อยุธยา–พช.พัฒนาเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวยกระดับศูนย์ OTOP Outlet
ภาพ -ข่าว:นราเอก ตันศิริ / นพดล บำเพ็ญสัตย์
พัฒนาชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจัดโครงการพัฒนาและเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และศาสนา เสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากชุมชน สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ยกระดับศูนย์ OTOP Outlet เป็นศูนย์กลาง
เมื่อเวลา 16:00 น.วันที่ 25 กันยายน 2563 ที่ลานอีเวนท์ปาร์ค เอ (Event Park A) อยุธยาซิตี้พารค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายกิจจา ทองแดง พัฒนาการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้เป็นผู้กล่าวรายงาน ในการเปิดโครงการพัฒนาและเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และศาสนา กิจกรรมหลัก เสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากชุมชน สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน มหกรรมย่อยที่๒ยกระดับศูนย์ OTOP Outlet ให้เป็นศูนย์กลางารพัฒนผลิตภัณฑ์ชุมชนครบวงจร โดยมี นางสาวนุชนาถ ประทีปธีรานันต์ รองผู้ว่ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานในพิธีเปิด
นายกิจจา ทองแดง พัฒนาการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า รัฐบาลกำหนดนโยบาย “มั่นคงมั่นคั่งยั่งยืน” โดยมีแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีเป็นแนวทางในการกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบนได้กำหนดวิสัยทัศน์ “เมืองแห่งคุณภาพชีวิต แหล่งของนวัตกรรมศูนย์กลางการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและการผลิตอาหารปลอดภัย” โดยมีประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและความร่วมมือกับสถานประกอบการสถานศึกษา และชุมชนเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม และเกษตร เชิงสร้างสรค์ เพื่อให้ผู้ผลิตผู้ประกอบการสามารถพัฒนาตนเองสู่การแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
กลุ่มจังหวัตภาคกลางตอนบนเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยมี ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นสิ่งเชื่อมโยงชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมภูมิปัญญาดังกล่าว ทำให้ เกิดแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนที่หลากหลาย เช่น ผลิตภัณฑ์ด้านอหารสมุนไพรของใช้ของที่ระลึกต่างๆซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเกิดจากภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นซึ่งการผลิตสินค้ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาดังกล่าวในหลายผลิตภัณฑ์นั้น ยังขาดการพัฒนาเพื่อต่อยอดภูมิปัญญาให้มีมูลค่เพิ่มสร้างรายได้โดยใช้นวัตกรรมจากภูมิปัญญาทำให้เกิดผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ที่สามารถพัฒนาต่อยอดไปสู่การจำหน่ายในระดับสากลได้ การพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการพัฒนามีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการเนื่องจากปัจจุบันสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิภาคต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศที่มีคุณภาพสูง ล้วนเข้าสู่กระบวนการพัฒนา เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งสิ้น ดังนั้น จึงต้องดำเนินกิจกรรมยกระดับศูนย์ OTOP Outet ให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนครบวงจร เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการสร้างนวัตกรรมผสมผสานพัฒนารูปแบบสินค้าเกษตรปลอดภัยและผลิตภัณฑ์ “สินค้าเชิงสร้างสรรค์” และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการสินค้าผลิตชุมชน เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจสร้งนสร้างรายได้ กระจายสู่ภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง