ประจวบคีรีขันธ์-ชาวบ้านจี้หน่วยงาน ป่าไม้ ลงตรวจสอบไม้สักในพื้นที่ทับสะแก

ประจวบคีรีขันธ์-ชาวบ้านจี้หน่วยงาน ป่าไม้ ลงตรวจสอบไม้สักในพื้นที่ทับสะแก

ภาพ/ข่าว:พิสิษฐ์ รื่นเกษม

           ชาวบ้านจี้หน่วยงาน ป่าไม้ ลงตรวจสอบไม้สักในพื้นที่ทับสะแก หลังพบว่ามีการโค่นหายเป็นจำนวนมาก

               วันที่ 2 ก.พ. 64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากรณีในพื้นที่ อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชาวบ้านให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกรมป่าไม้ ลงมาตรวจสอบ จากกรณี กรมป่าไม้ โดยสำนักจัดการที่ดินป่าไม้ จัดทำต้นร่างแผนที่ขอบเขตระดับอำเภอ ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจให้คณะกรรมการหมู่บ้านและราษฎรในพื้นที่ ชี้ขอบเขตร่วมกับราษฎร ที่อยู่ในหลักเกณฑ์ ในพื้นที่จริง โดยกรมป่าไม้พิจารณา เสนอเป็นพื้นที่เป้าหมายจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน หรือนำเสนอ คทช.จังหวัด พิจารณาเห็นชอบให้กำหนดเป็นพื้นที่เป้าหมายจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน
                นอกจากนี้ กรณีเจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้มีการดำเนินการตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 พร้อมตรวจยึด โดยที่บางแปลงหลุดคดี และยังมีบางรายที่ถูกดำเนินคดีก็ยังสามารถกลับเข้ามาทำในที่แปลงดังกล่าวได้ บางแห่งให้นายทุนหรือเครือญาติเข้าไปทำประโยชน์ในพื้นที่มีปัญหา ชาวบ้านมองว่าเจ้าหน้าที่ปล่อยปะละเลย นอกจากนี้การใช้งบประมาณในการปลูกป่าทดแทนในมาตรา 25 ส่อเค้ามีกลิ่น โดยงบประมาณ ในการปลูกต้นไม้ และจัดซื้อการเพาะพันธ์กล้าไม้ เอาไปดำเนินกา ที่ไหนซึ่งใช้งบประมาณแผ่นดินไปเป็นจำนวนมาก ล่าสุด มีชาวบ้านให้หน่วยงานลงมาตรวจสอบ ป่าไม้ ในพื้นที่อำเภอทับสะแกโดยเฉพาะไม้สัก ในพื้นที่มาตรา 25 หลังอ่างเก็บน้ำจักรกระพื้นที่หมู่ที่ 10 ตำบลนาหูกวาง อำเภอทับสะแก ลึกเข้าไปในป่า ประมาณ 2 กิโล เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ( ป่าทับสะแก ) และด้านหลัง หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ปข. 3 อ่างทอง โดยชาวบ้านพบว่า มีการลักลอบ ตัดไม้สัก ออกไปหลายต้น นายประมวล พงศ์ถาวราเดช สส.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 3 พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่ อ.บางสะพาน และ อ.บางสะพานน้อย มีปัญหาเจ้าหน้าที่จับกุมดำเนินคดีจากปัญหาในพื้นที่ทำกินในแนวเขตระหว่างพื้นที่ป่าสงวนของกรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเสด็จในกรมกรมหลวงชุมพร ด้านทิศเหนือ เนื่องจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในสังกัดกรมอุทยาน และพื้นที่เขตป่าสงวนฯใช้แนวเขตในการจัดการพื้นที่ของทั้ง 2 กรมไม่ตรงกัน ทำให้มีปัญหาในการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาลหรือ คทช. ให้กับประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งกรมป่าไม้อยู่ระหว่างการดำเนินการรอจัดสรรที่ดินทำกินรายละ 20 ไร่ จึงขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาจัดการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน
                 นายนันทปรีชา คำทอง ประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินฯสภาเกษตรกร จ.ประจวบฯ กล่าวว่า การกระจายการถือครองสิทธิที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรในพื้นที่เสื่อมโทรมหมดสภาพป่า ตามกฏเกณฑ์ที่มีนโยบายจากภาครัฐเพื่อเข้าถึงสิทธิพึงมีพึงได้ และเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เบื้องต้นเห็นด้วยในหลักการที่สำคัญคือการมีฐานข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา เงื่อนไขหลักเกณฑ์การพิจารณา จะต้องโปร่งใส เป็นธรรมกับทุกฝ่าย พื้นที่ใดควรสงวนไว้เพื่อรักษาความสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็จะต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัดให้เป็นไปตามระเบียบข้อกฎหมาย ในขณะเดียวกัน ภาครัฐเองก็ควรพิจารณากลั่นกรองร่วมกันกับชุมชนว่าบุคลที่จะได้รับสิทธิในที่ดินนั้นมีความถูกต้องตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์หรือไม่ อย่าปล่อยให้อำนาจใดๆมาบิดเบือนข้อเท็จจริง ใช้ช่องโหว่ ช่องว่าง ของระเบียบข้อกฎหมายมาเบียดบังสิทธิของประชาชน ทำให้เสียโอกาสที่จะเข้าถึงสิทธินั้นๆ และประชาชนเองก็เช่นกัน เมื่อได้สิทธิแล้ว จะต้องทำหน้าที่ให้สมบูรณ์แบบในการปกป้องดูแลที่ดินที่ได้รับมาอย่างไรที่จะก่อให้เกิดประโยชน์กับตนเองและส่วนรวม
                 สำหรับในพื้นที่นิคมสหกรณ์บางสะพาน เนื้อที่ 160,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อำเภอบางสะพาน และอำเภอบางสะพานน้อย ซึ่งตามมติ ครม.พ.ศ.2513 และ พ.ศ.2517 ได้มีมติให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ใช้พื้นที่ดังกล่าวมาแต่ต้น จวบจนถึงตอนนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด โดยผ่านความเห็นชอบของผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ลงนามขออนุญาตการใช้พื้นที่ดังกล่าวให้กรมส่งเสริมสหกรณ์โดยผู้อำนวยการนิคมสหกรณ์บางสะพาน คณะกรรมการสหกรณ์ที่ดินบางสะพานจำกัด ผู้อำนวยการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้อำนวยการจัดการทรัพยากรป่าไม้เขต 10 เพชรบุรี และคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน ของสภาเกษตรกร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้บูรณาการร่วมกันขับเคลื่อนงาน สอดประสานกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกภาคส่วน โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร เขต 3 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ประสานงานกับฝ่ายนิติบัญญัติที่จะทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่มีมาอยู่อย่างยาวนาน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การอนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่จากกรมป่าไม้ ( ปส.23 ) จะต้องไม่ชักช้าอีกต่อไป

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

 

 

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!