อุดรธานี-“โนรี ตะถา”” นักสู้ทะเลบัวแดง” แห่งลุ่มน้ำจืดที่สวยติดอันดับ 1

อุดรธานี-“โนรี ตะถา”” นักสู้ทะเลบัวแดง” แห่งลุ่มน้ำจืดที่สวยติดอันดับ 1

ภาพ/ข่าว:พฤตินัย มั่งสวัสดิ์ ทีมข่าวภูมิภาคจังหวัดอุดรธานี 

                  “โนรี ตะถา”..” นักสู้ทะเลบัวแดง” แห่งลุ่มน้ำจืดที่สวยติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก

             “โนรี ตะถา ” ป่าไม้เลือดนักสู้ ผู้มีอุดมการณ์พิทักษ์ผืนป่าและแหล่งน้ำ ผู้อยู่เบื้องหลังความงดงาม แห่งทะเลบัวแดง ทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่และติดอันดับสวยงามตามธรรมชาติ ร่วมกอบกู้วิกฤต หวั่น ทะเลบัวแดง เน่า สัตว์ป่าหากยากสูญพันธุ์ ป่าไม้จับมือ สิ่งแวดล้อม ว่าจ้างราชภัฎ สำรวจทะเลน้ำจืดติดอันดับ1ใน10 ของโลกเสียหาย จากมลพิษ สารเคมีจากป่าสวนยางพารา
               อุดรธานี แหล่งปลูกยางพารากันจำนวนมากแทบทุกพื้นที่ รายล้อมทะเลบัวแดง ที่กว้างใหญ่ และโรงงานผลิตยางแท่ง 6 แห่ง ช่วงที่เกษตรกรขนส่งยางถ้วยไปส่งโรงงาน มีการปล่อยน้ำเสียไหลรวมมากับน้ำธรรมชาติลงสู่ทะเลบัวแดง เนื่องมาจากการใช้น้ำกรดหยดยางพารา ในสวนยาง ทำให้เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนักในสิ่งแวดล้อม กระทบต่อสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ทะเลบัวแดง ดอกบัวไม่โตเต็มที่ ผลิดอกน้อยลงทุกปี สัตว์ป่า มีการขยายพันธุ์ลดลง คุณภาพชีวิตของชาวบ้าน มีการเจ็บป่วยจากสารพิษตกค้าง สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 อุดรธานี จึงร่วมมือกับ ป่าไม้ พื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 อุดรธานี ว่าจ้างมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี เข้าสำรวจแหล่งน้ำหาสารปนเปื้อนและวิธีแก้ไขโดยเร่งด่วน
               นายโนรี ตะถา เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองหานกุมภวาปี ( พื้นที่ทะเลบัวแดง ) เปิดเผยว่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองหานกุมภวาปี อ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี ได้ให้ความร่วมมือกับโครงการตรวจสอบคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อม ที่มีผลกระทบต่อทะเลบัวแดง โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์พัฒนาภรณ์ ชัยประเสริฐ คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ ,ดร.เอกราช ดีนาง ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีร์ธวัช สิงหศิริ รองคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ ,ดร.อภิรักษ์ ลอยแก้ว รองคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ เป็นผู้อำนวยการโครงการ ตรวจสอบคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อมต่อทะเลบัวแดง ได้จัดส่งทีมงานลงพื้นที่ประกอบด้วย ผศ.ธวชชัย จำรัสแสง ,อ.กฤษฎา นามบุญเรือง, ดร.วณิชยา จรูญพงษ์ ,ดร.ขวัญทิพา ปานเดชา , อ.ศศิธร เพชรแสน ,อ.ดารินทร์ ล้วนวิเศษ , คณะอาจารย์ นักศึกษา จากคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำและสิ่งแวดล้อม ที่มีผลกระทบ
                 ทีมงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองหานกุมภวาปี ทะเลบัวแดง ได้อำนวยความสะดวกคณะทำงาน ทะเลบัวแดงโดยการนั่งเรือออกไปโดยรอบๆบริเวณทะเลบัวแดง เพื่อเก็บตัวอย่างน้ำ และตะกอน ไปศึกษาวิเคราะห์หาสารปนเปื้อน ว่าคุณภาพน้ำแย่ลงแค่ไหน จะได้เร่งแก้ไขได้ทันท่วงทีเพื่อให้ทะเลบัวแดง อยู่คู่กับประเทศไทยไปอีกนานแสนนาน โดยสืบเนื่องจากทางนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ได้เล็งเห็นถึงปัญหาสำคัญของสิ่งแวดล้อม ที่ย่อมได้รับผลกระทบจาก การปลูกพืชเกษตรกรรม ยางพารา ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี มีการใช้น้ำกรดผสมลงในน้ำยาง แล้วขนส่งเข้าโรงงาน ทำให้ระหว่างทางมีสารพิษไหลลงสู่พื้นดิน อีกทั้งในสวนยางก็มีสารปนเปื้อนจำนวนมากที่น้ำฝนชะล้างไหลลงสู่ทะเลบัวแดง
                  หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองหานกุมภวาปี ( พื้นที่ทะเลบัวแดง ) กล่าวต่ออีกว่า จากหลักการของโครงการตรวจสอบคุณภาพน้ำ ทางสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 9 อุดรธานี ได้แจ้งมาว่า เกษตรกรมีการใช้กรด 3 ชนิด มีกรดซัลฟริค ฟูลิคเข้มข้น และฟอร์มิคเข้มข้น และตัวอย่างของกรดทั้งสามชนิดมีการปนเปื้อนของสารโลหะหนัก 5 ชนิด มีเหล็ก แมงกานีส แคดเมียม เซเลเนียม และสารหนู โดยเฉพาะกรดซัลฟูริค ที่เกษตรกรนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ทำให้สารปนเปื้อนไหลลงสู่ทะเลบัวแดงในทุกปี เพิ่มมากขึ้นเรื่อยหากไม่รีบดำเนินการแก้ไข ทะเลบัวแดงจะเน่า บัวแดงจะไม่มีให้ได้ชม สัตว์ป่าหายางจะเริ่มสูญพัรธุ์ไปเรื่อยๆ ทุกฝ่ายต้องเร่งช่วยกันฟื้นฟูสภาพแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดและติดอันดับทะเลน้ำจืดที่สวยงาม 1 ใน 10 ของโลกให้คงอยู่คู่จังหวัดอุดรธานี อยู่คู่ประเทศไทยและคนทั่วโลกจะได้เดินทางมาเยี่ยมชมความงดงามของธรรมชาติทะเลบัวแดง  นายโนรี ตะถา กล่าวต่อไปอีกว่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองหานกุมภวาปี (ทะเลบัวแดง) ขอฝากประชาสัมพันธ์ ไปยังนักท่องเที่ยวทุกท่านที่เดินทางไปชมทัศนียภาพความงดงามของทะเลบัวแดง ได้โปรดอย่าทำลายธรรมชาติ เข้าไปในที่ควรไปได้ อย่าไปรบกวนสัตว์น้ำ นกน้ำหายาก ที่กำลังวางไข่บนเกาะเพื่อขยายพันธุ์ และขอให้ชาวบ้านที่อยู่บริเวณโดยรอบทะเลบัวแดงได้โปรดงดล่าสัตว์ นกหายาก สัตว์ป่าคุ้มครองไปขายหรือเพื่อเป็นอาหาร ปล่อยให้พวกเขาได้ดำรงชีวิตอยู่ในธรรมชาติของพวกเขา เพื่อแพร่ขยายพันธุ์ อยู่คู่ทะเลบัวแดงอันงดงาม ให้ลูกหลานได้ชื่นชม

 

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!