นครสวรรค์ – ชลประทานเตือนลุ่มเจ้าพระยาส่อแล้งรุนแรง
ภาพ/ข่าว:วสุกิจจ์ เหล่าอินทร์
ชลประทานนครสวรรค์เตือนลุ่มเจ้าพระยาส่อแล้งรุนแรง หลังน้ำต้นทุนจากเขื่อนหลักปล่อยน้ำลดลง เตือน กทม.เสี่ยงปัญหาระบบนิเวศน์และน้ำเค็มหนุนรุนแรง วอนประชาชนร่วมมือรัฐช่วยกันประหยัดน้ำ ผวจ.นครสวรรค์
นายศุภชัย มโนการ ผอ.โครงการชลประทานนครสวรรค์ เปิดเผยว่า สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มภาคกาง จังหวัดนครสวรรค์ส่อเค้ารุนแรงกว่าทุกปี เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนในแม่น้ำสายหลักแห้งขอด ปริมาณน้ำในบึงบอระเพ็ดแห้งเห็นทุ่งบึงกว้าง ซึ่งการทำนาปรังทางจังหวัดประสานในยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้แจ้งประชาชนห้าทำนาเด็ดขาด เพราะทางจังหวัดห่วงประชาชนจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง เพราะเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติถ์ ปล่อยน้ำมาไม่มากล่าสุดนายอรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ประสานส่วนงานที่เกี่ยวข้องรับมือปัญหาภัยแล้ง โดยสั่งการให้เตรีมพร้อมเรื่องน้ำในการบริโภค อุปโภค เป็นหลักอย่างให้ประชาชนเดือดร้อนเรื่องนี้ จึงตั้งคณะกรรมการมาบริหารน้ำในสองภาคส่วนได้แก่ จัดการน้ำในแม่น้ำสายหลักที่ไหลลงสู่ลุ่มเจ้าพระยา และบริหารจัดการน้ำในบึงบอระเพ็ด
นายศุภชัย กล่าวต่อว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในบึงบอระเพ็ดสามารถช่วยเหลือประชาชนได้ ไม่เกิน 2-3 เดือนนี้เพราะว่าปริมาณน้ำในบึงบอระเพ็ดหายวันละหลายล้านลูกบาศก์เมตร จึงฝากเตือนไปยังประชาชนที่อาศัยต้นน้ำ ปลายน้ำ ต้องร่วมมือกันประหยัดและช่วยกันให้แก้ปัญหาให้ผ่านภัยแล้งปีนี้ไปให้ได้ และปัญหาที่รุนแรงจะตามมาคือเรื่องของน้ำเค็มหนุนมายัง กทม. จำเป็นต้องปล่อยน้ำจากภาคเหนือไปรักษาพื้นที่เพื่อไล่น้ำเค็มใน กทม.ด้วย และยังต้อปล่อยน้ำไปรักษาระบบนิเวศน์ ผลิตประปาด้วย เพราะหากน้ำต้นทุนภาคเหนือแห้งเร็วอย่างขณะนี้ อนาคตปริมาณน้ำเค็มจะรุนแรงใน กทม.จะเจอปัญหาภัยแล้งหนักกว่าทุกครั้ง และรุนแรงกว่าภัยแล้งในไม่กี่เดือนนี้ก็เป็นได้ ประชาชนต้องช่วยกันประยัดน้ำวางแผนการใช้น้ำในหน้าแล้งนี้อย่างเต็มกำลัง ด้าน นายอรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานการประชุมเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จังหวัดนครสวรรค์ ปี 2562 – 2563 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมฯ ซึ่งในปีนี้ มีการคาดการณ์ว่าสถานการณ์ความแห้งแล้งจะยาวนานกว่าปีที่ผ่านมา จึงเตรียมการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น และกำหนดแนวทางในการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อการบริหารจัดการน้ำอุปโภคบริโภค ให้สามารถมีน้ำใช้ไปได้จนถึงฤดูฝนปีหน้า คณะกรรมการและเลขานุการคณะทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จังหวัดนครสวรรค์ ได้เสนอข้อมูลเพื่อการพิจารณาประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน เนื่องจากภัย คาดว่าจะมี 6 อำเภอที่อาจจะประกาศภัยแล้ง คือ อำเภอไพศาลี อำเภอท่าตะโก อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรก พระ อำเภอตากฟ้า และอำเภอตาคลี
นอกจากนี้แนวโน้มสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคตลอดจนเพื่อการเกษตร ซึ่งต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน งดการทำนาปรัง ซึ่งในปัจจุบันมีเกษตรกรที่ปลูกข้าว ปลูกพืชไร่และปลูกพืชผัก ของจังหวัดนครสวรรค์ รวมพื้นที่กว่า 300,000 ไร่ ซึ่งจะต้องมีมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อการเกษตร ให้สามารถแก้ปัญหา และขอให้พี่น้องเกษตรกรศึกษาข้อมูลในการเพาะปลูกพืช การเลี้ยงปลาในกระชัง และบ่อดิน เพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2562 จนถึงเดือนเมษายน 2563 ด้วย
เบื้องต้นผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำแผนเผชิญเหตุในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และขอให้ ติดตามเฝ้าระวังไม่ให้มีการสูบน้ำจากแม่น้ำในเขตจังหวัดนครสวรรค์ และบึงบอระเพ็ด อย่างเด็ดขาด ซึ่งในช่วงฤดูแล้งนี้ ขอให้ใช้น้ำในบึงบอระเพ็ดเพื่อการอุปโภคบริโภคเท่านั้น ส่วน 6 อำเภอที่มีความเสี่ยงจะเกิดภัยแล้งมากกว่าที่อื่นๆ ขอให้พิจารณาใช้น้ำบาดาลแก้ไขปัญหา ซึ่งขอให้รีบดำเนินการในการขออนุญาตขุดบ่อบาดาล เสริมน้ำอุปโภคบริโภค ให้กับประชาชนในพื้นที่ และจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และแนวทางการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำให้กับประชาชนในพื้นที่ และศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง ได้จัดชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว 6 ชุด ซึ่งจะเฝ้าติดตามสภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง หากมีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศที่เหมาะสม หน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วจะปฏิบัติการบินทันที ดังนั้น ในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 ไปจนถึงเดือนเมษายน 2563 จึงขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนใช้น้ำอุปโภคบริโภคอย่างประหยัด และขอความร่วมมือพี่น้องเกษตรกรงดทำนาปรัง
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/