อุบลราชธานี-เยือนถิ่นประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านปากน้ำ นมัสการหลวงพ่อเงิน
ภาพ/ข่าว:กิตติภณ เรืองแสน
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เยือนถิ่นประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านปากน้ำ นมัสการหลวงพ่อเงิน อายุ 700 ปี ที่เมืองอุบลราชธานี
ชุมชน บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง หมู่ที่ 10 ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงชนบทสายอุบลฯ-ตาลสุม ระยะทางห่างจากตัวจังหวัดอุบลฯ 11 กิโลเมตร เนื่องจากที่หมู่บ้านแห่งนี้มีหาดทรายสวยงามชื่อหาดบุ่งสระพัง ชาวบ้านและคนในพื้นที่ใกล้เคียงจึงมักเรียกชื่อหมู่บ้านว่า บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง และที่ชุมชนหรือหมู่บ้านแห่งนี้ยัง มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย ด้วย ศิลปวัฒนธรรม ที่ลงตัว มาตั้งแต่โบราณกาล เพระพรั่งพร้อมด้วย เสน่ห์ แห่ง ธรรมชาติ หาดบุ่งสระพัง มหัศจรรย์ หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำมูล ผุดขึ้นมาช่วงเดือน เมษายนให้ประชาชนได้ลงเล่นน้ำคลายร้อนและสนุกสนานขนาดน้องๆพัทยาเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้ยังมีแหล่ง ท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และ ธรรมชาติ อีกมากมาย ที่หมู่บ้านแห่งนี้มี หลวงพ่อเงิน เป็น สัญลักษณ์ แห่ง วัฒนธรรม และ มหาศรัทธา เป็นที่รวมจิตใจ ของ ชาวบ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง และ ชุมชน ใกล้เคียง และ ประชาชนชาวภาคอีสานที่ มีความศรัทธา ใน หลวงพ่อเงินซึ่งเป็นพระพุทธรูป ศิลปะเชียงแสน ล้านช้าง อายุ ประมาณ 700 ปี ได้ขุดพบเมื่อ พ.ศ. 2515 ภายหลังจากมี ลำแสงประหลาด พุ่งจากจุดที่ค้นพบโดยลำแสงได้พุ่งขึ้นใส่ เครื่องบิน ทหารอเมริกันใน ยุคสมัยสงครามเวียตนาม ขณะบินลาดตระเวน บริเวณ วัดป่าพระพิฆเณศวร์ ริมฝั่งแม่น้ำมูล
สำหรับประวัติความเป็นมา ของ หลวงพ่อเงิน ได้มีการบอกเล่าประกอบเอกสารหลักฐานยืนยันสืบทอดกันมาว่า เมื่อคราว พระมงคลธรรมวัฒน์ (บุญจันทร์ จตฺตสลฺโล) เจ้าอาวาวัดบ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง ในสมัยนั้น ได้ สร้างพระอุโบสถมิตรภาพไทย-อเมริกัน ขึ้น ท่านได้นิมิตถึง ตาชีปะขาว มาบอกว่าที่ วัดป่าพิฆเณศวร์ ยังมีสมบัติอยู่มาก แต่ไม่สามารถที่จะนำขึ้นมาได้ พร้อมกับระบุตำแหน่งให้ทราบ ของบางอย่างเจ้าของเขาไม่ให้ ของบางอย่าง นำขึ้นมาก็จะเกิดอันตรายแก่ผู้ครอบครอง แต่ยังมีของสำคัญอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ควรที่จะอยู่ใต้แผ่นดิน อยากให้ไปเอาขึ้นมาเก็บรักษาไว้ เพื่อเป็น สมบัติของพระศาสนา ให้ลูกหลานได้เคารพสักการบูชา ของสิ่งนั้น คือ “ พระพุทธรูปเงิน ” จากนั้น ตาชีปะขาว ได้บอกต่อว่า พร้อมกับกล่าวต่อไปว่ารุ่งขึ้นจะเกิดพายุในตอนบ่าย ต้นตาล ภายในวัดจะหัก ปลายตาลหักไปทางทิศไหน ก็ให้ไป ขุดตรงที่ปลายตาลที่ล้มลง ครั้นแล้ว ชายในชุดขาวก็หายไป เมื่อตื่นเช้าขึ้นมา พระมงคลธรรมวัฒน์ เกิดความรู้สึกเป็นสุขเอิบอิ่มใจอย่างประหลาด ครั้นต่อมาก็ได้เกิดเหตุการณ์ดังนิมิต ขึ้นจริงๆ โดย ชาวบ้านได้เล่าถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นว่า ปกติต้นตาลเป็นต้นไม้ที่มีความแข็งแรง แม้ถูกลมพัดก็ยากที่จะหักโค่น แต่วันนั้นต้นตาลในวัดร้างเมื่อถูกลมที่ไม่แรงนักพัด ก็หักโค่นลงผิดปกติวิสัยสิ่งที่แปลกและน่าอัศจรรย์ คือแทนที่ต้นตาลจะล้มไปตามแรงลม แต่ต้นตาลกลับทวนกระแสลมล้มลงทางทิศเหนือ
หลังจากพระมงคลธรรมวัฒน์ นิมิต ก็ได้นำชาวบ้านไปที่วัดป่า แล้วจุดธูปเทียน เครื่องสักการะบูชาคุณพระรัตนตรัย คุณบิดามารดา คุณครูบาอาจารย์ พร้อมกับอธิษฐานจิตอย่างแน่วแน่และมั่นคงว่า “ หากเป็นจริงดังนิมิต ท่านก็จะรักษาพระพุทธรูปไว้ให้เป็นที่เคารพสักการบูชาของลูกหลานและพุทธศาสนิกชนสืบไป ขออย่าได้มีอุปสรรคใดๆ มาขัดขวาง” ครั้นแล้วก็ขุดตรงที่ปลายต้นตาลหักลงตามนิมิต เมื่อขุดลงไปลึกประมาณชั่วคนยืน ก็ได้พบแผ่นศิลา 4 เหลี่ยมถูกจัดไว้ในลักษณะหีบ มีความสวยงาม อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ทุกประการ ถูกฝังอยู่ใต้ดิน ลักษณะของการฝังผู้ฝังมีการเตรียมการไว้อย่างดี เมื่อนำขึ้นมาเปิด ฝาหีบออกก็ปรากฏว่า ภายในหีบศิลานั้นมีทรายเนื้อละเอียดสีขาวใสบริสุทธิ์เต็มหีบศิลานั้น เมื่อทรายต้องแสงอาทิตย์ก็ส่องประกายวาว ระยิบระยับ เมื่อนำทรายออกมา ก็เห็น พระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อเงินบริสุทธิ์ ประดิษฐาน อยู่ภายใน หีบศิลานั้น ดังนิมิต พระมงคลธรรมวัฒน์จึงน้อมลงกราบด้วยปีติและศรัทธาที่ตั้งมั่น
จากนั้น ท่านได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ วัดปากน้ำ และถวายนามว่า “ หลวงพ่อเงิน” โดยกำชับชาวบ้านมิให้นำเรื่องนี้ไปบอกกล่าวให้ใครฟัง การที่ท่านกำชับไม่ให้ชาวบ้านนำเรื่องนี้ไปเล่าให้ใครฟัง เนื่องจากเกรงจะเกิดปัญหาและถูกยึดไปเป็นสมบัติของหลวงเหมือนเมื่อครั้งขุด พระพิฆเณศวร์ ได้ ส่วน หีบศิลาหินทราย ท่านให้นำไปวางไว้ ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ ภายในบริเวณวัดป่าแห่งนี้ นัยว่าเพื่อเป็นการบูชาพระพุทธองค์ ต่อมา ต้นโพธิ์ก็ได้ห่อหุ้มหีบศิลานั้นเอาไว้แล้วกลืนหายไปตามกาลเวลา พระมงคลธรรมวัฒน์ เล่าว่า เมื่อครั้งชาวบ้านขุดพบ พระพิฆเณศวร์ที่บริเวณวัดป่าแห่งนี้ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส ป.ธ. 5 พุทธศักราช 2482-2499) ทราบข่าว ท่านได้ออกมาตรวจสอบและขอไป ปัจจุบัน พระพิฆเณศวร์ถูกนำไปเก็บไว้ที่วัดสุปัฏนาราม เมืองอุบลราชธานี เมื่อมีการขุดพบ พระพุทธรูป ตามที่ปรากฏใน นิมิตของ หลวงพ่อพระมงคลธรรมวัฒน์ ชาวบ้าน ทุกคนจึงถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องรักษาหลวงพ่อเงินเทพนิมิตไว้เป็นมรดกของลูกหลานในหมู่บ้าน ซึ่งทุกวันนี้มีพุทธศาสนิกชน จากทั่วสารทิศ ได้แห่มากราบไหว้ขอโชคลาภและขอพรมงคลชีวิต จากหลวงพ่อเงินอย่างไม่ขาดสาย รวมทั้งบรรดานักเสี่ยงโชคที่ทราบข่าวคนดูแลวิหารหลวงพ่อเงินถูกหวยทุกงวด ต่างก็เดินทางมาขอหวยหรือเลขเด็ดด้วย ในปัจจุบัน วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง ยังมี พิพิธภัณฑ์ บ้านปากน้ำ (บุ่งสระพัง) ซึ่งเป็น แหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนเมื่ออดีตกาล ภายในพิพิธภัณฑ์ ได้รวบรวมจัดแสดงเครื่องไม้เครื่องมือในการประกอบอาชีพของชาวบ้านลุ่มน้ำบุ่งสระพังอย่างมากมาย และวัดปากน้ำ บุ่งสระพัง ยังเป็น สำนักเรียน เปิดทำการสอน แผนกนักธรรม , พระปริยัติธรรม แผนกสามัญ และ แผนกบาลี โดย พระศรีวิสุทธิมุนี เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ (บุ่งสระพัง) หลวงพ่อเงิน 700 ปี เปรียญธรรม 8 ประโยค รองเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ท่านเจ้าอาวาส รูปปัจจุบัน ผู้สืบทอด เจตนารมย์ และ สืบสาน งานพัฒนา ต่อจาก พระมงคลธรรมวัฒน์ ด้วยเดชะบุญบารมี อันสูงส่ง ต่อ ชุมชน และมี เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ แห่ง วัดสระเกศ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และ ท่าน เจ้าคุณพระวิจิตรธรรมาภรณ์ ( เทอด วงศ์ชะอุ่ม ) เป็นองค์อุปถัมภ์ วัดปากน้ำ บุ่งสระพัง จ.อุบลราชธานี แห่งนี้
บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง นอกจาก มี หลวงพ่อเงิน เป็นที่ ศรัทธา ของ มหาชน แล้ว ยังมี แหล่งท่องเที่ยว ชื่อดัง ริมเมือง นั่นคือ หาดบุ่งสระพัง ซึ่งเป็นหาดน้ำจืด ริมฝั่ง แม่น้ำมูล น้ำใสสะอาด สามารถเล่นน้ำได้ในฤดูน้ำลด ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือน เมษายน ของแต่ละปี นอกจากนี้ที่หาดดังกล่าวยังมีร้านอาหาร แพอาหาร และภัตตาคารริมน้ำ ทอดยาวเกือบสองกิโลเมตรไปตามริมฝั่งแม่น้ำมูล ทั่วบริเวณหาดบุ่งสระพัง นักท่องเที่ยวและ ผู้มาเยี่ยมเยือนเมืองอุบลฯ ต่างรู้จักหาดแห่งนี้เป็นอย่างดี เมื่อมาที่นี่นักท่องเที่ยวนิยม ล่องเรือ ชม แม่มูล และ ล่องเรือ ชม บุ่งสระพัง นอกจากนี้ที่บ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง ยังมี สถานที่ท่องเที่ยว อื่น ๆ ภายใน พื้นที่ อาทิเช่น วัดป่าพระพิฆเณศวร์ ศาสนสถาน ประกอบพิธีพรามหม์ ใน ยุคอาณาจักรขอม ที่เจริญรุ่งเรือง ในอดีต วัดป่าพระพิฆเณศวร์ แห่งนี้ เป็นที่ ขุดพบ หลวงพ่อเงิน, พระพิฆเณศวร์ หินศิลา ศิวลึงค์ และ ฐานโยนี แท่งศิลา จารึก ต่าง ๆ รวมทั้ง แหล่งศึกษา พันธุ์ไม้ธรรมชาติ ป่าดงธรรมชาติ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ ดงปู่ตา “ ซึ่ง เป็นพื้นที่ ป่าสงวน และ ยังมี บ่อน้ำผุด ธรรมชาติ มี น้ำเย็น ใส สะอาด บ่อน้ำผุด แห่งนี้ได้ไหล มาจาก ใต้ดินตลอดเวลา ไม่มีเหือดแห้ง ตลอดทั้งปี สันนิษฐานว่าใน ยุคอาณาจักรขอม เจริญรุ่งเรือง บ่อน้ำผุด ดงปู่ตา บ้านปากน้ำ เป็น น้ำบ่อ อันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อคราวครั้งอดีต เพื่อใช้ ในการประกอบพิธีกรรม ทาง ศาสนาพราหมณ์ อันเนื่องจาก บ่อน้ำผุด แห่งนี้ ตรงตาม หลักพิธีกรรม ศาสนาพราหมณ์นั่นคือ หากสถานที่ใด เป็น ศาสนสถาน ในการ ประกอบพิธีกรรม ของ ขอม ในระยะ ใกล้เคียง แห่งสถานที่แห่งนั้น จะต้องมี น้ำผุด น้ำโจ้ก ซึ่งถือว่าเป็น บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่ง เป็น ส่วนหนึ่ง ในการใช้ ประกอบพิธีกรรม ทางศาสนา ของ พราหมณ์ อีกหนึ่ง ศาสนสถาน ตามรอย แห่งพระเกจิดัง แห่ง อีสาน “ เทพเจ้าแห่งอีสาน และ บูรพาจารย์ นั่นคือ หลวงปู่ดีโลด หลวงปู่รอด นนฺตโร “ ผู้บูรณะพระธาตุพนม ที่ นครพนม ใน อดีตซึ่งได้มาสร้าง และ ก่อตั้ง โนนวัด วัดเก่าแก่ ของ บ้านปากน้ำ เมื่อคราวครั้ง บ้านปากน้ำ ยังตั้งอยู่ ริมบุ่งสระพัง ในอดีต ดังนั้น หากนักท่องเที่ยวท่านใด มีโอกาสผ่านไปทางจังหวัดอุบลราชธานี อย่าลืมหาโอกาสและเวลา ไปแวะเยือนชุมชนบ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง ซึ่งเป็น สถานที่ ท่องเที่ยว ที่ท่านจะต้องลืมไม่ลง นอกจาก จะได้สักการะ หลวงพ่อเงิน แล้ว ท่านยังจะได้ เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ วิถีชีวิตของชาวชุมชนลุ่มน้ำมูน หรือล่องเรือหาความสุข หรือจะเลือกท่องธรรมชาติแบบเดินป่าและหลังจากเที่ยวกันเพลินจนเหน็ดเหนื่อย ท่านก็ สามารถ แวะเลือกรับประทานอาหารอันลือชื่อ รสชาติเป็นเลิศ พร้อมชมภูมิทัศน์ที่สวยงาม สลับกับการลงเล่นน้ำอันเย็นฉ่ำของแม่น้ำมูล ที่ หาดบุ่งสระพัง รับรองว่าท่านจะหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง และประทับใจจนต้องย้อนกลับมาเยือนบ้านปากน้ำ บุ่งสระพัง อีกอย่างแน่นอน
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/