สมุทรปราการ-หน่วยพิทักษ์สิ่งแวดล้อมกรมควบคุมมลพิษลงตรวจสารปนเปื้อนในอากาศและในน้ำ

สมุทรปราการ-หน่วยพิทักษ์สิ่งแวดล้อมกรมควบคุมมลพิษลงตรวจสารปนเปื้อนในอากาศและในน้ำ

ภาพ/ข่าว:สุรศักดิ์ / อัญมณี คงสินธ์ 

หน่วยพิทักษ์สิ่งแวดล้อมกรมควบคุมมลพิษลงตรวจสารปนเปื้อนในอากาศและในน้ำ

           เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์สิ่งแวดล้อมกรมควบคุมมลพิษ นำกำลังเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยรถเครื่องที่เร็ว และอุปกรณ์ เดินทางลงพื้นที่ โดยรอบที่เกิดเหตุเพื่อตรวจวัดค่าออกซิเจนทางอากาศและทางน้ำ นอกจากบริเวณโดยรอบที่เกิดเหตุแล้วเจ้าหน้าที่ยังกระขายกำลังลงตามชุมชนในรัศมี 1 กิโลเมตรโดยรอบและเน้นภายในชุมชน นาย อาวีระ ภัคมาตร์ ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 ชลบุรี ได้นำเจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจวัดสภาพอากาศและเก็บตัวอย่างน้ำในจุดที่เกิดเหตุและรอบสถานที่เกิดเหตุเพื่อส่งไปทำการตรวจหาสารปนเปื้อน ได้ระบุว่า จากการลงพื้นที่ครั้งนี้ มีการลงสำรวจคุณภาพน้ำและคุณภาพอากาศ พบว่าหากไม่มีการปะทุของแสงเพลิงขึ้นมาอีก คุณภาพอากาศก็ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานในระดับความปลอดภัย แต่หากมียังมีการปะทุขึ้นมาในแต่ละครั้ง เจ้าหน้าที่ก็ยังตรวจเจอสารพวกฟอล์มัลดีไฮด์หรือสารอันตรายบางตัวในอากาศ ทั้งนี้อยู่ที่หน้างานที่เกิดเหตุไฟดับสนิทหรือยัง ถ้าไฟดับสนิทก็จะใช้เวลาวันถึงสองวันค่ามลพิษในอากาศก็จะปลอดภัยประชาชนก็สามารถกลับเข้ามาบ้านพักได้ ส่วนค่าเจอปนสารพิษทางน้ำ เนื่องจากเป็นการเกิดเหตุเพลิงไหม้สารเคมี ทำให้มีควันพิษลอยสูงทางอากาศ เมื่อเจอฝนตกลงมา จะทำให้มีเขม่าหรือขี้เถ้าลอยในชั้นอากาศ ถูกน้ำฝนปนลงสู่พื้นดินและแหล่งน้ำต่าง ๆ รวมถึงน้ำที่ประชาชนใช้รองน้ำฝนไว้ใช้กินใช้อาบก็จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ ซึ่งแนะนำควรงดนำน้ำจากธรรมชาติมาใช้ดื่มในช่วงนี้ ส่วนการนำมาใช้ก็ควรสังเกตหากพบอาการคันก็ควรหยุดใช้ ทางที่ดีควรใช้น้ำประปาจะปลอดภัยที่สุด

             ขณะเดียวกันเมื่อช่วงบ่ายนายเชษฐา โมสิกรัตน์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีจังหวัดระยอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการตั้งวอรูมวางแผนเข้าทำการกำจัดสารเคมีอันตรายในจุดที่เกิดการปะทุของเปลวไฟโดยมีการเรียกประชุมวางแผนร่วมกับนักผจญเพลิงของ ปภ.ที่จะเข้าไปในถุงที่บรรจุสารเคมีในจุดที่เกิดเหตุโดยในที่เกิดเหตุต้องมีการฉีดน้ำยาเคมีโฟมเลี้ยงตลอดเวลา เพื่อควบคุมอุณหภูมิเคมีในถังเพื่อให้เท่ากับอุณหภูมิภายนอก เตรียมนำสารเคมี ดี 5 เทใส่ลงไปเพื่อปรับสภาพของเคมีไม่ให้ติดไฟก่อนทำการเคลื่อนย้ายไปทำลายนายสุเมธา วิเชียรเพชร ที่ปรึกษาอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ได้เปิดเผยว่า สารที่เราจะใส่ลงไปจะทำให้สารเคมีดังกล่าวไม่ติดไฟ จากเดิมที่มันติดไฟเราก็จะทำให้มันไม่ติดไฟ เรียกว่าสาร ดี 5 แต่เบื้องต้นเราต้องตรวจสอบเรื่องความอุณหภูมิความร้อนของถังก่อน ต้องมีการเอ็กซเรย์ว่าอุณหภูมิอยู่ที่เท่าไหร่ ถ้าอุณหภูมิมีปัญหาเราก็ต้องใส่สารตัวนี้ลงไป เพื่อปฏิกิริยาของเคมีเพื่อไม่ให้มันติดไฟ ก่อนที่จะนำไปกำจัดโดยการเผาด้วยความร้อนสูงเพราะทำประโยชน์อะไรไม่ได้แล้ว ตอนนี้เราแก้ไขเกี่ยวกับการระเบิดก่อนหรือการปะทุของลูกไฟ คือเราต้องเข้าไปเซอร์เวย์และประเมิลความเสี่ยงว่ามันจะเกิดระเบิดขึ้นอีกหรือไม่และมีปัญหาเรื่องไฟหรือเปล่าเจ้าหน้าที่เข้าไปก็สวมใส่ชุดป้องกันสูงสุดที่เรามีอยู่ การเซอร์เวย์คือการเข้าไปสำรวจว่ามีสารอะไรบ้างปริมาณเท่าไหร่ จะมีอันตรายหรือเปล่าต้องใช้เครื่องมือวัดค่าอ๊อกซีเจน หลังจากเซอร์เวย์เราก็จะให้เจ้าหน้าที่อีกชุดหนึ่งเข้าไปที่มาจากระยองเข้าไปดำเนินการ โดยจะมีการเติมสารตัวนี้ลงไปเป็นระยะ เพื่อความคุมอุณหภูมิให้ลดลงและไม่เกิดการติดไฟ หลังจากนั้นเราก็รีบเคลียร์พื้นที่สารเคมีที่มันเคยลอยฟุ้งอยู่ในอากาศมันก็จะหายไป ส่วนระยะเวลาในการดำเนินการยังบอกไม่ได้แต่ก็จะต้องทำให้เร็วที่สุด

             ขณะเดียวกันที่ห้องประชุม มูลนิธิร่วมกตัญญู ซึ่งตั้งเป็นศูนย์อำนวยการ นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์ ได้เรียกประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่นผู้เชียวชาญ จาก ปตท.เจ้าหน้าที่ ปภ.ตำรวจ ทหาร เพื่อวางแผ่นการทำงาน โดยใช้เวลาประชุมประมาณ 1 ชม.ก่อนที่ ผวจ.สมุทรปราการ จะขึ้นมาแถลงข่าว ที่ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ สำหรับรายละเอียดการแถลงข่าวนายวันชัย คงเกษม กล่าวว่า หลังเกิดเหตุ สำหรับการคลี่คลาสถานการณ์ คืบหน้าไปมาก โดยวันนี้ได้ประชุมกับผู้ชำนานการจากหลายฝ่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน จนได้ข้อสรุปว่า ตอนนี้ปัญหามีอยู่สองสวน คือ สารเคมีที่ยังอยู่ในถังกว่า 1600 ลิตร ยังหลงเหลือกี่ลิตร และ ที่รั่วไหล่ออกมาถูกเผาไหมไปแล้วกี่ลิตร ซึ่งการประชุมได้แยกการดำเนินการเป็นสองชุด โดยชุดแรกจะเข้าไปดำจัดการสารเคมีที่หลงเหลืออยู่ในที่เกิดเหตุ ทั้งในภาคพื้นดินและ ในถัง โดยะใช้สารเคมี DEHA เข้าไปเจือปนให้เป็นกลางและก่อให้ติดไฟน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม ที่น่าเป็นห่วงคือการเข้าถึงตัวถังสารเคมี ซึ่งตรงนี้ต้องมีการสำรวจให้รอบคอบ เพื่อให้มันใจว่ามีความปลอดภัยสูงสุดก่อนที่จะให้ผู้ชำนาญการเข้าจัดการกับสารเคมีที่เหลืออยู่ต่อไป พล.ต.ต.ชุมพล พุ่มพวง ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการ กล่าวอีกว่า สำหรับประชาชนที่ หวงใยเรื่องการกลับเข้าสู่ที่พักนั้น หลังจากได้มีการประชุม ซึ่งหลายฝ่ายเห็นว่าสถานการณ์เริ่มปลอดภัยมาขึ้น แต่ก็ยังมีบางจุดที่ยังเป็นห่วงเรื่องอันตรายและยังอยู่ในพื้นที่ควบคุม แต่จะผ่อนคลายเปิดให้ใช้ถนนกิ่งแก้วทั้งสองฝั่ง และประชาชนที่อยู่ศูนย์อพยพสามารถเดินทางกลับเข้าที่พักและประกอบอาชีพได้ตามปกติโดยเฉพาะชาวบ้านที่อาศัยอยู่ถนนกิ่งแก้วฝั่งตะวันออกซึ่งสามารถเข้าพื้นที่ได้ทั้งหมด แต่ยกเว้นผู้ที่พักอยู่ในซอย 19-25 ที่ยังประกาศให้เป็นพื้นที่ควบคุม โดยจะเปิดให้ใช้ถนนและกลับบ้านพักได้ในเวลา 17.00 น.ของวันนี้ ส่วนเรื่องของคดี ขณะนี้ พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวน ผู้ได้รับบาดเจ็บที่พอใจให้การได้ไปแล้วบางส่วน รวมถึงผู้จัดการโรงงาน และพนักงานที่อยู่ในช่วงเกิดเหตุ แต่ข้อสรุปนั้นยังไม่ชัดเจน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถเข้าตรวจที่เกิดเหตุได้ สถานการณ์ยังไม่ปลอดภัย รวมถึงสถานที่ยังมีความร้อนอยู่ วันนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ระดมทีมงานในหลายภาคส่วน เร่งเข้ายับยังเพื่อคลี่คลายสถานการณ์โดยเร็ว จากนั้นต้องรอผู้ชำนานการ จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้ชำนาญการจากกระททรวงวิทยาศาสตร์ เข้าตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความผิดของใครต้องอยู่กับอยู่ในการสอบสวนทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคล เครื่องไม้เครื่องมือในดานการปฏิบัติของโรงงาน ว่ามีความบกพร่องในจุดไหนหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ชี้ชัด ต้องรอหลักฐานในที่เกิดเหตุอีกครั้ง

 

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!