ประจวบคีรีขันธ์-รมว.เกษตรฯเปิดงานมหกรรมยางพาราภาคใต้

ประจวบคีรีขันธ์-รมว.เกษตรฯเปิดงานมหกรรมยางพาราภาคใต้

ภาพ/ข่าว:ชำนาญ พึ่งเจาะ

รมว.เกษตรฯเปิดงานมหกรรมยางพาราภาคใต้ ที่ปราณฯ

         เมื่อวานเย็นนี้ ที่หน้าสำนักงานเทศบาลตำบลปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มาเป็นประธานการเปิดงาน มหกรรมยางพาราภาคใต้ ”เปิดประตูสู่เมืองยาง นวัตกรรมนำการผลิต” โดยมี รองผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทยพร้อมคณะฯ และ นายพัลลภ สิงหเสนี ผวจ.ประจวบฯ นายภิรมย์ นิลทยาง รอง.ผวจ.ประจวบฯ นายกิตติพงษ์ สุขภาคกุล ปลัดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และหัวหน้าส่วนราชการในกระทรวงเกษตรฯและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ร่วมให้การต้อนรับ
           ซึ่งในงานดังกล่าวจัดให้มีขึ้นเพื่อส่งเสริมคุณภาพเกษตรกรที่ปลูกยางพาราในภาคใต้ 15 จังหวัด ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น หลังจากที่มีราคายางตกต่ำอย่างต่อเนื่อง รัฐมนตรีเฉลิมชัยยังได้กล่าวว่า ประเทศไทย มีการส่งออกยางไปสู่ทั่วโลกเป็นอันดับ 1 และส่งไปยังประเทศจีนมากเป็นอันดับ 1 ด้วย และด้วยสถานการณ์ที่ประเทศจีนในเวลานี้ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโควิด 19 จำเป็นต้องปิดประตูนำเข้าทุกเส้นทาง เพื่อป้องกันโรคที่จะติดต่อ จึงทำให้ประเทศไทยเราได้รับผลกระทบอย่างหนักในภาคส่งออกเกี่ยวกับการสินค้าของเกษตรทุกชนิด ที่จะส่งไปยังประเทศจีนในขณะนี้ และยังต้องหาตลาดการค้าเพิ่ม เพื่อชาวสวนยางจะได้ขายมีราคาเพิ่มขึ้น
           และในยุค4.0 ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้นำเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในภาคใต้ 15 จังหวัดมาให้ความรู้ในการพัฒนา และมีนวัตรกรรมใหม่ๆ ออกมาแข่งขันไปสู่ต่างประเทศอีกด้วย นายเฉลิมชัย ยังได้กล่าวอีกว่า ทางรัฐบาลเป็นห่วงพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในภาคใต้ 15 จังหวัด รัฐบาลจะสนับสนุนทุกช่องทางเพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้อยู่ดีกินดีตลอดไป อนึ่งฯ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับยางพาราของประเทศไทยจากภาคใต้นั้น เมื่อมีการส่งไปยังประเทศจีนโดยเฉพาะที่เมืองเฉินตู นั้นจะมีโรงงานนำยางแผ่นดิบแปรสภาพออดมาเป็น ที่นอน หมอน และอื่นๆ ขายให้นักทาองเที่ยวชาวไทยและส่งกลับมาขายในประเทศเป็นสินค้าแปรรูปที่มีผลกำไรที่ดีมาก จึงทำให้จีนมีศักยภาพในการแปรและทำสินค้าให้เป็นสินค้าส่งออกนอกประเทศ
              เมื่อปี 2562 นั้น ผู้สื่อข่าวและคณะของทางมหาวิทยาลัยฯ ราชมงคลฯวังไกลกังวล ได้เข้าชมโรงงานแปรรูปยางพาราดังกล่าวซึ่งทาง จนท.ของโรงงานก็ได้ชี้แจงรูปแบบและการผลิตให้ได้ทราบ และขณะนี้ก็พบอีกว่า ทางรัฐบาลจีนมีการนำเอาต้นกล้าพันธ์ยางพาราจากไทยไปปลูกในมณฑลและเมืองที่มีสภาพอากาศคล้ายๆกับประเทศไทย ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสำรองวัตถุดิบเอาไว้ถ้ายางแผ่นดิบลมควันขากไทยและจากอินโดนนีเซีย มาเลเซีย ขาดแคลนหรือว่าการจัดส่งเข้ามีปัญหา ผู้สื่อข่าว ได้รับแจ้งจากชาวสวนยางของภาคใต้ว่า ถ้ารัฐบาลไทยจะให้ยางพาราไทยโดยเฉพาะ”ยางแผ่น”มีราคาที่ดีแล้วต้องมีโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปให้เป็นสินค้าที่มีคุณค่าขึ้นมาในประเทศและมีการประกันราคาในการผลิต ควบคุมการปลูกและให้เกษตรกรที่เป็นชาวบ้าน ครอบครัว ที่มีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ 10 ไร่ เหล่านี้แหละได้รับรูปแบบของการดูแลและการสนับสนุนจากทางกระทรวงเกษตรฯ ให้เป็นระบบที่ดีแล้วมันจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ตรงกับเป้าหมายที่ถูกต้องแบบครบวงจร ครับ.

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!