สุพรรณบุรี-ผู้เพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามผ่าตัดแปลงเพศกุ้งตัวผู้เพิ่มมูลค่าสู้โควิด19
ภาพ/ข่าว:มงคล สว่างศรี
ผู้เพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามสุพรรณผ่าตัดแปลงเพศกุ้งตัวผู้เพิ่มมูลค่าสู้โควิด19
ที่ จ.สุพรรณบุรี นายเดชา รอดระรัง หัวหน้าสำนักงานประมงจังหวัดสุพรรณบุรี เปิดเผยว่าจังหวัดสุพรรณบุรีมีผู้เลี้ยงกุ้งก้ามจำนวนมาก ประกอบด้วยฟาร์มเลี้ยงกว่า 2,042 ฟาร์ม และฟาร์มเพาะ เกือบ100 ฟาร์ม ปี 2562 มีผลผลิตกุ้งก้ามกราม 4-5,000 ตันช่วงที่เกิดโรคไวรัสโค 19 ระบาด เกษตรกรไม่สามารถจำหน่ายกุ้งได้ ทำให้กุ้งก้ามกรามมีราคาถูก จังหวัดสุพรรณบุรีจึงได้ระดมความคิดเห็นของผู้ประกอบการกุ้งก้ามกรามและผู้ที่เกี่ยวข้องว่าการที่จะพัฒนากุ้งก้ามกรามของจังหวัดสุพรรณบุรีมีอะไรบ้างทางเกษตรกรผู้ประกอบการผลิตกุ้งก้ามกรามมีความต้องการกุ้งก้ามกรามสายพันธุ์เพศผู้ล้วนและกุ้งที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ที่ดีส่งเสริมฟาร์มเพาะขนาดเล็กให้สามารถแข่งขันกับฟาร์มขนาดใหญ่ได้
จึงจัดทำโครงการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประกอบการแบบครบวงจร ได้แก่การผลิตกุ้งก้ามกรามเพศผู้ล้วน เพื่อยกระดับมาตรฐานการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม การตลาดการแปรรูป การตลาด โดยกิจกรรมที่1 คือการตั้งศูนย์เรียนรู้ มี ผศ.ดร.วิกรม รังสินธุ์ ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่เกษตรของจังหวัดสุพรรณบุรี โครงการนี้เราได้จัดอบรมให้ความรู้การผ่าตัดดึงต่อมกุ้งก้ามกรามตัวผู้ขนาดเล็กให้เป็นกุ้งตัวผู้ที่สามารถวางไข่เป็นกุ้งเพศผู้ล้วนได้ถึง 90 เปอร์เซ็นโดยใช้เวลาถึง 3 สัปดาห์ ติดต่อกันเพื่อให้เกษตรกรมีศักยภาพในการผลิตกุ้งก้ามกรามเพศผู้ล้วนซึ่งเป็นความต้องการของตลาดสามารถแข่งขันกับจังหวัดอื่นได้จึงโครงการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามจังหวัดสุพรรณบุรีแบบครบวงจรโดยตั้งศูนย์การเรียนรู้อบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการโรงเพาะฟักกุ้งก้ามกรามขึ้น 2 ศูนย์ ศูนย์ที่1อยู่ที่วชิรฟาร์ม ต.บางตาเถร ศูนย์ที่ 2 อยู่ที่ฟาร์มลูกกุ้งเมืองเหน่อ ต.บ้านช้าง อ.สองพี่น้อง ของคุณสมยศ สังข์ด้วง โดยครั้งแรกรู้สึกกังวลที่เอาองค์ความรู้เรื่องของเทคนิคเรื่องการผลิตกุ้งก้ามกรามเพศผู้ล้วนซึ่งต้องใช้กล้องขยายต่ำในการผ่าตัดดึงต่อมกุ้งก้ามกรามขนาดเล็กคิดว่าเกษตรกรคงทำไม่ได้แต่กลับได้รับความสนใจจากเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเข้ารับการอบรมกันจำนวนมากและผู้ที่เข้าอบรมสามารถทำได้ ถือว่าประสบความสำเร็จ ส่วนกุ้งที่ผ่าตัดดึงต่อมจะไม่เลี้ยงในบ่อดินเราจะอนุบาลในบ่อซีเมนในบ่อเพาะฟักเพื่อป้องกันการติดโรคประมาณ 5 เดือนกุ้งที่ดึงต่อมก็จะสร้างไข่สามารถนำมาเพาะขายพันธุ์ได้ จะมีการติดตามดูความก้าวหน้าดูผลสำเร็จ มีการตรวจโรคกุ้งโดยผศ.ดร.วิกรม รังสินธุ์ กุ้งที่จะเลี้ยงต้องปลอดโรคด้วยพร้อมกันนี้เราก็ได้มอบเกียรติบัตรให้กับเกษตรกรที่ผ่านการอบรมด้วย
ผศ.ดร.วิกรม รังสินธุ์ ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ กล่าวว่างหวัดสุพรรณบุรีขึ้นชื่อเรื่องเพาะพันธุ์กุ้ง เทคโลยีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็สามารถมาช่วยส่งเสริมและต่อยอดจากเดิมที่ผลิตลูกกุ้งขายราคา 3-7สตางค์ ให้มาเป็น 30 สตางค์ต่อตัวโดยอาศัยความสามารถของเกษตรกรแล้วเรามาช่วยต่อยอดอีกเล็กน้อยก็สามารถนำเทคโนโลยีผ่าตัดแปลงเพศกุ้งก้ามกรามที่ตนเป็นผู้คิดค้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงเศรษฐกิจได้ ขั้นตอนและวิธีการขั้นแรกคือการผ่าตัดคือการคัดเอาเฉพาะกุ้งตัวผู้อายุ 45 วันขึ้นไปซึ่งลักษณะแตกต่างระหว่างเพศเราจะเห็นได้ก่อนที่กุ้งตัวนั้นจะมีอัณฑะ พอเห็นก็จับหงายท้องอยู่ใต้กล้องใช้อุปกรณ์ที่ง่ายมากไม่มีการใช้สารเคมีใดๆทั้งสิ้นใช้แค่ปากคีบอันเดียวฝนให้แหลมตัดขาเดินเพื่อทำลายแหล่งฮอร์โมนเพศผู้ ซึ่งอยู่โคนขาถ้าเราตัดขาได้สวยงามเสียเลือดน้อยใช้เวลาน้อยไม่เกิน 2 นาทีกุ้งตัวนั้นถ้าเราเอาแหล่งฮอร์โมนออกได้ก็จะกลายเป็นเพศเมียเองโดยอัตโนมัติหลังจากนั้น 2 เดือนก็จะตรวจสอบว่ากุ้งตัวไหนเป็นตัวเมียและตัวเมียตัวนั้นเองจะเป็นแหล่งพันธุ์ที่ลูกกุ้งเพศผู้ได้ไม่ต่ำกว่า 90 เปอร์เซ็น ที่ผ่านมาเกษตรกรถนัดการเพาะพันธุ์แต่แหล่งที่ได้มาเป็นตัวผู้ 50 ตัวเมีย 50 เปอร์เซ็นแต่ถ้าสามารถทำให้กุ้งออกลูกเป็นตัวผู้ได้ก็จะทำให้ขายลูกกุ้งได้ในราคาที่สูงขึ้นวิธีการนี้เรียกว่าผ่าตัดลูกกุ้งตัวผู้ให้เป็นตัวเมียเพื่อนำไปผสมพันธุ์กับกุ้งตัวผู้ให้ออกลูกเป็นตัวผู้ ซึ่งเวลาขายจะได้ราคาที่สูงกว่ากุ้งตัวเมียและกุ้งตัวผู้ยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคด้วย
ทางด้านนายสมยศ สังข์ด้วง เจ้าของฟาร์มลูกกุ้งเมืองเหน่อเปิดเผยว่าการคัดพันธุ์กุ้งตัวผู้ตนเริ่มทำเป็นเจ้าแรกของ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยเริ่มแรกก็ดูจากสื่อหลายๆอย่างและได้อาจารย์ ผศ.ดร.วิกรม รังสินธุ์ ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาการทำกุ้งตัวผู้ให้ออกไข่ได้ก็เลยสนใจเพราะว่ากุ้งตัวผู้เป็นที่ต้องการของตลาดและราคาดีกว่าต้นทุนการผลิตของเกษตรกรก็ต่ำกว่าจึงไปศึกษาดูงานกับดร.วิกรม รังสินธุ์ และอาจารย์กับหัวหน้าเดชา รอดระรัง ประมงจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ให้ตนเปิดศูนย์เรียนรู้เรื่องกุ้งตัวผู้ล้วน ก็เลยลองทำดูหลังจากที่ลองเลี้ยงดูตนเห็นว่ากุ้งตัวผู้นั้นโตดีกว่ากุ้งตัวเมียและอัตราแลกเนื้อต้นทุนการผลิตก็ต่ำตนก็คิดว่าจะทำยังไงให้เป็นกุ้งตัวผู้ล้วนได้และก็ได้รับการสนับสนุนจากทั้ง 2 ท่านเมื่อประสบความสำเร็จแล้วก็จะได้เผยแพร่ความรู้ที่ได้รับจาก ดร.วิกรม รังสินธุ์ ให้เกษตรกรรายอื่นสามารถยืนได้ด้วยตัวเองมีการเลี้ยงที่พัฒนาขึ้นตอนนี้มีเกษตรกรหลายท่านสนใจเข้ามาร่วมโครงการที่ศูนย์ของตนประมาณ 20 รายผลที่จะได้รับต่อไปคือเกษตรกรจะมีรายได้ที่ดีขึ้นเพราะกุ้งตัวผู้ล้วนมีราคาสูงกว่าท้องตลาดถึง 2 เท่าตัวตลาดกำลังต้องการเยอะมากผลิตเท่าไหร่ก็ไม่พอขายข้อดีของกุ้งตัวผู้ล้วนคือ โตเร็วรอบเลี้ยงสั้นลง อาหารกินน้อย ราคาดีกว่าความต้องการของตลาดสูงมาก
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/