สุพรรณบุรี-รองประธานวุฒิสภาติดตามโครงการป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ

สุพรรณบุรี-รองประธานวุฒิสภาติดตามโครงการป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ

ภาพ/ข่าว:มงคล สว่างศรี สุพรรณบุรี

               พลเอกสิงห์ศักดิ์ สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ติดตามผลสัมฤทธิ์โครงการป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ

             พลเอกสิงห์ศักดิ์ สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ประธารคณะกรรมาธิการติดตามเสนอแนะและเร่งรัดปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ วุฒิสภาและคณะ นายปรีชา ทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี นายไพทูรย์ วงศ์วีรกูล นายอำเภอสองพี่น้อง ได้ลงพื้นที่ ติดตามผลสัมฤทธิ์โครงการป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ สกก.12 จำนวน2โครงการ 1.ปตร.บางตะเคียน 2.ปตร.ปลายนา ต.บางตะเคียน อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี โดยมีนายทวีวัฒน์ สืบสุขมั่นสกุล ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 12 กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กล่าวรายงาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ชลประทาน ผู้นำท้องถิ่น ประกอบด้วยนายสมปอง กาบแก้ว นายก อบต.บางตะเคียน ดร.ปิยพจน์ เกียรติชูสกุล กำนันตำบลบางเลน , นายสุวรรณ สุรีแสง กำนันตำบลบางตะเคียน และพี่น้องตำบลบางตะเคียน รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ท่านและคณะ ได้ให้เกียรติลงพื้นที่ ติดตามผลสัมฤทธิ์โครงการป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ สกก.12 จำนวน2โครงการ 1.ปตร.บางตะเคียน 2.ปตร.ปลายนา ในภาพรวมการบริหารจัดการน้ำ พื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีน ซึ่งจะเชื่อมโยงกับลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปีไหนที่ฤดูน้ำหลาก ปริมาณน้ำมากกว่าเกณฑ์ปกติ จะเกิดปัญหาน้ำท่วม เป็นบริเวณกว้าง ควบคุมลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำท่าจีน เนื่องจากศักยภาพในการระบายน้ำ มีจำกัด เช่น การระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา เกิน 2,000 ลบ.ม./วินาที มีผลต่อพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถ้าระบายเกิน 2,500 ลบ.ม/วินาที จะกระทบต่อเมืองเศรษฐกิจ เช่น ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องตัดยอดน้ำส่วนเกิน เหนือเขื่อนเจ้าพระยา ทั้งฝั่งซ้ายและขวา ของเจ้าพระยา ทั้งนี้ทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา จะมีการผันน้ำเข้าสู่คลองมะขามเฒ่าอู่ทอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำน้อย ซึ่งจังหวัดสุพรรณบุรีก็มีแม่น้ำ และลำน้ำ ที่สำคัญคือแม่น้ำท่าจีน คลองมะขามเฒ่าอู่ทอง และคลองสองพี่น้อง การระบายน้ำในแม่น้ำท่าจีน ผ่าน ปตร.โพธิ์พระยา ควงคุมไม่ให้เกิน 200 ลบ.ม./วินาที ตามศักยภาพการระบายของแม่น้ำท่าจีน โดยหากระบายเกินปริมาณจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่เศรษฐกิจ และพื้นที่ชุมชน เช่นพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง จึงมีความจำเป็นที่ต้องตัดยอด น้ำที่เกิน 200 ลบ.ม./วินาที ระบายสู่ระบบชลประทานที่มีอยู่ทั้งฝั่งซ้ายและขวา ของแม่น้ำท่าจีน โดยฝั่งขวาของแม่น้ำท่าจีน ระบายสู่ระบบชลประทานที่มีอยู่ ของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสามชุก และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโพธิ์พระยา

              โดยมีคลองสองพี่น้อง เป็นด่านสุดท้ายของการระบายน้ำทั้งหมดของพื้นที่ ฝั่งขวา ของจังหวัดสุพรรณบุรี ระบายสู่แม่น้ำท่าจีนที่ตำบลบางตะเคียน เนื่องจากศักยภาพ ในการระบายของคลองสองพี่น้อง มีไม่เกิน 160 ลบ.ม./วินาที จึงมีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมน้ำส่วนเกินไม่ให้ไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ชุมชน และพื้นการเกษตร ในตอนล่างของอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ตำบลสวนแตง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอสองพี่น้อง อำเภอบางปลาม้า ส่วนฝั่งขวา ประกอบด้วย ตำบลสวนแตง ตำบลวัดโบสถ์ ตำบลบางพลับ ตำบลต้นตาล และตำบลบางเลน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมปริมาณน้ำส่วนเกินโดยการก่อสร้างระบบระบายน้ำเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการปัญหาน้ำหลาก เช่นการก่อสร้างคันกั้นน้ำ ปตร. สถานีสูบน้ำ เพื่อควบคุมปริมาณน้ำส่วนเกินในคลองสองพี่น้อง และเร่งการระบายน้ำสู่แม่น้ำท่าจีน โดยใช้สถานีสูบน้ำผ่านอาคารชลประทานริมแม่น้ำท่าจีน ผลงานคันสองพี่น้องประมาณ 50% ความจุคลองเรียบถนนงบประมาณ 2ปี ปี63 สร้าง ปตร. ปี 64 สร้างคันกั้นน้ำ ฝั่งซ้ายที่ต้องตัดยอดน้ำ จากแม่น้ำท่าจีนที่ไม่เกิน 200 ลบ.ม./วินาที โดยใช้ระบบส่งน้ำและระบบระบายน้ำ ของโครงการชลประทาน โดยใช้โครงการแก้มลิงบึงสามจุ่น เป็นแก้มลิงในการเก็บกักน้ำ 20 ล้าน ลบ.ม. น้ำส่วนเกินจากการเก็บกัก พื้นที่แก้มลิงก็จะเร่งระบายสู่ ปตร.บางปลาม้า โดยใช้หลักการบริหารน้ำ โดยต้นน้ำจะมีอ่างเก็บน้ำ… กลางน้ำใช้วิธีหน่วงน้ำโดยการเก็บกักไว้ในลำน้ำ ละพื้นที่แก้มลิง ส่วนปลายน้ำก็เร่งผลักดันน้ำให้ลงสู่ทะเลโดยเร็วที่สุด

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!