ประจวบคีรีขันธ์-ท่าอากาศยานหัวหิน“เปิดประตูสู่โลกกว้าง”

ประจวบคีรีขันธ์-ท่าอากาศยานหัวหิน“เปิดประตูสู่โลกกว้าง”

ภาพ-ข่าว:วันชัย เทียนสมบูรณ์

      รัฐบาลไทย กรมท่าอากาศยาน บริษัท ฟินิกซ์เอวิเอชั่นประเทศไทย จำกัด และบริษัท ฟีนิกซ์เอวิเอชั่นอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และท่าอากาศยานหัวหิน “เปิดประตูสู่โลกกว้าง”
        ที่ ท่าอากาศยานนานาชาติหัวหิน นายพัลลภ สิงหเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายอภิสิทธิ์ อุบลโกมุท ผู้อำนวยการท่าอากาศยานหัวหิน นายอุดร ออลสัน ประธานกรรมการ บริษัท ฟินิกซ์เอวิเอชั่นประเทศไทย จำกัด และมิสเตอร์ จอห์น ลาโรช ซีอีโอ บริษัท ฟีนิกซ์เอวิเอชั่นอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จากเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ได้ร่วมกันแถลงข่าวลงนามทำ MOU กับกลุ่ม บริษัท ฟินิกซ์เอวิเอชั่นประเทศไทย จำกัด และมิสเตอร์ จอห์น ลาโรช ซีอีโอ บริษัท ฟีนิกซ์เอวิเอชั่นอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จากเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ที่มีความภาคภูมิใจในการนำเสนอ Phoenix-Plan ซึ่งเป็นโครงการสำหรับริเริ่มทำให้ท่าอากาศยานหัวหินเป็นท่าอากาศยานนานาชาติแห่งแรกที่นำร่องแห่งหนึ่งของกลมการบิน ที่นอกจากจะทำให้ผู้โดยสารได้พบกับประสบการณ์ที่เหนือชั้นกว่าที่พบได้จากท่าอากาศยานแห่งอื่นแล้ว ยังจะเป็นท่าอากาศยานที่มีประสิทธิภาพทางด้านการบินในระดับโลก รวมทั้งจะช่วยทำให้ขีดความสามารถในด้านการดำเนินงานและการค้าของกรมท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นอีกด้วย
        นายอภิสิทธิ์ได้กล่าวถึง Phoenix-Plan เอาไว้ว่า “เป็นการริเริ่มครั้งสำคัญที่สุดเพียงครั้งเดียวของท่าอากาศยานหัวหินนับตั้งแต่ได้เริ่มดำเนินกิจการมา” ซึ่งคุณอุดรก็ได้กล่าวเสริมว่า “Phoenix-Plan ไม่เพียงแต่จะส่งผลอย่างมหาศาลต่อตัวท่าอากาศยานเท่านั้น แต่จะส่งผลอย่างมหาศาลต่อตัวเมืองหัวหินที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักที่ขึ้นชื่อในระดับโลกของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอีกด้วย เราเองก็คาดหวังว่า สิ่งที่เราริเริ่มจะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จากการที่เราสามารถนำนักท่องเที่ยวมายังหัวหินได้โดยตรง ซึ่งก็จะทำให้พวกเขาสามารถอยู่ในหัวหินได้นานวันขึ้น และการจับจ่ายใช้สอยในท้องถิ่นเศรษฐกิจในเมืองหัวหินและใกล้เคียงก็จะเพิ่มมากขึ้น”
         นายอุดร กล่าวถึงบริษัทในเครือฟินิกซ์ว่า เป็นการร่วมมือกันระดับนานาชาติ ระหว่างผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบินของโลกกับผู้เชี่ยวชาญของไทย ซึ่งไม่เพียงแต่ได้ก่อให้เกิดแหล่งความรู้ที่กว้างขวางเท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งประสบการณ์ในการทำงาน ทรัพยากร และการลงทุนมาสู่ประเทศไทยอีกด้วย คุณอุดรยังได้กล่าวต่อไปว่า “ไม่มีเวลาไหนที่จะเหมาะกับการเปิดตัว Phoenix-Plan เท่ากับในตอนนี้อีกแล้ว เพราะทั่วโลกกำลังฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และไทยก็กำลังจะเปิดประเทศอีกครั้งสำหรับการทำธุรกิจและการท่องเที่ยว

         นายอุดร ยังได้กล่าวอีกว่า การลงนามทำ MOU ในครั้งนี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติการร่วมทุน ที่ทางรัฐบาลกำหนดไว้ ซึ่งเป็นการร่วมมือและลงทุน ระหว่างภาครัฐและเอกชน ตนเองได้มีการหารือกับท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (ท่านรัฐมนตรี ถาวร เสนเนียม) ในขณะนั้น ได้มีการเดินทางมาลงพื้นที่ยังสนามบินหัวหิน เพื่อการผลักดันเป็นสนามบินนานาชาติในโครงการดังกล่าวที่ตนเองนำเสนอไป จนเรืองดังกล่าวผ่านความเห็นชอบ พร้อมตั้งงบประมาณขยายลันเวร์ของสนามบินหัวหิน เพื่อจะได้นำเครื่องบินขนาดโบอิ้ง 747 มาลงได้ ด้วยงบประมาณ250 ล้านบาท และในเวลานี้ผู้รับเหลาได้ตกลงทำสัญญาก่อสร้างเรียบร้อยแล้วและคลาดว่าภายใน 8 เดือนคงเสร็จ(ตามสัญญา) ทั้งนี้สายการบินต่างๆในเครือฯจะสามารถเริ่มบินได้ในต้นเดือนพ.ย.นี้ซึ่งเข้าช่วง High seasom พอดี ที่ทางรัฐบาลจะเปิดให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวในเมืองไทยได้ ในกลางปีนี้ ที่เป็นห่วงก็แต่เรื่องโควิด-19 เท่านั้น

         นายอุดร ยังได้กล่าวอีกว่า บริษัท ฟีนิกซ์เอวิเอชั่นประเทศไทย จำกัด เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ บริษัท ฟีนิกซ์เอวิเอชั่นอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางด้านการบินในฮ่องกง แล้วทั้งสองบริษัทก็ได้รวมตัวกันเป็นบริษัทในเครือฟีนิกซ์ ที่ตนเองดึงเข้ามาร่วมลงทุนในประเทศไทย โดยฉเพราะเรื่องสายการบิน ที่กลุ่มบริษัทฯ มีสายการบินอยู่จำนวนมากในหลายประเทศเวลานี้ ตนยังเชื่อมั่นว่าเมืองหัวหินและใกล้เคียงเศรษฐกิจจะต้องขยายตัวดีขึ้นแน่ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มโรงแรม รีสอร์ท ร้านค้าทั่วไป รวมทั้ง ร้านอาหาร
ซึ่ง นายมิสเตอร์ จอห์น ลาโรช ซีอีโอของบริษัทในเครือฟีนิกซ์อธิบายว่า “สิ่งที่บริษัทในเครือฟีนิกซ์ได้นำมาสู่ประเทศไทยและกรมท่าอากาศยานของไทย ก็คือความเชี่ยวชำนาญและความสนใจที่เรามีต่อสนามบินขนาดเล็กและสนามบินระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นส่วนของอุตสาหกรรมการบินที่มักจะถูกมองข้าม ในแง่ของการทำให้ผลประโยชน์ของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นจริงขึ้นมา ตัวอย่างความสำเร็จในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของสนามบินขนาดใหญ่นั้น มีให้เห็นอยู่หลายแห่งแล้ว ตัวอย่างเช่นในซิดนีย์และโคเปนเฮเกน แต่การประสบความสำเร็จของสนามบินขนาดเล็กและสนามบินระดับภูมิภาคต่างหาก ที่เป็นแบบอย่างซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้สำหรับเรา”
            มิสเตอร์ ลาโรช กล่าวถึงสนามบินขนาดเล็กและสนามบินระดับภูมิภาคต่อไปว่า “สิ่งสำคัญที่สนามบินทั้งสองประเภทต้องเผชิญก็คือ ความต้องการเงินลงทุนซึ่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ส่วนใหญ่สนามบินที่ว่าจะขาดทุนนับตั้งแต่เริ่มดำเนินกิจการอยู่แล้ว แต่ก็ยังคงต้องเป็นช่องทางในการติดต่อสัมพันธ์ที่จำเป็นให้กับชุมชนที่ต้องอาศัยการบริการจากสนามบินเหล่านั้น Phoenix-Plan จะช่วยแก้ปัญหาให้กับสนามบินทั้งสองประเภท และจะช่วยยกระดับการให้บริการผู้โดยสารให้กับสายการบินและผู้ประกอบการท่องเที่ยว ซึ่งปกติแล้วจะไม่มีการให้บริการแบบที่เราจะเสนอให้”ปัญหาสำคัญที่ต้องแก้ไขให้ได้ตามความเห็นของคุณอุดรก็คือ “ความจำเป็นที่จะต้องสร้างการรับรู้ร่วมกันของคนจำนวนหนึ่ง ก่อนที่จะแนะนำเส้นทางใหม่ บริการใหม่ และการลงทุนที่เกี่ยวข้อง การเชื่อมโยงระหว่างสนามบินและเมืองเล็ก คือแนวคิดใหม่ที่ Phoenix-Plan นำมา และเมื่อมีการเชื่อมโยงกันระหว่างสนามบินกับเมืองเล็ก ก็จะก่อให้เกิดการให้บริการผู้โดยสารในแนวใหม่ มีโอกาสเพิ่มพันธมิตรที่เข้ามาเป็นสปอนเซอร์ และมีการให้การบริการด้านการท่องเที่ยวแบบพิเศษทั้งที่สนามบินและในเมือง ในขณะที่ทุกคนในระบบนิเวศของเมืองที่สนามบินตั้งอยู่ ก็จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนของพวกเขาในปริมาณที่ยอมรับได้”
           Phoenix-Plan จะครอบคลุมการให้บริการทางอากาศและทางภาคพื้นดิน การบริการภายในเขตเมือง โปรแกรมสมาชิกของท่าอากาศยานหัวหิน การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ร้านค้าปลอดภาษี การรับ-ส่งจากสนามบินและการให้บริการในเมืองสำหรับผู้โดยสารวีไอพี ซึ่งทั้งหมดจะคิดขึ้นและดำเนินการโดยบริษัทในเครือฟีนิกซ์ มิสเตอร์ ลาโรช กล่าวว่า “บริษัทที่ต้องการจะทำธุรกิจร่วมกับท่าอากาศยานหัวหิน ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการที่สนามบินหรือในเมือง สามารถเข้าร่วมกับเครือข่ายพิเศษ ซึ่งจะทำการแปลงข้อมูลของสนามบินเข้าสู่ระบบดิจิทัล เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้มาเยือน คนในพี้นที่ ผู้ให้บริการ โรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้าปลีก และสถานที่ท่องเที่ยว”

            หน่วยงานภาคเอกชนสามารถช่วยภาครัฐได้ ไม่เพียงแต่ในการยกระดับสนามบินขนาดใหญ่ของไทย เท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยยกระดับสนามบินขนาดเล็กและสนามบินระดับภูมิภาคได้ด้วย คุณอภิสิทธ์น่าจะเป็นผู้ที่กล่าวถึง Phoenix-Plan ได้ดีที่สุด โดยท่านได้กล่าวว่า “เรารู้สึกตื่นเต้นเกี่ยวกับ Phoenix-Plan เป็นอย่างมาก และในฐานะของผู้อำนวยการท่าอากาศยานหัวหิน ผมรู้สึกภาคภูมิใจที่จะได้กล่าวว่า ท่าอากาศยานนานาชาติหัวหินได้เปิดประตูสู่โลกกว้างแล้ว”

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!