สมุทรปราการ-สุวรรณภูมิชี้แจงมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19

สมุทรปราการ-สุวรรณภูมิชี้แจงมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19

ภาพ/ข่าว:สุรศักดิ์ / อัญมณี คงสินธ์

                  สุวรรณภูมิชี้แจงมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 เผยยอดติดเชื้อ 126 ราย รอผลอีก 190 ราย

                     เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่16 พฤษภาคม 2564 ที่หน้าห้อง CIP อาคารผู้โดยสารชั้น 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นาวาอากาศโท สุธีรวัฒน์ สุวรรณวัฒน์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) พลเอก ปรีชา เบ็ญจขันธ์ ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้านความมั่นคงประจำท่าอากาศยาน นายแพทย์ ณรงค์ อภิกุลวณิช ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตที่ 6 พร้อมด้วยผู้แทนบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ผู้แทนบริษัท Bangkok Flight Services (BFS) ผู้แทนบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้ร่วมกันชี้แจงมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 หลังจากที่ตรวจพบมีพนักงานของบริษัทพันธมิตรที่ปฎิบัติงานภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ติดเชื้อโควิดกว่า 126 คน ตามที่โฆษก ศบค. ได้แถลงการณ์ไปเมื่อวานนี้
                    พลเอก ปรีชา เบ็ญจขันธ์ ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้านความมั่นคงประจำท่าอากาศยาน ได้กล่าวว่า ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทางศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้านความมั่นคงประจำท่าอากาศยานได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เพื่อให้ผู้โดยสารที่เข้ามาใช้บริการต้องปลอดภัย เจ้าหน้าที่ที่ปฎิบัติงานต้องปลอดภัย แต่ตอนนี้เราเจอปัญหาว่าเจ้าหน้าที่ซึ่งอาจจะไม่ใช่ส่วนใจกลาง แต่เป็นผู้ร่วมงานที่สนับสนุนภารกิจของสนามบินสุวรรณภูมิ มีการติดเชื้อ ส่วนในรายละเอียดก็คงต้องให้ทางส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ให้ข้อมูล หลายองการณ์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุขหรือในส่วนของกระทรวงกลาโหมที่เข้ามาดำเนินการ ช่วยให้การปฎิบัติของการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้สถานการณ์กลับคืนเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
                  นายแพทย์ ณรงค์ อภิกุลวณิช ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 6 ได้กล่าวว่า จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้จากการระบาดในระลอกนี้ ที่เราเรียกว่าระลอกที่ 3 เรามีผู้ป่วยที่พบอยู่ในบริเวณที่ทำการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีอยู่ด้วยกัน 4 คลัสเตอร์ด้วยกัน ถ้าได้ดูจากการแถลงข่าวของ ศบค. วันนี้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ก็ได้มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมในรายละเอียดกับแนวทางการปฎิบัติ และในคลัสเตอร์รอบนี้เราเจอคลัสเตอร์ในบริษัทเอกชน ในส่วนของไปรษณีย์ในรอบแรก ๆ เราเจอมาตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน เราก็ติดตาม ในเวลาที่เราเจอผู้ป่วยเราก็พยายามที่จะดูในมาตรการที่ทำให้เกิดความปลอดภัยให้กับทุกส่วน เพาะคลัสเตอร์แรกที่เป็นบริษัทเอกชน สามารถดูแลไปถึงพ้นระยะของการติดต่อแล้ว คลัสเตอร์นี้เราเจอไปถึง 55 ราย แต่ตอนนี้พ้นระยะการติดต่อแล้ว แต่เราก็มีการเฝ้าระวังต่อ ส่วนที่เราดำเนินการอยู่ในขณะนี้ก็จะมีส่วนของการบินไทยของบริษัทที่เกี่ยวข้องกันการขนส่ง และส่วนที่เกี่ยวข้องกับไปรษณีย์
                นาวาอากาศโท สุธีรวัฒน์ สุวรรณวัฒน์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวว่า ขณะนี้ตนได้สั่งการณ์ให้มีการบริหารสนามบินเป็น 2 ลักษณ์ คือว่าในส่วนของการบริหารงานด้านบริการที่อาคารผู้โดยสารที่เขตปลอดอากรหรือพื้นที่อื่น เราจะบริหารงานวนส่วนที่ให้บริการเสมือนหนึ่งวันหยุด ก็คือใช้คนที่ทำงานกะงานเวรเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารหลัก ซึ่งงานกะของเราจะมีทั้งสิ้น 4 กลุ่ม ถ้ากลุ่มใดติดเชื้อ เราจะยกเลิกและย้ายเข้าไปปฎิบัติตามขั้นตอนของกระทรวงสาธารณสุขทั้งกะ และจัดคนที่เรามีอยู่อีกจำนวนหนึ่งที่เวิร์กฟอร์มโฮมอยู่ที่บ้านเข้ามาทำงานแทน
               นายแพทย์ ณรงค์ อภิกุลวณิช ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 6 ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับยอดผู้ติดเชื้อในวันนี้มีทั้งหมด 126 ราย แต่ตัวเลขยังมีการเปลี่ยนเพราะผลการตรวจจะมาเป็นระยะ ซึ่งยอดที่รอผลการตรวจยังมีอยู่อีกประมาณ 190 ราย ซึ่งตอนนี้บางส่วนเข้ากักตัวแล้ว ที่เราใช้คำว่า แลคติกโฮมคอลันทีน และในการที่ทำให้เกิดแต่ละคลัสเตอร์นั้นจะเป็นเรื่องของการเคลื่อนที่ไปพบปะของแต่ละคน ช่วงก่อนหน้านี้ที่เกิดการติดเชื้อทั้งประเทศ ก็เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของมวลชน การพบปะกันในชุมชนต่าง ๆ และจากการที่มีคนกลุ่มหนึ่งกลับไปในช่วงของสงกรานต์ด้วย ก็จะมีความต่อเนื่องตรงนี้ เรื่องของโควิดในบางส่วนไม่มีอาการ บางทีคนที่เดินมาในระหว่างกันไม่มีอาการก็แพร่กระจายเชื้อได้ ตรงนี้เป็นการยากพอสมควรที่จะแยกเลยทีเดียว แล้วก็ในการที่เราดูในการที่เกิดเคส ถ้าเทียบกับคลัสเตอร์ของสนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อเทียบกับรอบนอกทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตรงนี้ถือว่าเป็นคลัสเตอร์เล็ก และสามารถตรวจจับได้เร็ว อันนี้เป็นการเปรียบเทียบให้ดูก่อน แต่ด้วยความที่เป็นสนามบินสุวรรณภูมิเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องมาตรการความปลอดภัย ก็ได้มีการน้ำกรณีที่เราเจอผู้ป่วย มามองหากลุ่มเสี่ยงสูง และดำเนินการตรวจคัดกรองแยกออกมาเพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ในส่วนของการฉีดวัคซีนขณะนี้เราดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับผู้ปฎิบัติงานในสนามบินสุวรรณภูมิไปแล้วกว่า 4 พันราย ยังรอการดำเนินการฉีดวัคซีดอีกกว่า 4 หมื่นราย ที่จะเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนให้ครบทั้งหมดในประมาณปลายเดือนมิถุนายน ที่จะถึงนี้
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
TAGS
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!