เชียงใหม่- ม.แม่โจ้ จัดพิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัย
ภาพ-ข่าว:ฝ่ายสื่อสารองค์กร ม.แม่โจ้
ม.แม่โจ้ จัดพิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัย และนำเสนอผลงานวิจัยเด่น พร้อมเปิดตัวพืชสายพันธุ์ใหม่ เตรียมต่อยอดงานวิจัยเชิงพาณิชย์ “Maejo Licensing and Pitching Day 2020”
วันที่ 25 กันยายน 2563ตั้งแต่ เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป อุทยานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร (MAP) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดให้มีพิธีลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัยและนำเสนองานวิจัยเด่น “MJU Licensing and Pitching Day 2020” พร้อมเปิดตัวพืชสายพันธุ์ใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิด และกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน ณ อาคารพัฒนาวิสัยทัศน์ ชั้น 2 มหาวิทยาลัยแม่โจ้
งานในครั้งนี้เพื่อให้เกิดการตื่นตัวและกระตุ้นแนวคิดเรื่องการนำนวัตกรรมไปใช้ในการเชื่อมโยงองค์ความรู้และภูมิปัญญาจากผลงานวิจัย ให้สามารถนำไปต่อยอดและขยายผลให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรมโดยผ่านช่องทางการอนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัย และเป็นการประกาศเกียรติคุณสำหรับนักวิจัยและผู้ประกอบการทุกท่านที่มีส่วนส่งเสริมสนับสนุนให้มีนำผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย ไปสู่กระบวนการธุรกิจเชิงพาณิชย์อย่างมีศักยภาพ
ผลงานวิจัยที่จะเข้าร่วมลงนามอนุญาตใช้สิทธิในผลงานครั้งนี้มี จำนวน 6 ผลงาน ได้แก่ ชื่อผลงาน สูตรอาหารสัตว์น้ำที่มีส่วนผสมของปาเปนและกรรมวิธีผลิต และกระบวนการที่เกี่ยวข้อง ผลงานโดย ผศ.ทิพสุคนธ์ พิมพ์พิมล คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ร่วมกับ บริษัท เอ็ม ที เกษตรแปรรูป จำกัด ชื่อผลงาน กระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพอาหารเสริมจากสมุนไพรโดยใช้เทคโนโลยีพลาสมา ผลงานโดย อาจารย์ ดร.กีรติญา จันทร์ผง อาจารย์ ดร.สุรีย์พร สราภิรมย์ และ ผศ.ดร.นลิน วงศ์ขัตติยะ คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ บริษัท รีอิน (ประเทศไทย) จำกัด ชื่อผลงาน กรรมวิธีการผลิตน้ำส้มสายชูหมักจากเนื้อผลกาแฟและผลิตภัณฑ์กาแฟในน้ำส้มจากเนื้อผลกาแฟพร้อมดื่มเพื่อสุขภาพ และกระบวนการที่เกี่ยวข้อง ผลงานโดย ผศ.ดร.กาญจนา นาคประสม คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ร่วมกับ บริษัท ฮิลล์คอฟฟ์ จำกัด ชื่อผลงาน ระบบจับคู่ผสมพันธุ์ปลานิลและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง ผลงานโดย ผศ. ดร.นิสรา กิจเจริญ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนวิถียั่งยืน เกษตรอินทรีย์สารภี เชียงใหม่ ชื่อผลงาน กระบวนการสกัดพืชสมุนไพร ผลงานโดย ผศ.ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ร่วมกับ บริษัท ปัญญาไท จำกัด ชื่อผลงาน กระบวนการเคลือบแผ่นกรองเส้นใยปอสาเพื่อเพิ่มสมบัติการสะท้อนน้ำและการเพิ่มมูลค่าเส้นใยปอสา เพื่อผลิตหน้ากากอนามัยชนิด 3 ชั้น ผลงานโดย อาจารย์ ดร.ธวัฒน์ สร้อยทอง ผศ.ดร.สุพัตรา วงศ์แสนใหม่ ผศ. ดร.เรวดี วงศ์มณีรุ่ง ผศ.ดร.ปราณรวีร์ สุขันธ์ อาจารย์ ดร.เนตราพร ด้วงสง และ ผศ.ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล คณะวิทยาศาสตร์ และคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ร่วมกับ บริษัท ซิมพลิ เด็คคอร์ จำกัด
โอกาสเดียวกันนี้ ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้มีการเปิดตัวพืชสายพันธุ์ใหม่ ผลงานของ ผศ.ดร.เฉลิมศรี นนทสวัสดิ์ศรี คณะผลิตกรรมการเกษตร ซึ่งเป็นการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ จากการผสมพันธุ์ดอกปทุมมาและดอกกระเจียวพลอยไพลิน ทำให้ได้พืชสายพันธุ์ใหม่ 3 ตัว ได้แก่ 1.) แม่โจ้กรีนเพิร์ล 2.)แม่โจ้ไวท์เพิร์ล 3.)แม่โจ้พิ้งค์เพิร์ล ที่มีความสวยงามโดดเด่น มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่สามารถต่อยอดเป็นการผลิตเพื่อการค้าต่อไปในอนาคต ถือเป็นอีกผลงานสำคัญของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่น มีศักยภาพและความพร้อมที่จะพัฒนาไปสู่การสร้างธุรกิจนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม อีกจำนวน 5 ผลงาน ได้แก่ เรื่อง อุปกรณ์ตรวจตัวอ่อนในปศุสัตว์ โดย ผศ.ดร.วิวัฒน์ พัฒนาวงศ์ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง ระบบควบคุมไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวต้นทุนต่ำสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย โดย รศ.ดร.พูนพัฒน์ พูนน้อย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร และ อาจารย์ นนท์ ปิ่นเงิน และคณะบริหารธุรกิจ เรื่อง กระบวนการผลิตสิ่งทอต้านเชื้อแบคทีเรียและแมลงด้วยไมโครแคปซูล โดย รศ.ดร.อรุณี คงดี อัลเดรด คณะวิทยาศาสตร์ เรื่อง การก่อหม้อและกรรมวิธีการผลิตสิ่งนั้น โดย รศ.ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เรื่อง ตู้ปลูกสตอเบอรี่ในระดับอุตสาหกรรม โดย ผศ.ดร.สิริวัฒน์ สาครวาสี คณะผลิตกรรมการเกษตร
ภายในบริเวณงานยังมีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยที่ร่วมลงนามอนุญาตให้ใช้สิทธิ และผลงานวิจัยเด่นอีกหลายผลงาน ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงาน ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชนเป็นอย่างยิ่ง