อุบลราชธานี-นำสารวัตรเกษตรเก็บตัวอย่างปุ๋ยปลอม
ภาพ/ข่าว:เอนก ธรรมใจ
องค์การสืบสวนการทุจริต(FIO)นำสารวัตรเกษตรเก็บตัวอย่างปุ๋ยปลอมโครงการ กองทุนหมู่บ้านฯ 200,000 บาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2563 ดร.ก้องภพ วังสุนทร ประธานกรรมการบริหาร องค์การสืบสวนการทุจริต (อสท.) หรือ FIO ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า หลังจากเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563 เจ้าหน้าสารวัตรเกษตร พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองอุบลราชธานี ได้ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างปุ๋ยหรือวัตถุสงสัยว่าเป็นปุ๋ย ของกองทุนหมู่บ้านฯ จำนวน 6 ได้แก่หมู่ 1, 5, 6, 12, 13 และ หมู่ 14 ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อนำไปตรวจสอบและวิเคราะห์ ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ตาม พ.ร.บ.ปุ๋ย พ.ศ. 2518 (แก้ไข พ.ศ. 2550) เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าวของผู้ผลิต ผู้ขาย และกรรมการกองทุนหมู่บ้าน มีการกระทำแห่งความผิดเข้าข่ายกระทำฝ่าฝืนพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.ศ. 2550) ดังนี้
มาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง ผู้ใดผลิตและขายปุ๋ยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีบทกำหนดโทษตาม มาตรา ๕๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ฝ่าฝืน
มาตรา 21 / 2 (4) ไม่จัดให้มีฉลากภาษาไทยที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุปุ๋ยอินทรีย์ฯ ต้องระวางโทษตามมาตรา 61 วรรคสอง จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 30 (1) ผู้ใดผลิตเพื่อการค้า ขาย ปุ๋ยปลอม ซึงมีบทกำหนดโทษตาม มาตรา ๖๓ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสองล้านบาท และมาตรา 64 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท มาตรา 30 (4) ผู้ใดผลิตหรือขายปุ๋ยอินทรีย์ต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง ผู้กระทำผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงหนึ่งปีสามเดือน และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท และมาตรา 70 วรรคสอง มีโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนสิบห้าวันถึงเก้าเดือน และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา 32/2 ปุ๋ยอินทรีย์หรือวัตถุที่มีลักษณะ ที่ถือว่าเป็นปุ๋ยอินทรีย์ปลอม มาตรา 43 ผู้โฆษณาขายปุ๋ยจะต้อง (1) ไม่แสดงสรรพคุณปุ๋ยเป็นเท็จหรือเกินความจริง (๒) ไม่ทำให้เข้าใจว่ามีวัตถุใดเป็นตัวปุ๋ย หรือเป็นส่วนประกอบของปุ๋ย ซึ่งความจริงไม่มีวัตถุหรือส่วนประกอบนั้นในปุ๋ย หรือมีแต่ไม่เท่าที่ทำให้เข้า (3) ไม่มีการรับรองหรือยกย่องสรรพคุณปุ๋ยโดยบุคคลอื่น ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 72/1 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดร.ก้องภพ กล่าวสรุปทิ้งท้ายว่า ตอนนี้มีหลักฐานว่ากองทุนหมู่บ้านเขียนโครงการปุ๋ย เพื่อขออนุมัติงบประมาณ 200,000 บาท จาก กทบ.แห่งชาติ หลังจากมีเงินโอนเข้าบัญชีกองทุนหมู่บ้านแล้วก็ดำเนินการจัดซื้อปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่มีฉลากใดๆ เป็นกระสอบปุ๋ยเปล่าๆ ต้องติดตามต่อไปว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจและสารวัตรเกษตร รวมทั้ง กทบ.แห่งชาติ จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดหรือไม่? เพราะคดีนี้เป็นที่สนใจของประชาชนทุกหมู่บ้านและชุมชน 8 หมื่นกว่าแห่งทั่วประเทศ เนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัวของพี่น้องชาวฐานรากทุกคน
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/