ร้อยเอ็ด-มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด ลงนาม MOU พัฒนาศักยภาพเพิ่มขีดความสามารถด้านสถานที่ผลิตอาหาร

ร้อยเอ็ด-มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด ลงนาม MOU พัฒนาศักยภาพเพิ่มขีดความสามารถด้านสถานที่ผลิตอาหาร

ข่าว/ภาพ:คมกฤช พวงศรีเคน 

มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด ลงนาม MOU พัฒนาศักยภาพเพิ่มขีดความสามารถด้านสถานที่ผลิตอาหารอาหารปลอดภัยและบรรจุภัณฑ์ปลอดภัย หลังโควิด-19 ด้วยเศรษฐกิจ

              เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 เวลา 10.00 น. นายเชาวฤทธิ์ ลำพาย ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด เป็นประธานเปิดโครงการฯ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T for BCG) และลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด และ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง เพื่อการพัฒนาศักยภาพกลุ่มโคกสว่างซูเปอร์ข้าวเกรียบ เพิ่มขีดความสามารถด้านสถานที่ผลิตอาหารอาหารปลอดภัยและบรรจุภัณฑ์ปลอดภัย ที่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ คณะผู้บริหาร คณาจารย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง กลุ่มโคกสว่างซูเปอร์ข้าวเกรียบ นักเรียน และนักศึกษา เข้าร่วมกิจกรรม ผู้ช่วยศาตราจารย์ สิทธเดช หมอกมีชัย อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบเพื่อเพิ่มมูลค่าด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG (BCG ECONOMY MODEL) ตำบลโคกสว่าง อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า ตามที่รัฐบาล มีแผนงานในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มุ่งเน้นการรักษาระดับการจ้างงานของผู้ประกอบการและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศประกอบกับที่รัฐบาลได้กำหนดให้เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เป็นยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และวัฒนธรรม (อว.) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ BCG Economy นั้น เพื่อให้สอดรับกับนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมสถานการณ์โควิดและยุทธศาสตร์ BCG Economy สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และวัฒนธรรม (สป.อว) จึงเสนอการดำเนินโครงการ “โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG” ซึ้งเป็นการดำเนินการเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ด้วยเศรษฐกิจ BCG ในพื้นที่ 7,435 ตำบล ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ เป็นการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้ อว. ไปขับเคลื่อนทั้งในภาคการผลิต และบริการในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการฟื้นฟูตัวของเศรษฐกิจ เพิ่มและรักษาระดับการจ้างงาน เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

            ผู้ช่วยศาตราจารย์ สิทธเดช หมอกมีชัย กล่าวอีกว่า มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) กับองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสว่าง วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด เพื่อเป็น การพัฒนาศักยภาพกลุ่มโคกสว่างซูเปอร์ข้าวเกรียบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านสถานที่ผลิตอาหารอาหารปลอดภัยและบรรจุภัณฑ์ปลอดภัยขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ ด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในท้องถิ่น พัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อทักษะการทำงานในปัจจุบันและเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG รวมทั้งพัฒนาฐานข้อมูลชุมชนขนาดใหญ่ และเพื่อให้คนในชุมชนนำความรู้ไปพัฒนาและต่อยอดเสริมสร้างเป็นอาชีพ กิจกรรมการจัดโครงการฯ ประกอบด้วย การสาธิตทำผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย และการบรรจุภัณฑ์ปลอดภัย โดยมีผู้เข้าร่วมรับการอบรมประกอบด้วย กลุ่มโคกสว่างซูเปอร์ข้าวเกรียบ นักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด รวมทั้งสิ้น 35 คน

CATEGORIES
Share This

COMMENTS

error: Content is protected !!