ธุรกิจมะนาวท่ายาง เมืองเพชรบุรี สู่สากล

ธุรกิจมะนาวท่ายาง เมืองเพชรบุรี สู่สากล

ภาพ/ข่าว:ชำนาญ พึ่งเจาะ

ธุรกิจมะนาวท่ายาง เมืองเพชรบุรี สู่สากล

             ปัจจุบันนี้”ผลไม้”ผลผลิตทางการเกษตรของไทยเรานั้นมีอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ถ้ามีการดัดแปลง แปลรููป ออกมาเป็นสินค้านวตกรรมใหม่ จะเป็นสินค้า สิ่งของ ที่สามารถและยกระดับสู่สากลได้อย่างมีคุณค่าเศรษฐกิจของ หมู่บ้าน ชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัดนายนฤเทพ ศิริเศรษฐ อายุ 40 ปี เจ้าของ ผจก.โรงงานรามเพาเว่อร์ฯ อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี และเจ้าของสวนมะนาว กล่าวเปิดใจว่า ได้เดินทางไปทำงานเป็นกุ๊กเป็นเชฟอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียอยู่ 3ปีเศษ ตัดสินใจกลับสู่บ้านเกิด ท่ายาง เมืองเพชร พบเห็น”มะนาว”ในสวนและของเพื่อนบ้านมากมายในฤดูกาลแต่ผลผลิตผลสดมะนาวกับถูกลง ขายไม่ออก ทั้งต้นทุนผลกำไรไม่ได้จึงตัดสินใจสร้างโรงงานขนาดเล็ก SME ขึ้นมาทำการแปรรูปผลมะนาวสด ทั้งหมักดอง มะนาวผง มะนาวแปรรูปผสมน้ำผึ้งบรรจุขวดและ มะนาวเครื่องดื่มผลตอบรับเริ่มดีเป็นที่รู้จักแก่ผู้คนในจังหวัดเพชรบุรี และใกล้าเคียงทางองค์กรปกครองท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด ส่งออกงานในนามสินค้า”โอทอป”ในกรุงเทพฯและที่ต่างๆได้รับรางวัลและถ้วยรางวัลมากมายกลายเป็นสินค้าท่ายาง เมืองเพชร ที่มีผู้คนรู้จักกันไปจนถึงสหรัฐอเมริกา

              นอกจากนั้นบุคคลสำคัญอย่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯรัฐมนตรี และ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อดีต ผบ.ทบ.ก็ยังชื่นชมในผลงานการยกระดับแปรรูป” มะนาว”สูู่ความเป็นสากลให้ผู้คนได้รู้จักและยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มชาวสวน”มะนาว”เมืองเพชรได้มีผลผลิตแปรรูปร่วมของโรงงานรามเพาเว่อร์ฯนายนฤเทพฯ ยังกล่าวอีกว่า หลังจากโรงงานแปรรูปเป็นตัวตนขึ้นมาก็สร้างเป็นร้านอาหาร เครื่องดื่มที่มี”มะนาว”สดแห้งเป็นส่วนผสมชื่อว่า”Tanyapon”(ธัญญาภรณ์) ให้มาดามบริหารจัดการรับกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยวที่มาเยือนท่ายาง เมืองเพชร ในวันหยุดและเทศกาลต่างไปในส่วนการจำหน่ายขายสินค้า”มะนาว”นี้ก็ใช้ระบบผ่านสื่อออนไลน์ อิเลคทรอนิคส์ เข้ามาช่วยในการแนะนำ นำเสนอ ซึ่งผลตอบรับดีมากซึ่งถ้าในแต่ละภูมิภาคของไทยเราที่แห่งหนตำบล ชุมชนใด มีผลผลิตทางการเกษตรมากไปให้ดำเนินการแปรรูป เพื่อเป็นการยกระดับให้กับสินค้าสิ่งของนั้นๆการที่ได้มารับฟังการเสวนาในครั้งนี้ก็ได้รับความรู้จากทาง นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ ที่เป็นวิทยากรได้ดีมากทั้งระบบ การแปรรูป การขายตรง และเรื่อง การเงิน ในระบบการใช้เงินตรา”แบ๊งค์โน๊ต” การใช้เงินสกุล”บิดคอย” รวมทั้งการกู้เงินจากสถาบันการเงินมาลงทุนในอาชีพธุรกิจนั้นๆตนเองในฐานะคนท้องถิ่นก็จะต้องยึดวิถีชีวิตอาชีพนี้ต่อไปเนื่องจากมันเป็นรากเห้งาเกษตรกรที่มีมาให้ให้มีอยู่ต่อไปทางด้าน ดร.รุ่งโรจน์ สีเหลืองสวัสดิ์ ผจก.รร.แกรนด์ฯ และชาวไร่สวนท่ายาง กล่าวว่า ขณะนี้ธุรกิจต่างๆไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคน ยาก ดี มีจน ที่ทำธุรกิจขึ้นต้องปรับตัวและขานรับกับ”นวตกรรม”ใหม่ไปที่มันเกิดขึ้น ทั้งการซื้อขายที่จะต้องนำเอาระบบ”เงิน”ออนไลน์เข้ามาหรือว่าเงินสกุล”บิดคอย” ก็ต้องทำเพราะระบบการเงิน”สด”เงิน”แบ๊งค์โน๊ต” ดูเหมือนว่าจะลดบทบาทลงในการจ่ายรับ กับสินค้าสิ่งของ.

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!