ลพบุรี-สถานศึกษาคุมเข้มป้องกันไวรัส RSVในช่วงปลายฝนต้นหนาว

ลพบุรี-สถานศึกษาคุมเข้มป้องกันไวรัส RSVในช่วงปลายฝนต้นหนาว

ภาพ/ข่าว:กฤษณ์ สนใจ 

          สถานศึกษาในจังหวัดลพบุรีคุมเข้มป้องกันโรคไวรัส RSV โดยตั้งจุดคัดกรองนักเรียนผู้ปกครอง และการทำความสะอาดห้องเรียน อุปกรณ์การเรียน การสอน เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้ปกครอง

             หลังจากที่มีการระบาดของโรคเชื้อไวรัส RSV ที่มาเฉพาะช่วงปลายฝนต้นหนาวเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ ที่มักจะก่อให้เกิดอาการรุนแรงในเด็กเล็ก ในหลายพื้นที่ เพื่อเป็นการป้องกัน นายจำเริญ สละชีพ นายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี สั่งให้สถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองลพบุรี ที่มีเด็กเล็กในระดับชั้นอนุบาลเรียนอยู่เฝ้าระวังป้องกันการระบาดของโรคไวรัสRSV ขณะที่ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองลพบุรียังไม่พบการระบาด นายกเทศมนตรียังได้กำชับให้ใช้มาตรการเฝ้าระวังป้องกันอย่างเข้มงวด ซึ่งมีการตั้งจุดคัดกรองนักเรียนเหมือนกับโรคโควิด-19 พร้อม ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองในการเฝ้าระวัง และป้องกันตั้งจุดรับส่งเพื่อการคัดกรองผู้เข้าออกทุกเวลา โดยเฉพาะเด็กเล็ก ด้วยวิธีการวัดไข้ สอบถามอาการป่วย ไอ จาม มีเสมหะ และไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามา ซึ่งนักเรียนและผู้ปกครองต้องสวมหน้ากากอนามัย หรือ หน้ากากผ้า ขณะอยู่ในพื้นที่เว้นระยะห่างระหว่างกลุ่มเด็ก ทำความสะอาดสถานที่ อุปกรณ์ของเล่นทุกวัน ครูและผู้ดูแลเด็ก ที่เจ็บป่วยให้หยุดงานไปพบแพทย์

              โดยเชื้อไวรัส RSV สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ โดยผ่านทางเยื่อบุตา จมูก ปาก หรือผ่านทางการสัมผัสมือ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัส RSV การรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการเท่านั้น จึงขอความร่วมมือผู้ปกครองนักเรียนสังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิด ซึ่งอาการเชื้อไวรัส RSV จะมาในช่วงปลายฝนต้นหนาว ระยะเริ่มต้นใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 3-6 วัน หลังจากรับเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายหวัดธรรมดา เริ่มจากมีน้ำมูก จาม ไอ มีเสมหะมาก หายใจเหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงหวีด ซึ่งต้องคอยระมัดระวัง และคอยสังเกตอาการ พร้อมทั้งปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ทั้งการสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง หลีกเลี่ยงไปในที่แออัด และหมั่นล้างมือเป็นประจำ

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

 

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!