ชลบุรี-ดับฝันธุรกิจเหมืองแร่ สัตหีบ-หินยาขม หรือขนมหวาน
ภาพ/ข่าว:นิราช/นันทพล ทิพย์ศรี
ดับฝันธุรกิจเหมืองแร่ สัตหีบ-หินยาขม หรือขนมหวาน
ข้อมูลนี้เรียกได้ว่า เป็นข้อมูลความจริงที่สามารถดับฝัน “นายหน้า” ที่กำกำลังวิ่งเตลิดชนิดกู่ไม่กลับ เพราะไม่เคยศึกษาข้อเท็จจริง เรื่องการถมทะเล เฟส 3 ในการท่าเรือนิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด ระยอง ว่ามีความเป็นมาอย่างไร มีบทสรุปอย่างไร เวลานี้จึงมีกระต่าย ลิงโลด กระโดดรับแสงจันทร์ เพราะคาดหวังว่าจะได้โควตา มีส่วนเอี่ยวในปริมาณหิน โดยไม่ได้ศึกษาเลยว่า หินที่นำเข้าไปใช้ในการถมทะเล และการก่อสร้าง ใช้หินประเภทไหน มีแหล่งวัตถุดิบที่ระบุไว้ ใน TOR มีที่ไหนบ้าง
ธุรกิจเหมืองหิน แหล่งหินต่าง ๆ ใน อ.บ้านฉาง อ.เมือง ระยอง ได้รับโควตากันแบบลงตัว มีปริมาณหินเพียงพอกับความต้องการ พร้อมมีแหล่งหินสำรองในจังหวัดชลบุรี คือ อ.ศรีราชา อ.บ้านบึง และอ.เมือง อีกจำนวน 13 แห่ง แต่ไฉน จึงไม่มีเหมืองหินแห่งเดียว ใน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นสัมปทานของ กองทัพเรือ เข้าไปเกี่ยงข้อง หรือได้รับโควตาหินมาดำเนินการ นี่คือเหตุผลที่ต้องนำข้อมูลจริงมาเปิดเผย เพื่อ”ดับฝัน” กลุ่มนักธุรกิจที่กำลังเดินหน้า ที่จะเข้ามาทำเหมืองหินแห่งนี้ ในภาวะวิกฤติ และท่ามกลางปัญหาข้อพิพาท ความขัดแย้งกันอีกยาวนาน
หินก้อน และหินคลุก ที่ระบุไว้ใน TOR มาบตาพุด เฟส 3 ก็คือ “หินแกรนิต” สามารถเลือกใช้ได้จากแหล่งหิน บริเวณ อ.เมือง และ อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เท่านั้น เนื่องจาก มีโรงโม่หิน 2 แห่งที่ถูกต้อง ก็คือ โรงโม่หินถาวรภูรวิศวโยธา โรงโม่หินอิตาเลียนไทย ทั้ง 2 แห่ง เพียงพอกับความต้องการอย่างแน่นอน อีกทั้งมีแหล่งหินแกรนิตสำรองไว้อีก 13 แห่ง ในพื้นที่ อ.ศรีราชา อ.เมือง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี สรุปได้ว่า ทั้งหินคลุก และหินก้อน มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของโครงการนี้ เพราะหินแกรนิตคลุกใช้ในโครงการเพียง 6,000 ลูกบาศก์เมตร หินแกรนิตก้อน ใช้เพียง 2,967,975 ลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ยังได้มีการกำหนดเส้นทางลำเลียงหิน คอนกรีตผสมเสร็จ ซึ่งล้วนแล้วระบุแหล่งวัสดุอยู่ในพื้นที่ จ.ระยอง ทั้งหมด โดยใช้เส้นทาง ถนนสุขุมวิท สาย 3 (สายหลัก) และถนนทางหลวงหมายเลข 3391 และทางหลวงหมายเลข 3392 เข้าถนน ไอ 1 ภายในการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ไม่เกิดปัญหาเรื่องการจราจร และการบริหารเรื่องระบบขนส่ง ที่สำคัญโครงการถมทะเลมาบตาพุด เฟส 3 ได้มองถึงประโยชน์ในพื้นที่ระยองเป็นหลักสำคัญ นักธุรกิจ ผู้ประกอบการค้าได้รับประโยชน์กันถ้วนหน้า
ส่วนโควตาหินก้อน และหินคลุก ได้มีการแบ่งสันปันส่วนกันไปเรียบร้อยแล้ว ว่าผู้ใดรับผิดชอบ จึงสามารถวิเคราะห์ได้ว่า นายหน้าที่กำลังดิ้นหาแหล่งหิน ได้ถูกดับฝันไปเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะเหมืองหินวังปลา 1 วังปลา 2 ในอำเภอสัตหีบ ที่หลายฝ่ายหมายตากันเป็นมัน คิดว่า คาดว่า ถ้าไปครอบครองเหมืองนี้ จะสามารถผลิตหินขายในโครงการ มาบตาพุด เฟส 3 ได้อย่างมหาศาล โดยไม่ได้ศึกษาข้อหนดเรื่องสเปคหินที่จะนำเข้าไปถมทะเลในโครงการนี้ เพราะเขาระบุว่า ใช้หิน แกรนิต เท่านั้น ไม่ใช่หินปูน
เหมืองหินในพื้นที่สัตหีบ เป็นหินปูน เพื่อใช้ในการก่อสร้างเท่านั้น ไม่สามารถนำไปถมทะเลได้ เมื่อรู้ความจริงกันแล้ว จะได้ไม่ต้องดิ้นรน บากบั่น กระทำทุกวิถีทางเพื่อจะเข้ามาทำธุรกิจในเหมืองสัตหีบ แห่งนี้อีกต่อไป เหมืองนี้สามารถผลิตหินคลุก หรือหินโม่ เพื่อการก่อสร้างได้เท่านั้น ไม่ต้องหวังว่าจะขายหินก้อนได้อีกต่อไป เพราะลักษณะ คุณสมบัติ ไม่ได้ตามความต้องการของโครงการต่าง ๆ แต่หินปูนในเหมืองนี้มีความแข็งแกร่ง กว่าเหมืองอื่น ๆ อย่างแน่นอน
นอกจากนี้ เหมืองหินในเขตระยอง ก็อาจจะมีปัญหาบ้าง เพราะหินแกรนิตในชั้นต้น ๆของหินยังไม่มีความแข็งแกร่งพอ จำเป็นจะต้องระเบิดหินในระดับลึกลงไปจึงจะได้ชั้นหินที่ตรงสเปค ก็ต้องจับตาดูกันต่อไปว่า การถมทะเลในเฟส 3 จะมีหินที่ไม่ได้คุณภาพแฝงเข้าไปด้วยหรือไม่ เพราะหินแกรนิตที่มีความแข็งแกร่งยังไม่ถึง เมื่อนำไปถมทะเล จะเกิดปัญหาเรื่องความคงทนในวันหน้าอย่างแน่นอน
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/