ปราจีนบุรี – ชาวสวน แผงผลไม้ ยังพอสู้ต่อไหว!! ขายกันในสวน-หน้าสวน – ออนไลน์

ปราจีนบุรี – ชาวสวน แผงผลไม้ ยังพอสู้ต่อไหว!! ขายกันในสวน-หน้าสวน – ออนไลน์

ภาพ/ข่าว:มานิตย์ สนับบุญ

          แม้ไร้ “งานวันชาวสวน” หรือ “งานวันเกษตร” ในยุคโควิด -19 ชาวสวน-แผงผลไม้ ปราจีนฯยังพอสู้ต่อไหว!! … ขายกันในสวน-หน้าสวน – ออนไลน์ … ขณะแม่ค้าตลาดผลไม้หนองชะอมทุกข์ระทม-เงียบเหงา วันปกติ ไร้เงา นทท.! รอแค่วันเสาร์ – อาทิตย์รายได้ทรุดฮวบ! จากขายได้วันละ10,000บาท เหลือไม่ถึง พันบาท พบทุเรียนหมอนทองรุ่นสุดท้ายจากในสวนราคา ยังสูง กก.ละ 200 บาท ขณะ กระท้อนยังขายดี

            วันนี้ 12 มิ.ย.64 ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงาน ช่วงนี้เป็นฤดูกาล ที่ตลาดผลไม้นานาชนิดของจังหวัดปราจีนบุรี … เมืองแห่งคำขวัญที่กล่าวว่า … “ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน … ไผ่ตงหวานคูเมือง … ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวารวดี” … ที่กำลังให้ผลผลิตผลไม้ลือเลื่องออกสู่ท้องตลาดหลากหลาย มี ทั้งทุเรียน กระท้อน มังคุด ลองกอง ขนุน โดยมีแหล่งจำหน่ายบริการทั้งในสวน , ริมถนนหน้าสาวนผลไม้ หรือ ตลาดกลางจำหน่ายผลโดยตรง และ โดยปกติจะมีงานวันชาวสวน ที่ให้เกษตรกรชาวสวนได้นำผลผลิตมาขายโดยตรง แต่ใน 2ปีที่สถานการณ์โควิด-19แพร่ระบาด ได้หยุดจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ผู้สื่อข่าว ได้ลงพื้นที่มาชมสวนของชาวสวน ,แผงจำหน่ายหน้าบ้าน –หน้าสวน และตลาดผลไม้หนองชะอม ว่าเศรษฐกิจชุมชนระดับรากหญ้า เป็นอย่างไร? จุดแรก มาที่ถนนสายบ้านหนองจวง – บ้านหนองกรรเกรา หมู่ 8 ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี แยกจากถนนสายสุวรรณศร (ปราจีนบุรี –ประจันตคาม) หรือสาย 33 เข้ามา พื้นที่ปลูกผลไม้นานาชนิดมากที่สุด และ ตลอดริมถนนมีแผงผลไม้จำหน่ายในโครงการหน้าบ้านสวยหลังบ้านสวน นำผลไม้มาจำหน่ายบริการแก่นักท่องเที่ยว และ ในสวนผลไม้หลายสวนที่เปิดให้นักท่องเที่ยวได้มาเที่ยวซื้อผลไม้ถึงที่สวนโดยตรง

            มาที่สวนของ นายอภิวัฒน์ พลีน้อย อายุ 58 ปี เลขที่ 129/1ซอย 2 บ้านหนองจวง หมู่ 8 ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมืองปราจีนบุรี กล่าวว่า “ ปลูกผลไม้ในเนื้อที่ รวม 14 ไร่เศษ และ จำหน่ายทั้งในสวน และแผงหน้าสวน แต่ช่วงนี้อากาศร้อน จนผลลองกองแตกคาต้นราคาตก โดยลองกองจำหน่ายที่ในสวน ราคา กก.ละ 60 บาท , มังคุด ราคา กก.ละ 80 บาท ,เงาะ ราคา 3 กก.100 บาท แต่ ที่สวนเน้นการปลูกทุเรียน มากกว่าผลไม้ชนิดอื่นโดยเฉพาะพันธุ์หมอนทอง ทุเรียนช่วงนี้ราคาแม้ออกจากสวน พันธุ์หมอนกก.ละ 200 บาท , ชะนี กก.ละ 180บาท ที่สวนปลูกทุเรียน 400 ต้น” “ปีนี้ผลผลิตทุเรียน ราคาขายได้ราคาดี เนื่องจากเน้นคุณภาพตัดผลที่แก่ จำหน่ายทั้งในสวน หน้าสวน และ แผงขายประจำทุกปี ปีนี้แม้ไม่มีงานวันเกษตรกร หรือ งานชาวสวน ของทางจังหวัด เพื่อส่งเสริมการขาย ก็ไม่กระทบการขายของเกษตรกร เพราะผู้บริโภค- นักท่องเที่ยว รู้ว่าปราจีนฯมีสวนทุเรียน และ เป็นแหล่งท่องเที่ยวมาซื้อของดีมีคุณภาพกันถึงในสวน” นายอภิวัฒน์ กล่าว

           ด้าน นางพนอจิตต์ หลำผาสุก อายุ 35ปี ชาวสวนหมู่ 16 ต.บ้านพระ อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี แผงผลไม้จำหน่ายหน้าสวน-หน้าบ้าน ริมถนนสายบ้านหนองจวง – บ้านหนองกรรเกรา กล่าวว่า “ตนเองปลูกผลไม้เป็นสวนผสม 40 ไร่ ชื่อสวนผาสุก ปลูกทั้งทุเรียน , กระท้อน ปีนี้แม้ไม่มีการงานวันชาวสวน หรืองานวันเกษตรกร เพื่อส่งเสริมการขายให้เกษตรกรผู้ปลูกผลไม้พบกับผู้บริโภคโดยตรง เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะตนเองเป็นชาวสวนที่นำขายผลไม้ที่หน้าสวน มาตลอด 2 ปีแล้ว ที่แผงขายทุเรียนพันธุ์ก้านยาว ,พันธุ์หมอนทอง ราคากก.180 -200 บาท ขายทั้งแผงหน้าบ้าน – ขายผ่านออนไลน์ โดยทุเรียนปีนี้ขายได้ราคาดี ส่วน กระท้อนมีทั้งพันธุ์ปุยฝ้าย ,พันธ์ทองกำมะหยี่ ราคา 3กก.100 บาท 70 -80 บาท” นางพะนอจิตต์ กล่าวขณะที่ แม่ค้าแผงจำหน่ายผลไม้ตลาดหนองชะอม ริมถนนสายสุวรรณศร (ปราจีนบุรี – นครนายก) หรือ สาย 33 ต.โคกไม้ลายลาย อ.เมืองปราจีนบุรี ในวันปกติพบว่าต่างพากันเงียบเหงา แทบ จะไม่มีลูกค้ามาซื้อหาผลไม้เลย ต้องรอนักท่องเที่ยวที่ผ่านไป –มา ขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มรดกโลก หรือ ผ่านไปสู่ชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน(กัมพูชา)วันหยุดเสาร์ -อาทิตย์เท่านั้น พบนางบุญช่วย หาวิริยะ อายุ 72 ปี กล่าวว่า ขายผลไม้ที่แผงตลาดผลไม้หนองชะอม ขายผลไม้ตามฤดูกาล เน้นขายทุเรียนเป็นหลัก แต่ช่วงสถานการณ์โควิด-19ขายไม่ดี ลูกค้าลดลงมาเกินครึ่ง โดยช่วงปกติจะขายได้1,000 บาท แต่ช่วงโควิด -19 นี้ ขายได้เฉพาะเพียงวันเสาร์ – อาทิตย์ ที่มีนักท่องเที่ยวเท่านั้น จำหน่ายทุเรียนชะนี ,หมอนทองปราจีนบุรีแท้ รับมาจากสวน ขายในราคา กก.ละ 220 บาท ร้านเปิดจำหน่ายตั้งแต่เช้าถึง 2ทุ่ม” นางบุญช่วยกล่าว ด้าน เจ๊แอน อายุ 65 ปี กล่าวว่า เป็นแม่ค้าแผงผลไม้ตลาดผลไม้หนองชะอมมาตั้งเป็นสาวรุ่น ๆ นำผลไม้จากสวนตนเอง และ พืชผักมาขายที่แผงผลไม้หนองชะอม มีหลากหลาย ทั้ง หน่อไม้ไผ่ตงหวาน ,ผักชะอม,ขุนน,กระท้อน,ทุเรียนหมอนทอง,เงาะ แต่ติดสถานการณ์ช่วงโควิ -19 สินค้าขายไม่ได้ รายได้จากการขายได้ไม่ถึง 1,000 บาท /วัน เพราะไม่มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยว ผิดกับในช่วงภาวะปกติขายผลไม้ ,ผักจากในสวนขายได้วันละเป็น 10,000 บาท /วัน แต่ช่วงสถานการณ์โควิด -19 ขายแทบไม่ได้ เนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยว อาศัยเพียงวันเสาร์ –อาทิตย์”เจ๊แอนกล่าว

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!