ปราจีนบุรี-โควิด-19 ผู้ว่าปรับมาตราการเข้มรับ!
ภาพ/ข่าว:มานิตย์ สนับบุญ
โควิด-19 ผู้ว่าปรับมาตราการเข้มรับ!
เมื่อเวลา02.40 น.วันนี้ 11 ก.ค.64 ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานความคืบหน้าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2564 พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รายใหม่ จำนวน 57 ราย เป็น ผู้ป่วยสะสมในพื้นที่ 1,139 ราย ติดเชื้อนอกพื้นที่เข้ามารักษา 89 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 1 ราย ติดเชื้อในเรือนจำ 3 ราย ทำให้จังหวัดปราจีนบุรี มีผู้ป่วยสะสม (ระลอกเมษายน 2564) ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 10 กรกฎาคม 2564 จำนวน 1,232 ราย ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ทุกรายผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงได้ติดตามตรวจหาเชื้อแล้ว จังหวัดปราจีนบุรี โดยTimelineเบื้องต้นและสถานที่เสี่ยง ของผู้ติดเชื้อ รายใหม่ 57 ราย เป็นกลุ่มคลัสเตอร์เก่าจากเทศบาลเมืองปราจีนบุรี,คลัสเตอร์หอพักลึโอ อ.กบินทร์บุรี,คลัสเตอร์บริษัทพีทีวี.,คลัสเตอร์ตลาดผลไม้บ้านหนองชะอม อ.เมืองปราจีนบุรีและคลัสเตอร์ศาลพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนจ.ปราจีนบุรี ตามที่ได้นำเสรอไปแล้วนั้น
ล่าสุดนายวรพันธุ์ สุวัณณุสส์ ผวจ.ปราจีนบุรี มีคำสั่งจังหวัดปราจีนบุรี ที่ ๑๙๘๔/๒๕๖๔ เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ มีผลเริ่ม 12 กรกฎาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
ข้อความระบุว่า … คำสั่งจังหวัดปราจีนบุรี ที่ ๑๙๘๔/๒๕๖๔ เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่จังหวัดปราจีนบุรี ได้มีคำสั่งที่ ๑๗๕๔/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COV0-19) นั้น
เนื่องจากข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๗) ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ และคำสั่งศูนย์บริหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ ๙/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๑0 กรกฎาคม ๒๕๖๔ ปรับระดับการกำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์ให้จังหวัดปราจีนบุรีเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ดังนั้น อาศัย อำนาจตามความใน มาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๗ (๑) ของข้อกำหนดออกตามความ ในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๑) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓ (ฉบับที่ ๒๒) ลงวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๔ (ฉบับที่ ๒๔) ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๔ (ฉบับที่ ๒๗) ลงวันที่ ๑0 กรกฎาคม ๒๕๖๔ และคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ ๙/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๑0 กรกฎาคม ๒๕๖๔ ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปราจีนบุรี ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ ๑๖/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔ จึงยกเลิกคำสั่งจังหวัดปราจีนบุรี ที่ ๑๗๕๔/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ และ มีคำสั่ง ดังนี้
ข้อ ๑. ให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าอย่างถูก วิธีตามข้อแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขทุกครั้งตลอดเวลาที่ออกนอกเคหสถาน หรือสถานที่พำนัก ของตน และเข้าไปในพื้นที่สาธารณะ เมื่อพบผู้ไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ว่ากล่าวตักเตือน และสั่งให้ผู้นั้น ปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตาม ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ ต่อไป ข้อ
๒. ห้ามจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมตัวของบุคคลที่มีจำนวนรวมกับมากกว่าห้าสิบคน เว้นแต่เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือจัดกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่ กักกันโรค โดยให้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมตัวของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันไม่เกินห้าสิบคน ต้องได้รับอนุญาตจากศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอ (ศปก.อ) ด้วย
ข้อ ๓ ให้ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคเป็นการชั่วคราว ดังนี้
(๑) ปิดสนามชนไก่ สนามช้อมประลองไก่ หรือสนาม หรือพื้นที่การจัดให้สัตว์ต่อสู้กัน
(๒) ปิดโต๊ะสบุกเกอร์ และบิลเลียด
(๓) ปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ
สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน
ข้อ ๔ ห้ามการใช้อาคาร หรือสถานที่ของโรงเรียน สถาบันการศึกษาทุกประเภท โรงเรียนกวด วิชา และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการจัดการเรียน การสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใดๆ เว้นแต่การใช้เป็นที่เอกเทศตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หรือการใช้เป็นสถานที่เพื่อให้การช่วยเหลืออุปการะ หรือการใช้สถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรม เพื่อการสื่อสารแบบทางไกลหรือด้วยทางอิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพบริบทของสถานศึกษา (On Air, Online, On Hand หรือ On Demand) การใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อให้ความช่วยเหลือ สงเคราะห์ อุปถัมภ์ หรือให้การอุปการะแก่บุคคล การจัดกิจกรรมของทางราชการหรือกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ข้อ ๕ ให้สถานที่ กิจการ หรือกิจกรรม สามารถเปิดดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบและระเบียบ รวมทั้งมาตรการป้องกันโรค ที่ทางราชการกำหนด๕.๑ ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้านได้ไม่เกินเวลา๒๓.๐๐น.โดยห้ามการบริโภคสุรา หรือมีแอลกอฮอล์ และให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโดยเคร่งครัด
๕.๒ สนามกีฬา สถานที่เพื่อการออกกำลังกาย ยิม ฟิตเนส สามารถเปิด ไม่เกินเวลา ๒๑.๐๐ นาฬิกา และสามารถจัดการแข่งขันกีฬาได้โดยจำกัดจำนวนผู้ชมในสนาม ดำเนินการตามคำแนะนำของทางราชการและมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ลักษณะคล้ายกัน ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้นๆ โดยให้จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการและ
๕.๓ ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มี เว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ทั้งนี้ ให้ปิดบริการส่วนที่เป็นตู้เกมส์เครื่องเล่น ร้านเกมส์
๕.๔ ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เกต ตลาดนัดกลางคืน ตลาดโต้รุ่ง ถนนคนเดิน ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้นๆ โดยให้ดำเนินการตามคำแนะนำของทางราชการและ มาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด โดยเฉพาะการหลีกเสี่ยงการเดินทางเข้าไปในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งมีการแพร่ระบาดของโรค
ข้อ ๖ ขอความร่วมมือให้ประชาชนงดหรือชะลอการเดินทางในช่วงเวลานี้โดยไม่มีเหตุจำเป็น ที่อาจทำให้เสี่ยงหรือมีโอกาสติดโรค
ข้อ ๗ ให้งดการจัดกิจกรรมทางสังคมในลักษณะที่เป็นงานสังสรรค์ งานเลี้ยง หรืองานรื่นเริง ในช่วงเวลานี้ เว้นแต่เป็นการจัดพิธีการตามประเพณีนิยมและมีมาตรการป้องกันโรคที่เพียงพอเพื่อลดโอกาส เสี่ยงจากการติดเชื้อ
ข้อ ๘ ให้งดหรือเลื่อนพิธีบรรพชาอุปสมบทออกไปก่อน หากไม่สามารถงดหรือเถื่อนได้ ให้จำกัดไม่ให้มีจำนวนผู้เข้าร่วมพิธีรวมกันทั้งคณะสงฆ์และผู้เข้าร่วมมากกว่าห้าสิบคน ทั้งนี้ หากมีการจัด พิธีบรรพชาอุปสมบทเกินกว่า ๑ ราย จะต้องมีคณะสงฆ์และผู้ร่วมงานรวมทั้งสิ้นไม่เกินห้าสิบคนด้วย และ ต้องได้รับอนุญาตจากศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรค อำเภอ (ศปก.อ. โดยให้งคการจัดเลี้ยง งดขบวนแห่ งคดนตรี งดแตรวง หรืออื่นๆ ในลักษณะคล้ายคลึงกัน และต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการ กำหนดโดยเคร่งครัด
ข้อ ๙ ขอความร่วมมือให้เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณาและดำเนิน รูปแบบการปฏิบัติงานของบุคลากร ในความรับผิตชอบในช่วงเวลานี้ โดยอาจเป็นการปฏิบัติงาน นอกสถานที่ตั้ง การสลับวันทำงาน หรือวิธีการอื่นใดที่เหมาะสมเพื่อลดโอกาสเสียงจากการติดเชื้อ อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หากปล่อยให้เนิ่นนานไปจะก่อให้เกิดผลเสีย ร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีช้สิทธิโต้แย้งตามมาตรา ๓๐ วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ หรือต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ กรณีคำสั่งใดขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ให้ใช้คำสั่งฉบับนี้แทน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ (นายวรพันธุ์ สุวัณณุสส์) ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปราจีนบุรี ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดปราจีนบุรี
.