สุพรรณบุรี-จัดโครงการนำร่องผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี
ภาพ/ข่าว:ทีมข่าวจังหวัดสุพรรณบุรี
ประภัตร สุพรรณบุรี-เกษตรและสหกรณ์จัดโครงการนำร่องผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี
นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ นายสรชัด สุจิตต์ สส.สุพรรณบุรี นายภูสิต สมจิตต์ รอง ผวจ.สุพรรณบุรี นายสุดสาคร ภัทรสกุลนิษฐ์ อธิบดีกรมการข้าว นายณัฎฐกิจติ์ ของทิพย์ ผอ.กองเมล็ดพันธ์ข้าว นางจุรี ภัทรกุลนิษฐ์ ผอ.สำนักส่งเสริมการผลิตข้าว เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอเมืองสุพรรณบุรี สามชุก ศรีประจันต์ อู่ทอง ดอนเจดีย์ บางปลาม้า และเกษตรกร จากอำเภอเมืองสุพรรณบุรี อ.สามชุก อ.ศรีประจันต์ อ.อู่ทอง อ.ดอนเจดีย์ อ.บางปลาม้า กว่า 300 คน มาร่วมประชุมเกี่ยวกับโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี ณ หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
โดยนายประภัตร โพธสุธน รวช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเกษตรกรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อชี้แจงแนวทางการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี โดยศูนย์ข้าวชุมชน 1 ศูนย์ 100 ตัน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมการข้าว เนื่องจากปัจจุบันเกษตรกรมีความต้องการเมล็ดพันธ์ข้าวพันธุ์ดี ไปใช้ในการเพราะปลูกอีกจำนวนมาก จึงได้เรียกชาวนามาประชุมเพื่อหาแนวทางผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี ออกมาจำหน่ายในเบื้องต้นจะจำหน่ายให้กับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรี จากนั้นจะเตรียมเปิดศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวจังหวัดสุพรรณบุรี โดยตั้งเป้าที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นโครงการนำร่อง จะเปิดศูนย์ฯให้ได้ 100 ศูนย์ โดย 1 ศูนย์ จะสามารถผลิตพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีได้จำนวน 100 ตัน ซึ่งจะมีการแบ่งโซนในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี แต่ละอำเภอว่าจะปลูกพันธุ์ข้าวพันธุ์อะไร เพื่อความเหมาะสมกับพื้นที่ของแต่ละอำเภอด้วย ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญมีความรู้เข้ามาช่วยดูแลในด้านการเพราะปลูกพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี ด้วยการนำเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่เข้ามาใช้ในเรื่องของโดรน โดยการใช้โปรแกรม AI ที่ทันสมัย มาตรวจการเจริญเติบโตของข้าว ตรวจจับความผิดปกติของข้าว สามารถวิเคราะห์การเจริญเติบโตของต้นข้าวได้อย่างละเอียด จึงมั่นใจได้ว่าเกษตรกรจะได้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี ที่ได้มาตรฐานมาใช้และส่งขายได้ด้วย
นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าการที่เรียกชาวไร่ชาวนามาประชุม เพื่อให้มาฟังสถานการณ์ข้าวของโลก ว่าวันนี้สถานการณ์ของเข้าไทยขณะนี้ด้อยกว่าอีกหลายประเทศ ซึ่งถูกแซงไปหมดแล้วเรามีปัญหามากมายเช่น 1 เรื่องเมล็ดพันธุ์ 2 ต้นทุนการผลิต 3 ราคาในตลาด ตลาดก็ไม่ถูกใจทำให้ราคาข้าวชาวนาไม่สามารถจะสู้กับต่างประเทศได้เลย วันนี้เราก็หันกลับมาปรับปรุงพันธุ์กัน โดยให้ทำข้าวที่ตลาดต้องการเช่นอย่างข้าวหอมมะลิเราไม่โหวดนะว่าภาคอีสานเขาพัฒนาได้ ข้าวนุ่มซึ่งเป็นข้าวที่ตลาดใหญ่ที่สุดของโลกทุกคนต้องการกินข้าวนุ่ม และก็ข้าวหอมไทย ซึ่งราคาเวลานี้ประเทศเพื่อนบ้านเราสูงกว่าทั้งสิ้น วันนี้จึงได้มีการเรียกประชุมเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ให้กับชาวนาทั้งประเทศเริ่มจากจังหวัดที่สามารถปลูกข้าวได้เลย คือเราจะมีด้วยกัน 3 หน่วยงานหน่วยงานแรกที่จะต้องมาใกล้ชิดคือกรมการข้าวเพราะจะต้องมาดูเมล็ดพันธุ์ที่แจกมาให้ ทำแล้วได้ผลไหม หน่วยงานที่ 2 คือกรมส่งเสริมซึ่งมีเกษตรตำบลเกษตรอำเภอต้องไปใกล้ชิดว่ามีปัญหาอะไรไหมมีเพลี้ยมีอะไรหรือเปล่า ต้องแก้ไข หน่วยงานสำคัญที่สุดคือท้องถิ่นท้องถิ่น ซึ่งได้มอบให้จังหวัด ซึ่งมีนายภูสิต สมจิตต์ รอง ผวจ.สุพรรณบุรี เป็นประธานของการดูแล ศูนย์ทั้ง 100 ศูนย์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด น้ำไม่มีทางรองผู้ว่าจะต้องรีบช่วยดูให้ เพราะเป็นเรื่องของท้องถิ่น 2 ปัญหาของการที่ชาวนาประสบอยู่มีอะไรบ้าง จังหวัดต้องเป็นฝ่ายเข้ามาช่วยแก้ไข ส่วนปัญหาเรื่องน้ำที่จะต้องมีอุปสรรคอย่างแน่นอน แต่กำลังใช้ระบบน้ำใต้ดินมาช่วยก่อน มิฉะนั้นเมล็ดพันธ์เราจะไม่ทัน เพราะปี้นี้ทุกที่ขาดเมล็ดพันธุ์หมด เพราะการทำนาประเทศไทยวันนี้ชาวนาไม่ได้เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เลย ได้แต่ซื้อวันนี้จึงไม่เมล็ดพันธุ์พอใช้
นายสรชัด สุจิตต์ สส.สุพรรณบุรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ข้าวเป็นสินค้าที่สำคัญที่สุดของคนไทย วันนี้ คู่แข่งเค้าตามเราทัน สิ่งที่เราต้องต่อสู้กับเค้าให้ได้ ต้องขึ้นอยู่กับในเรื่องของคุณภาพ ในการเดินคิดว่าในการที่จะต้องพัฒนาในเรื่องของเมล็ดพันธุ์ อันนี้คือหัวใจของความสำเร็จถ้าเกิดเมล็ดพันธ์ที่ดี เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ เพื่อจะทำไห้ต้นทุนของการปลูก ของเกษตรกรลดลง ใช้ปุ๋ยใช้ยาน้อยลง และทำอย่างไรให้มีผลผลิตที่ดีขึ้น สิ่งที่ดีเราจะได้ไปต่อสู้ มีต้นทุนที่ถูกและปริมาณที่มีคุณภาพที่ดีไปต่อสู้ในเวทีโลกได้ ตราบใดก็ตามถ้าไปทำตรงปลายเหตุ ช่วยกันเรื่องอุดหนุนทั้งโครงการต่างๆที่เข้าไป แต่ว่ามันไม่ได้พัฒนาที่คุณภาพ ถ้าเกิดจะมองในแง่ตลาดโลกจริงๆ ว่าใครๆก็อยากได้ของดี มีคุณภาพ และก็ราคาถูก ซึ่งเราจะต้องสู้ในเวทีโลก จึงต้องกลับมามองในความเป็นจริง
นายภูสิต สมจิตต์ รอง ผวจ.สุพรรณบุรี เปิดเผยว่า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ เชื่อว่าทางด้านการปลูกข้าว ชาวนาพี่น้อง ชาวนาสุพรรณบุรี แต่โครงการนี้นะครับ เป็นการยกระดับเรื่องของการปลูกข้าว ปลูกข้าวอย่างประณีต เอาข้าวมาทำเมล็ดพันธุ์ที่ดีเพื่อต่อยอด และที่สำคัญก็คือเป็นเรื่องของระบบการรวมเป็นกลุ่ม มีตลาดที่ชัดเจน มีการประกันราคาที่ชัดเจน ซึ่งโครงการนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีของ พี่น้องเกษตรกรชาวนาของจังหวัดสุพรรณบุรี ที่เราจะได้ยกระดับ เรื่องการปลูกข้าวในพื้นที่ นายสุดสาคร ภัทรสกุลนิษฐ์ อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวในประเทศไทย เมล็ดพันธุ์ข้าวยังไม่พอ เพราะช่วงนี้เกษตรกรเก็บพันธุ์ไว้ได้ ประมาณ 7 แสนตัน เพราะฉะนั้นพันธุ์ข้าวที่สุพรรณบุรี จะต้องกระจายออกไปในพื้นที่ใกล้เคียงแล้วก็เอาขายให้ส่วนราชการ ที่สุพรรณบุรีก็เป็นจุดแรกที่ นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการ
นางจุรี ภัทรกุลนิษฐ์ ผอ.สำนักส่งเสริมการผลิตข้าว เปิดเผยว่าในส่วนของด้านการส่งเสริมการผลิตข้าว จะเห็นได้ว่าปัจจัยแรกสำคัญนั่นก็คือเมล็ดพันธุ์ดี ดังนั้นการที่เราจะไปต่อสู้กับคู่แข่งในตลาดข้าวโลกได้อันดับแรกคือเกษตรกรต้องมี พันธุ์ดีใช้ก่อน ก็ในนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยนายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ เข้ามาช่วยในเรื่องของการทำอย่างไรให้เกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ดี ให้ได้แล้วก็มีเมล็ดพันธุ์ดีไว้ใช้เอง ซึ่งในปีนี้เราก็มีเป้าหมาย สินค้าชุมชนทั้งหมด 500 ศูนย์ ในส่วนของสุพรรณบุรี จะตั้งให้ได้ 100 ศูนย์ ที่จะนำร่องด้วย ให้ได้เมล็ดพันธุ์เพียงพอแล้วก็มีการลดต้นทุนในด้านการผลิต ด้วยการนำเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่เข้ามาใช้ ในเรื่องของโดรน ก็คาดหวังว่าใน 100 ศูนย์ ในพื้นที่สุพรรณบุรี เมล็ดพันธุ์ที่จะได้ศูนย์ละ 100 ตัน ก็จะมีจำนวนปริมาณที่ได้มากขึ้น
นายณัฎฐกิจติ์ ของทิพย์ ผอ.กองเมล็ดพันธ์ข้าว เปิดเผยว่า สำหรับ กองเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่รับผิดชอบในเรื่องของเมล็ดพันธุ์ เราก็ได้ประกาศแล้วว่าเราได้เข้ามาส่งเสริมให้พี่น้องเกษตรกร ทำเมล็ดพันธุ์ให้กับกรมการข้าว โดยที่เราจะรับซื้อนะครับเมล็ดพันธุ์ของพี่น้องชาวเกษตรกรทั้งหมดที่ผลิตให้ ตามมาตรฐานของกรมการข้าว ในเบื้องต้นข้าวปทุมธานี จะซื้อ 11,000 บาท ที่ความชื้น 20 ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็เมล็ดพันธุ์ กข. 79 นะครับ จะซื้อที่ประมาณ 10,000 บาทขึ้น อยู่ที่คุณภาพของเมล็ดพันธุ์และความชื้น ซึ่งพี่น้องเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการ ก็ไม่ต้องกังวลว่าเราซื้อ เราก็จะซื้อตามมาตรฐานของกรมการข้าวอยู่แล้ว เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการก็จะทราบว่ารายละเอียดต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้พี่น้องเกษตรกรในทั้งประเทศได้ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดี แล้วก็ได้มาตรฐานทางกรมการข้าวที่เข้ามาดูทั้งหมดในระบบ การผลิตทั้งหมด วันนี้เราเริ่มต้นเริ่มปฐมมีฤกษ์ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ในปีที่ต่อไปก็จะมีศูนย์ในสุพรรณบุรี แล้วก็จะมีศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวตั้งพื้นที่สุพรรณบุรี แล้วการรับซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวก็จะสะดวกมากขึ้น แต่ในเบื้องต้นนี้จะใช้ศูนย์เมล็ดพันธุ์ของราชบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ และลพบุรี เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการพื้นที่ตรงนี้ เพื่อให้เกิดความสะดวกกับพี่น้องเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการกับกองเมล็ดพันธ์ข้าว
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/