เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์เผยผลผลิตทุเรียน
ภาพ/ข่าว:พูลชัย ราชประสิทธิ์ น.ส.พัทธนันท์ ราชประสิทธิ์ นายจักรพรรณ จันทร์แฉ่ง ทีมข่าว นสพ.อินทรีสยามออนไลน์ จ.อุตรดิตถ์
เมื่อเวลา 11.45 น.วันที่ 30 พฤษภาคม 2565 ที่ชั้น 2 สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ถ.อินใจมี ต.ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจากนายพัฒนศักดิ์ พ่วงสมบัติ เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ถึงผลผลิตของทุเรียนในจังหวัดอุตรดิตถ์โดยทุเรียนที่ปลูกก็จะเป็นพันธุ์พื้นเมืองและทุเรียนหลง-หลินลับแลส่วนมากเกษตรกรนิยมปลูกกันมากที่อำเภอลับแลและที่อำเภอเมือง และอำเภอท่าปลา ซึ่งในปี 65 ปีนี้ผลผลิตทุเรียนหลง-หลินลับแล มีจำนวนมากขึ้นเพราะทางเกษตรกรได้มีขยายพื้นที่ในการเพาะปลูกและนอกจากนี้สภาพของอากาศปีนี้เป็นใจทำให้ทุเรียนมีผลผลิตเพิ่มขึ้นสำหรับราคาทุเรียนหลงลับแลจะขายกันอยู่ที่กิโลกรัมละ 350-400 บาทส่วนทุเรียนหลินลับแลก็จะตกกิโลกรัมละ 500-700 บาทในปลายเดือนที่จะถึงนี้ก็จะเป็นช่วงที่ผลผลิตของทุเรียนหลง-หลินลับแลออกมาเยอะมากและค่อยลดไป
ผลผลิตทุเรียนพันธุ์หมอนทองเกษตรกรผู้ปลูก 4,485 รายมีพื้นที่เพาะปลูก 32,926 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 25,571 ไร่ผลผลิตต่อไร่1,300 ไร่ผลผลิตต่อต้น 34,079.40 ตันราคาประมาณการกิโลละ 95 บาทคิดเป็นมูลค่า 3,237.54 ล้านบาท ผลผลิตทุเรียนพันธุ์หลงลับแลเกษตรกรผู้ปลูก 880 รายมีพื้นที่เพาะปลูก 2,849ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 2,167 ไร่ผลผลิตต่อไร่ 680 ไร่ผลผลิตต่อต้น 1,486.93 ตันราคาประมาณการกิโลละ 350 บาทคิดเป็นมูลค่า 520.43 ล้านบาท ผลผลิตทุเรียนพันธุ์หลินลับแลเกษตรกรผู้ปลูก 398 รายมีพื้นที่เพาะปลูก 641ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 341ไร่ผลผลิตต่อไร่ 550 ไร่ผลผลิตต่อต้น 189.74 ตันราคาประมาณการกิโลละ 450 บาทคิดเป็นมูลค่า 85.38 ล้านบาท ผลผลิตทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองเกษตรกรผู้ปลูก 1,280 รายมีพื้นที่เพาะปลูก 10,666ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 8,120 ไร่ผลผลิตต่อไร่ 1,050 ไร่ผลผลิตต่อต้น 8,666.58 ตันราคาประมาณการกิโลละ 55 บาทคิดเป็นมูลค่า 476.66 ล้านบาท
สุดท้ายอยากจะฝากถึงเกษตรกรที่ปลูกและขายทุเรียนหลง-หลินลับแล ว่า ทุเรียนหลงลับแลหรือหลินลับแลของอุตรดิตถ์อยากให้พี่น้องเกษตรกรได้มีการตัดทุเรียนตามอายุเก็บเกี่ยว ขอให้เกษตรกรมีความซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภคคือไม่ตัดทุเรียนในขณะที่ผลยังอ่อนให้ทุเรียนแก่จัดเต็มที่แล้วค่อยตัด ซึ่งถ้าเกษตรกรตัดผลผลิตทุเรียนอ่อนนำมาขายให้กับผู้บริโภคทำให้เกิดผลเสียต่อระบบตลาดที่ปลูกทุเรียนมากที่สุด นอกจากนี้ทางจังหวัดยังได้ตั้งคณะทำงานออกตรวจสอบการลักลอบจำหน่ายทุเรียนอ่อนโดยจะมีนายอำเภอทั้ง 3 อำเภอก็คืออำเภอลับแล ,อำเภอเมือง และอำเภอท่าปลา เป็นหัวหน้าชุดแล้วก็มีเกษตรเออเป็นเลขาของชุดปฏิบัติการมีหน้าที่ในการออกตรวจตาป้องปรามพี่น้องเกษตรกรไม่ให้มีการตัดและจำหน่ายทุเรียนอ่อนเพื่อเกิดความเสียหายและไม่ให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงของจังหวัดอุตรดิตถ์ต่อไป ในส่วนของนายวิรุจ สุขสา นายกเทศบาลตำบลหัวดงกล่าวว่าในวันที่ 9-12 มิถุนายน 2565 ที่จะถึงนี้ทางเทศบาลตำบลหัวดงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนได้มาเที่ยวงานเทศกาลมหัศจรรย์ทุเรียนหลง-หลินเมืองลับแล ณ อาคารหอประชุมตลาดกลางผลไม้(OTOP) ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ซึ่งในวันที่ 9 มิย.จะมีการประกวดทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง,หลงลับแล,หลินลับแล หมอนทองและทุเรียนยักษ์พร้อมทั้งประกวดกระเช้าผลไม้ส่วนในวันที่ 10 มิย.แข่งขันส้มตำทุเรียนลีลาชมขบวนแห่ ชมการแสดง ทุเรียนแร็ปเปอร์ การแข่งขันกินทุเรียนและพิธีเปิดงานโดยนายผล ดำธรรม ผวจ. พร้อมมอบเกียรติบัตรและรางวัลผู้ที่ชนะเลิศส่วนในของวันสุดท้ายวันที่ 11 มิย.ชมการประกวดธิดาทุเรียน หลงลับแลและธิดาทุเรียนหลินลับแล(ธิดาจำแลง) ประจำปี2565 ผู้ชนะเลิศจะได้เงินรางวัล สายสะพาย และมงกุฎ ก็ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทั้งในจังหวัดและที่อยู่ต่างจังหวัดได้มาเที่ยวงานเทศกาลมหัศจรรย์ทุเรียนหลง-หลินเมืองลับแล ในวันที่ 9-12 มิย.นี้