฤดูกาล และช่วยลดภาระของคณะกรรมการกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการควบคุมการเปิด – ปีดวาล์วน้ำเข้าพื้นที่เกษตร รวมทั้งทำให้กรรมการฯ มีข้อมูลในการจัดสรรน้ำใน 4 เขตพื้นที่ ประกอบด้วย เขตพื้นที่ห้วยคล้าย ห้วยคำเข ห้วยอ่าง และห้วยขี้เกีย ให้สอดคล้องกับชนิดพืชที่ปลูก ได้อย่างทั่วถึง เป็นธรรม ทันสมัย และยั่งยืน ด้วยการประยุกตีใช้เทคโนโลยี 5G มาทำงานร่วมกับระบu IoT Sensor, Machine Learning และ Cloud Computing เพื่อพัฒนาระบบมาตรวัดปริมาตรน้ำแบบดิจิทัล ระบบตรวจจับอัตราการไหลของน้ำ และระบบวาล์วอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพของศูนย์ควบคุมบริหารจัดการน้ำ อันนำไปสู่การเป็นต้นแบบการพัฒนาระบบชลประทานชุมชน และโครงการด้านการเกษตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเป็นระบบ

 

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

 

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!