เพชรบุรี-สำนักงานเกษตร ส่งเสริมกลุ่มบริหารจัดการศัตรูไม้ผลโดยวิธีผสมผสาน

เพชรบุรี-สำนักงานเกษตร ส่งเสริมกลุ่มบริหารจัดการศัตรูไม้ผลโดยวิธีผสมผสาน

ภาพ/ข่าว:สุรพล  นาคนคร

                สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี ยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร ส่งเสริมกลุ่มบริหารจัดการศัตรูไม้ผลโดยวิธีผสมผสาน ในพื้นที่ปลูกชมพู่เพชรสายรุ้ง ลดความสูญเสียและยืดอายุผลผลิต

            สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี ยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร ส่งเสริมกลุ่มบริหารจัดการศัตรูไม้ผลโดยวิธีผสมผสาน ในพื้นที่ปลูกชมพู่เพชรสายรุ้ง ลดความสูญเสียและยืดอายุผลผลิต นางอุไร กาลปักษ์ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช นางสาวจันทิมา เอี่ยมสะอาด นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ นายวีรชัย ศรีอรุณฉาย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเพชรบุรี ร่วมกับกลุ่มอารักขาพืชสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี ให้คำแนะนำการป้องกันกำจัดศัตรูพร้อม ยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร กิจกรรมส่งเสริมกลุ่มบริหารจัดการศัตรูไม้ผลโดยวิธีผสมผสาน ในพื้นที่ปลูกชมพู่เพชรสายรุ้ง ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองโสน ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอเมืองเพชรบุรี, ตำบลท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี พื้นที่ 2,747 ไร่ เนื่องจากบริเวณพื้นที่ดังกล่าวปลูกชมพู่เพชรสายรุ้ง ซึ่งเป็นพืช GI ของจังหวัดเพชรบุรี ปัญหาของศัตรูพืชชนิดหลักของชมพู่เพชรสายรุ้ง คือแมลงวันผลไม้ ซึ่งทำความเสียหายอย่างมาก

             สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี จึงมีการอบรมให้ความรู้เกษตรกรในพื้นที่พร้อมทั้งสนับสนุนสารล่อแมลงวันผลไม้ (เมธิลยูจีนอล) ให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เน้นวิธีการควบคุมแมลงวันผลไม้ด้วยวิธีผสมผสาน ได้แก่ การทำความสะอาดแปลงปลูกโดยเก็บผลไม้ที่หลงเหลือจาการเก็บเกี่ยวหรือผลไม้ที่ร่วงหล่นทำเป็นน้ำหมัก และแขวนกับดักแมลงวันผลไม้ โดยใช้สารล่อแมลงวันผลไม้ (เมธิลยูจีนอล) ผสมสารเคมีฆ่าแมลง อัตราส่วน 3:1 และการควบคุมแมลงวันผลไม้ด้วยเทคโนโลยีแมลงเป็นหมัน ได้เริ่มทดลองปล่อยแมลงวันผลไม้เป็นหมันในพื้นที่ปลูกชมพู่เพชรสายรุ้ง ซึ่งประสบความเสียหายเนื่องจากแมลงวันผลไม้เพศเมียวางไข่บริเวณผิวเปลือกและเมื่อไข่พัฒนาเป็นหนอนก็จะกินเนื้อของผลภายใน ซึ่งมีการสำรวจปริมาณและชนิดของแมลงวันผลไม้ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2562 ถึงปัจจุบัน มีจุดสำรวจ อยู่ทั้งหมด 17 จุด และเริ่มปล่อยแมลงวันผลไม้ที่เป็นหมัน ชนิด Bactrocera dorsalis สายพันธุ์ (GSS – White thoraxed) เมื่อวันที่ 24 มีนาคม – 20 สิงหาคม 2564 รวมทั้งหมด 11 ครั้ง จำนวน 5 ล้านตัว

               ผลการดำเนินงานพบว่าการปล่อยแมลงวันผลไม้เป็นหมันเพื่อจำนวนประชากรของแมลงวันผลไม้สามารถลดความสูญเสียและยืดอายุผลผลิตก่อนห่อผลได้นานขึ้น และพบว่าชมพู่ที่ห่อผลไม่ทันจะมีร่องรอยการเจาะทำลายจากแมลงวันผลไม้เพศเมีย แต่จะไม่พบการพัฒนาเป็นหนอนในผลชมพู่เพชรสายรุ้ง เพื่อจะให้เกษตรกรปลูกชมพู่เกิดความยั่งยืนในอาชีพ จะต้องมีการจัดทำโครงการอย่างต่อเนื่องและจังหวัดควรให้การสนับสนุน
สามารถติดตามข่าวสารอื่นๆได้ก่อนใครที่ https://www.siameagle.com
หรือ https://www.facebook.com/siameaglenews/

CATEGORIES
TAGS
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!