อุดรธานี – บทความ วิเคราะห์การเมือง” กระจายอำนาจ ” สู่การพัฒนาชุมชนเมือง

อุดรธานี – บทความ วิเคราะห์การเมือง” กระจายอำนาจ ” สู่การพัฒนาชุมชนเมือง

ภาพ/ข่าว:พฤตินัย มั่งสวัสดิ์ ผู้สื่อข่าวภูมิภาคประจำจังหวัดอุดรธานี ,ทีมตระเวนข่าวหนองคาย 
ขอบคุณ ข้อมูลประกอบบทความ จาก นายแพทย์สรร สุนทรธนากุล ประธานชมรมผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดหนองคาย

          ” หลักการกระจายอำนาจ ” ประชาชน ต้องมีส่วนร่วมในการปกครองทัองถิ่นตนเอง เลือกตัวแทนของเขาเข้ามาบริหาร รับใช้ประชาชน

              การปกครองส่วนท้องถิ่น คือหน่วยงานปกครองที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดรูปแบบหนึ่ง โดยปกติการปกครองส่วนท้องถิ่นจะเปิดโอกาสให้ประชาชนในเขตท้องถิ่นนั้น ๆ เลือกตั้งผู้แทนของตนเข้าไปทำหน้าที่เป็นผู้บริหารท้องถิ่น หรือเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นเพื่อเลือกผู้บริหารท้องถิ่นอีกทีหนึ่ง (เรียกว่าการเลือกตั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมตามลำดับ) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีอำนาจอิสระ (autonomy) ในการบริหารจากรัฐได้ในระดับหนึ่งตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง คือการเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ สามารถเลือกตั้งผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตท้องถิ่นของตนได้โดยตรง ส่วนการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยอ้อม สภาท้องถิ่นจะทำหน้าที่เลือกผู้บริหารท้องถิ่นแทนประชาชนในท้องถิ่น กล่าวคือ ประชาชนในท้องถิ่นจะทำหน้าที่เพียงแค่เลือกสมาชิกสภาท้องถิ่นเท่านั้น แล้วสมาชิกสภาท้องถิ่นจะทำหน้าที่ในการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นอีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบัน มีการผลักดันให้มีการกระจายอำนาจสู่ทัองถิ่น ที่ต้องแยกตัวเป็นอิสระจากการเมืองระดับประเทศ ” การเมืองท้องถิ่น ควรเป็นอิสระ จากการเมืองระดับชาติ  หลักการกระจายอำนาจเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองและออกแบบการพัฒนา การแก้ปัญหาในท้องถิ่น รวมทั้งการส่งเสริม อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น. คือการให้ประชาชนในท้องถิ่นเลือกตัวแทนของเขาเข้ามาบริหาร ทำงานรับใช้ประชาชน และให้มีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้มีข้าราชการ พนักงานท้องถิ่น ทำงานประจำเพื่อสนองนโยบายของตัวแทนที่ประชาชนเลือกเข้ามา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี 4 ประเภท คือ 1.อบจ. 2. เทศบาล 3. อบต 4.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตปกครองพิเศษ คือ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา. ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีกฎหมายการจัดตั้งและกฎหมายที่บังคับใช้ คนละฉบับ แยกจากกัน. แต่โดยเจตนารมณ์ของกฎหมายทุกฉบับต่างมุ่งเน้นให้มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลาง ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองให้มากที่สุด.

              ซึ่งมีความแตกต่างอย่างชัดเจน กับ การเลือกตั้งระดับชาติ คือ สส. หรือ สว. ประชาชนต่างรู้ดีว่าการเลือกตั้ง สส. คือการเลือกตั้งเพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ที่จะมาบริการประเทศ. และสั่งการจากส่วนกลาง. ดังนั้นเขาจะเลือกผู้นำหรือพรรคที่พวกเขาชอบหรือมีอุดมการณ์ทาวการเมืองระดับชาติที่ตรงกัน. แต่ การเลือกตั้งท้องถิ่นมันคนละเรื่องกัน. ประชาชนเขามีความรู้ว่า. การเลือกตั้งท้องถิ่น คือการเลือกบุคคลไว้ดูแลพวกเขาในท้องถิ่นของเขา ไม่มีผลกับรัฐบาล. กฎหมายคนละตัวกัน. ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ผลการเลือกตั้งท้องถิ่นทุกระดับส่วนใหญ่ จะได้ตัวนายกฯ ที่เป็นชาวบ้าน ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นครอบครัวหรือตระกูล หรือลูกน้องในสังกัดของ นักการเมืองระดับชาติ มีไม่กี่แห่งที่เป็นเช่นนั้น. ผู้นำท้องถิ่นเขารู้ดีว่าเขาเข้ามาได้ด้วยตัวเขาเอง เพราะพี่น้องในท้องถิ่นเลือกเขาเข้ามา. ไม่ใช่เพราะการโหนกระแสพรรคแต่อย่างใด. !! ดังนั้น. การเลือกตั้งท้องถิ่น ขอให้พี่น้องเลือกคนที่ท่านรัก. คนที่ท่านเคยเห็นผลงาน. คนที่ท่านหวังพึ่งได้. อย่าไปสนใจพรรคการเมือง ฝันที่ชาวบ้าน ฝันที่ประชาชน อยากให้เป็นจริง ผู้นำ – นักการเมืองท้องถิ่น ต้องถือกำเนิดในถิ่น เกิดมาเพื่อรับใช้ประชาชน เป็นนักการเมืองท้องถิ่นที่เกิดมาเพื่อรับใช้พี่น้องประชาชนโดยแท้ มีความสมบูรณ์ในทุกด้าน มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ทางการเมือง ขยันมุ่งมั่น วิริยะอุตสาหะ มีจิตวิญญาณแห่งการช่วยเหลือคนอื่นเสมอ และนี่คือคุณสมบัติ ของต้นแบบนักการเมืองท้องถิ่น ที่ชาวบ้านต้องการ ถึงเวลาแล้วที่จะมีการกระจายอำนาจสู่ทัองถิ่น.เสียที

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

 

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!