ปทุมธานี-วิกฤตพิษภัยแล้งข้าวยืนต้นตาย คำรณวิทย์เดินหน้าแก้ปัญหา
ภาพ/ข่าว:อนันต์ วิจิตรประชา
วิกฤตพิษภัยแล้งข้าวยืนต้นตาย คำรณวิทย์เดินหน้าแก้ปัญหาให้เกษตรหนองเสืออย่างถาวร
เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 9 มีนาคม 2564 พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี พร้อมด้วยนายเสวก ประเสริฐสุข รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี และทีมงานลงพื้นที่เยี่ยมเกษตรที่ประสบภัยแล้งอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี พบว่าแปลงนาข้าวของชาวบ้าน หมู่ 3 ตำบลคลองเจ็ด อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ได้รับความเสียหายต้นข้าวยืนต้นตายจากคุณภาพของน้ำในคลอง ส่วนเกษตรกร ตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ต้องเรี่ยไรเงินบริจาคเพื่อสูบน้ำใช้ในแปลงเกษตร จากการสอบถาม นายชุมพล สาบประเสริฐ อายุ 75 ปี เกษตรกรชาวนา หมู่ 3 ตำบลคลองเจ็ด อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ตนเองปลูกข้าวจำนวน 10 ไร่ น้ำที่เราได้สูบไปใช้ในแปลงนาข้าวทำให้สภาพต้นข้าวช่วงปลายนาจะแห้งตาย โดยตนเองเสียหายประมาณ 2 ไร่ ในส่วนที่ต้นข้าวตายคาดว่าคงไม่ฟื้นแล้ว ส่งผลเสียผลผลิต จากจำนวน 10 ไร่ คงหายไปแล้ว 2 ไร่ คิดว่าที่ข้าวต้นยืนต้นตายสาเหตุมาจากคุณภาพของน้ำ เพราะเคยเป็นลักษณะแบบนี้มาก่อนในช่วงหน้าแล้งที่ผ่านมา ซึ่งอยากให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือ แต่หากช่วยเราไม่ได้เราชาวบ้านก็คงต้องช่วยตัวเองไปก่อน
นายบุญลาภ เดชแพง อายุ 45 ปี เกษตรกรชาวนา หมู่ 3 ตำบลคลองเจ็ด กล่าวว่า ตนเองทำนาจำนวน 20 ไร่ แปลงนาข้าวของตนเองนั้นได้รับผลกระทบจากคุณภาพของน้ำช่วงภัยแล้ง โดยแปลงนามีสภาพปลายนาต้นข้าวแห้งตาย เนื่องจากช่วงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ มีน้ำเค็มดัดเข้ามา ตนเองไม่ทราบจึงได้สูบมาใช้ในแปลงนาและระหว่างนี้อยู่ในช่วงหว่านข้าว ต่อมาจึงพบว่ามีข้าวในนาบางส่วนไม่ขึ้น ส่วนที่ข้าวขึ้นก็จะมีบางส่วนที่ข้าวยืนต้นตาย ซึ่งก็เหมือนกับปีที่แล้วที่ตนเองก็เคยประสบปัญหาแบบนี้ซึ่งครั้งนี้ตนเองมีต้นข้าวเสียหายถึง 3 ไร่
นายสมชาย ท้วนมัย อายุ 37 ปี เกษตรกรชาวนา หมู่ 3 ตำบลคลองเจ็ด กล่าวว่า สภาพของแปลงนาข้าวลำต้นของข้าวจะมีสีแดงเหมือนสนิมจากนั้นข้าวก็จะยืนต้นตาย และสภาพของดินในแปลงนาก็มีสีแดงเป็นคราบสนิมน้ำและมีลักษณะของตะไคร้สีน้ำตาลแดง ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ก็มีเสียหายแบบตนเองจำนวนมาก และกำลังขยายวงกว้างออกไป อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือในการผันน้ำให้หน่อย เอานำดีมาไล่น้ำเสียออกให้หน่อย ซึ่งปัจจุบันสภาพน้ำภายในคลองมีก็จริงแต่ไม่สามารถใช้ในการเกษตรได้ นางกุลริสา แย้มสำราญ อายุ 61 ปี เกษตรกรสวนกล้วย ตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ กล่าวว่า ตนเองได้รับความเดือนร้อนต้องควักจ่ายค่าน้ำมันกันเอง โดยการเรี่ยไรกันไร่ละ 130 บาท โดยป้าต้องจ่ายครั้งละกว่า 7,000 บาท เนื่องจากป้าปลูกกล้วยหอม จำนวน 50 ไร่ อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเข้ามาช่วยเหลือชาวบ้าน
ทางด้าน พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ได้รับการร้องขอความช่วยผ่านมาทาง สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีเป็นจำนวนมาก การที่เกิดภัยแล้งแล้วชาวบ้านต้องเรี่ยไรกันซื้อนำมันสูบน้ำและ คุณภาพของน้ำที่ทำให้พืชผลเสียหาย จึงเดินทางมารับทราบปัญหากับพี่น้อง ชาวเกษตรกร พบว่ากำลัง เดือดร้อนจากการขาดน้ำและคุณภาพน้ำจริง ตั้งแต่คลองเจ็ดถึงคลองสิบสามหนองเสือจึงได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกรมชลประทานเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ซึ่งปัญหาภัยแล้งที่อำเภอหนองเสือมีเป็นประจำแทบทุกปีซึ่งภัยแล้งควรหมดไปได้แล้ว ตนจึงมอบหมายให้ นายเสวก ประเสริฐสุข รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี พร้อมทีมงานได้ประชุมแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้กับ พี่น้องชาวเกษตรในจังหวัดปทุมธานีอย่างถาวรแล้ว ส่วน นายเสวก ประเสริฐสุข รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ในส่วนของคลองที่แห้งทาง นายก อบจ.ได้ประสานกับกรมชลประสานจะมีการดำเนินการลอกคลองและผันให้น้ำสามารถไหลเข้าพื้นที่ จน มีปริมาณน้ำมากให้เกษตรกรสามารถสูบน้ำได้ ส่วนการแก้ไขปัญหาอย่างถาวรนั้น เบื้องต้นตนเองได้ให้กองช่าง อบจ.ปทุมธานี สำรวจออกแบบตั้งแต่คลองเชียงรากน้อย เพื่อหาพื้นที่ตั้งโรงสูบ วางท่อขนาด 1.80 เมตร เพื่อสูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าคลองเชียงรากไหลผ่านเข้าคลอง 1 ไปจนถึงคลอง 12 โดยทุกคลองจะมีวาล์ว เพื่อที่จะเปิดลงคลอง โดยจะมีการสูบน้ำในช่วงน่าแล้ง ซึ่งเราจะประสานงานและทำงานร่วมกับกรมชลประทาน เพื่อแก้ไขปัญหาให้ชาวปทุมธานี ในอนาคตปทุมธานีจะต้องไม่มีภัยแล้งเกิดขึ้น เพราะเรามีทรัพยากรคือน้ำ จากแม่น้าเจ้าพระยาที่ไหลผ่านในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีของเรา.
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/