สุพรรณบุรี-การสัมมนาแก้ไขปัญหาราคาอ้อยตกต่ำภายหลังวิกฤติโควิด-19

สุพรรณบุรี-การสัมมนาแก้ไขปัญหาราคาอ้อยตกต่ำภายหลังวิกฤติโควิด-19

ภาพ/ข่าว:มงคล สว่างศรี

อบต.บ่อสุพรรณจัดโครงการสัมมนาแก้ไขปัญหาราคาอ้อยตกต่ำภายหลังวิกฤติโควิด-19

          ที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 19 ก.ค.63 นายวราวุธ ศิลปอาชา รมต.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมอบหมายให้นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการจัดสัมมนา เรื่องราคาอ้อยหลังวิกฤติโควิด-19 ของคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อสุพรรณ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ส.ส.สุพรรณบุรี ประธานคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม สภาผู้แทนราษฎร นายนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยคณะวิทยากร จากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยพลตำรวจเอกวิระชัย ทรงเมตตา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และประธานที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการ นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และนายพนม ตะโกเมือง อุปนายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 7
          โดยมีนายไพฑูรย์ วงค์วีรกูล นายอำเภอสองพี่น้อง นายธนวัน ตันติเกษตรกิจ นายกอบต.บ่อสุพรรณ นายธานี ฉัตรนภารัตน์ นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งคอก นางเรณู พลเสน นายกเทศมนตรีตำบลปลายนา พร้อมด้วยเกษตรกรไรอ้อยประมาณ 300 คน ให้รับการต้อนรับพร้อมรับฟังแนวทางการแก้ปัญหาราคาอ้อยในช่วงเวลา 3 เดือนที่ผ่านมาโลกได้ประสบปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 ซึ่งในประเทศไทย ก็มีการพบว่ามีผู้ติดเชื้อ อยู่ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การระบาดดังกล่าวได้ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งมีภารกิจหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร กระบวนการผลิตและสินค้าเกษตรกรรมเพื่อยกระดับให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรดีขึ้นซึ่งการระบาดของโรคโควิด19 ทำให้เกิดผลกระทบต่อภาคการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 อาทิ โครงการสินเชื่อ ฉุกเฉินสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 การเยียวยาเกษตรกรรับเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือนอีกครั้งได้มีการเตรียมเสนอโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมด้านการเกษตรจากผลกระทบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เพื่อขอใช้วงเงิน 4 แสนล้านบาท ภายใต้ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบ จากการระบาดของโควิดซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกรได้เห็นชอบกรอบการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมด้านการเกษตร โดยใช้หลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเน้นการสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรแรงงานคืนถิ่น และสถาบันการเกษตรกรให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบ Area based Approach ด้วยการบูรณาการทำงานของหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งโครงการที่เป็น Function-based เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่
          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เกี่ยวข้องตามกรอบพื้นฟูเศรษฐกิจ 3 กรอบ คือ ด้านเพิ่มศักยภาพและยกระดับการผลิต ด้านเศรษฐกิจฐานรากเศรษฐกิจชุม และด้านสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและสนับสนุนกระบวนการผลิต โดยทั้ง 3 กรอบมีโครงการที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงการยกระดับเกษตรแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาดโครงการ Big Data ด้านเกษตร เพื่อคาดการณ์เศรษฐกิจการเกษตรต่อผลกระทบไวรัสโควิด-19 รองรับพฤติกรรม New Normal และฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศ
          ส่วนการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย ที่ผ่านมารัฐบาลได้มีนโยบายหรือมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยหลากหลายมาตรการ เช่น มาตรการช่วยเหลือด้านปัจจัยการผลิต มาตรการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยโดยการจัดหาเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรเพื่อตัดอ้อยสด อีกทั้งในปี 2536 รัฐบาลได้อนุมัติโครงการเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อซื้อปัจจัยการผลิตวงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวนี้สามารถช่วยเหลือให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนั้น การสัมมนาในครั้งนี้ที่คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรมได้จัดขึ้น จึงเป็นประโยชน์อย่างมากแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งถือเป็น 1 ในจังหวัดภาคกลางที่ประชาชนในพื้นที่นิยมประถอบอาชีพทำไร่อ้อย เพื่อให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของการจัดงาน และใช้โอกาสในการสัมมนาครั้งนี้ ในการแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนทรรศนะและประสบการณ์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงไปสู่ข้อเสนออันจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาราคาอ้อยได้ต่อไป

สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!